top of page

ประวัติของ

หลวงพ่อคูณ  ปริสุทฺโธ

ชีวิตในวัยเยาว์หลวงพ่อคูณ

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เกิดในตระกูลชาวนาที่ยากจน มีอาชีพเสริมคือการทำไร่ ในราว พ.ศ.๒๔๗๗ เมื่อหลวงพ่ออายุได้ ๑๑ ขวบ โยมแม่ถึงแก่กรรม หลังจากนั้นโยมพ่อได้นำหลวงพ่อคูณไปฝากเป็นลูกศิษย์วัดบ้านไร่ เพื่อให้เรียนหนังสือกับพระสงฆ์ หลวงพ่อคูณเล่าว่า “พระสงฆ์จะสอนหนังสือให้ลูกศิษย์อย่างเอาจริงเอาจัง เอาเป็นเอาตาย ทุ่มเทมีจิตวิญญาณในการเป็นครู เด็กหญิงในหมู่บ้านรุ่นราวคราวเดียวกันจะไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน เนื่องจากในสมัยนั้น ประเพณีและวัฒนธรรมจะเป็นสิ่งกำหนดวิถีชีวิตโดยมีแนวคิดว่าสตรีจะต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน การออกนอกบ้านเป็นสิ่งล่อแหลมต่อการประพฤติผิดทางเพศ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าถ้าสตรีมีความรู้หนังสือมากอาจจะสื่อสารถึงเพศตรงข้ามง่าย เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือโรงเรียนสมัยนั้นจะอยู่ในวัด พระเป็นครูสอน จึงไม่เหมาะจะสอนเด็กผู้หญิง ครูที่สอนหลวงพ่อคูณ ได้แก่ พระอาจารย์หลี อารกฺขยโย , พระอาจารย์เชื่อม วิรโช , พระอาจารย์ฉาย กิตติปญฺโญ ทั้งสามรูปล้วน แต่เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ทั้งสิ้น พระอาจารย์หลี นอกจากสอนให้ท่องหนังสือวัดแล้ว ยังเป็นครูสอนภาษาไทยและภาษาขอม ทั้งเฆี่ยนและตีจนหลวงพ่อกลัวมาก ทำให้ตั้งใจเรียนจนมีความรู้มาถึงปัจจุบัน”

หลวงพ่อออกธุดงค์

การธุดงค์เป็นสิ่งที่หลวงพ่อคิดอยู่เสมอ แรกๆ หลวงพ่อคงได้ร่วมเดินทางด้วยในระยะแรกๆ พร้อมกับได้สอนพุทธาคมและไสยเวทย์ประกอบการเรียนกัมมฐานให้ด้วย พุทธาคมที่สอน คือ การฝังตะกรุด เมตตามหานิยมคงกระพันชาตรี วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อคูณในการเดินธุดงค์ เป็นข้อปฏิบัติและข้อตกลงสำหรับพระที่ออกธุดงค์กับหลวงพ่อ มี ๔ ข้อ คือ ห้ามโดยสารรถโดยเด็ดขาด เพราะได้อธิษฐานจิตออกธุดงค์แล้ว ห้ามรับเงินจากญาติโยมโดยเด็ดขาด เพราะระหว่างธุดงค์ไม่มีการจับจ่ายใช้สอย ไม่มีการแสวงหาลาภสักการะต้องมีชีวิตอย่างพระคือ อยู่ง่าย ฉันง่าย บิณฑบาตมาพอได้ ฉันมีชีวิตอยู่เท่านั้น ถ้าอยากกลับวัดก็กลับเลย ห้ามชวนเพื่อนที่ไปด้วย เพราะจะเป็นการตัดรอนความตั้งใจ หรือทำลายบุญบารมีของเพื่อนสหธรรมิก ถ้ามรณภาพตรงไหน ให้เผาตรงนั้น อย่านำศพกลับวัดหรือกลับบ้านโดยเด็ดขาด เพราะถือว่าได้อุทิศตนแล้ว ยิ่งเอามันยิ่งอด ยิ่งสละให้หมด มันยิ่งได้ หลวงพ่อคูณไม่เคยถามถึงนิพพาน แต่ต้องการเพียงฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญารู้จริง และต้องการทดสอบตนเองว่ามีความอดกลั้นและเอาชนะอาสวกิเลสได้แค่ไหน หลวงพ่อต้องการความหลุดพ้นแต่ไม่มีใครหยั่งรู้ได้ว่าหลวงพ่อได้ธรรมอภิญญาแค่ไหน หลวงพ่อไม่เคยอวดรู้อวดเก่ง หลวงพ่อย้ำเสมอว่า พระธุดงค์จะต้องศีลให้บริสุทธิ์ ตัดกิเลสทั้งปวง ปฏิบัติตนให้มีศีลธรรมอย่างเคร่งครัดจึงจะไปตลอดรอดฝั่ง และปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง พ.ศ.๒๔๙๒ หลวงพ่อคูณได้ถือธุดงค์เพื่อแสวงหาธรรมตามคำแนะนำสั่งสอนของอาจารย์ เริ่มต้นโดยมุ่งหน้าไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางจังหวัดนครพนมเข้าสู่ประทศลาว จำพรรษาที่ถ้ำเขาควาย ๑๒ พรรษา พ.ศ.๒๔๙๓ เดินธุดงค์ย้อนลงมาทางทิศใต้ของประเทศลาว และจำพรรษาที่สีทันดร ๑ พรรษา พ.ศ. ๒๔๙๔ เดินทางธุดงค์เข้าสู่ประเทศกัมพูชา และอยู่จำพรรษาที่เมืองโพธิสัตว์ ๑ พรรษา พ.ศ. ๒๔๙๕ ออกพรรษาที่เมืองโพธิสัตว์แล้ว หลวงพ่อได้เดินทางกลับวัดบ้านไร่ ญาติโยมพี่น้องลูกหลานต่างยินดีในการกลับของหลวงพ่อ และนิมนต์ให้หลวงพ่ออยู่จำพรรษาที่วัดบ้านไร่ เพื่อช่วยทะนุบำรุงปฏิสังขรณ์วัดศาลาการเปรียญที่ชำรุดทรุดโทรม เนื่องจากก่อสร้างมาเป็นเวลานาน หลวงพ่อคูณรับนิมนต์เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของมาตุภูมิและได้อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านไร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๕ มาจนถึง พ.ศ.๒๕๑๒ หลวงพ่อคูณกลับมาอยู่แผ่นดินบ้านเกิด จิตสำนึกของหลวงพ่อคิดตลอดว่า “ทำอย่างไรกูถึงจะช่วยคนเหล่านี้ให้พ้นทุกข์ได้” ตลอดเวลาหลวงพ่อไม่ได้นั่งเฉย เฝ้ามองปัญหาของชาวบ้านมาตั้งแต่จำความได้จนบัดนี้ ตามคติที่ตั้งมั่นในใจตลอดเวลาว่า “พระต้องไม่ขอบิณฑบาตข้าวชาวบ้านฉันอย่างเดียว แต่จะต้องตอบสนองให้กับชาวบ้านอีกด้วย” แผ่นดินเกิดมีแต่ความแห้งแล้ง ญาติโยมลูกหลานมีแต่คนยากจน วัดวาอารามทรุดโทรมหาที่เปรียบมิได้ “ถ้ากูไม่ทำแล้วใครจะทำ” ที่เรียนหนังสือก็ไม่มี ศาลาก็เก่าจะให้ทางราชการช่วยเหลือก็เห็นจะสิ้นหวัง ถึงหน้าแล้งเดือนสี่เดือนห้า แม่น้ำลำคลองก็แห้ง ขุดบ่อลงไปถึงน้ำก็เค็มแสนเค็มบางปีแผ่นดินทั้งผืนหาน้ำสักหยดไม่มีเป็นเวลาถึงสี่ห้าเดือน พ.ศ.๒๕๑๒ หลวงพ่อย้ายจากวัดบ้านไร่ ไปจำพรรษาที่วัดสระแก้ว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสะดวกในการรักษาอาการอาพาธหนัก ร่างกายซูบผอมลงไปมาก ปลายปี ๒๕๑๓ อาการอาพาธจึงหายเป็นปกติ พ่อแม่ที่อยู่บนบ้านต้องทำบุญทุกวัน คือต้องรู้จักตอบแทนบุญคุณ อย่ามัวแต่รอไปทำบุญ ๑๐๐ วัน ซึ่งจะได้บุญน้อยกว่า

จากภูมิภาคสู่เมืองหลวง

พ.ศ.๒๕๑๔ หลวงพ่อได้จำพรรษาตามคำนิมนต์ของลูกศิษย์กรุงเทพฯ ที่วัดใหม่พิเรนทร์ แขวงวัดอรุณฯ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ เมื่อออกพรรษาจึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดสระแก้ว ระหว่างที่จำพรรษาที่วัดสระแก้ว พ.ศ.๒๕๑๖ หลวงพ่อได้ปารภกับเจ้าอาวาสวัดสระแก้ว ในตอนนั้นว่ากุฏิสงฆ์ ชำรุดทรุดโทรมลงมาก เห็นสมควรสร้างกุฏิขึ้นเป็นที่พักสงฆ์ใหม่ ครั้งอยู่กรุงเทพฯ แม้จะมีลูกศิษย์มาปรนนิบัติภัตตาหารอยู่เสมอ แต่หลวงพ่อยังออกบิณฑบาตทุกวันเพื่อโปรดสัตว์ ทั้งที่ญาติโยมขอร้องเพราะกลัวหลวงพ่อจะกลับไปป่วยอีกครั้ง หลวงพ่อคูณกลับตอบว่า “กูเป็นพระต้องออกบิณฑบาต พระพุทธเจ้าท่านยังออกเป็นกิจวัตร กูจะนอกคอกไปได้อย่างไร มันเป็นกิจอันพึงกระทำของสงฆ์ เป็นการโปรดสัตว์ กูก็ได้บุญ พวกมึงก็มีโอกาสทำบุญ พระที่ไม่บิณฑบาตถือว่าบกพร่องในหน้าที่ มึงอย่าห้ามกูเลยอยู่บ้านนอกกูลำบากกว่านี้เสียอีก”

08.jpg

เอกลักษณ์ของหลวงพ่อคูณ

จริยวัตรเฉพาะตัวของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ที่เป็นเอกลักษณ์ของท่านนั้นมีหลายประการ ซึ่งถ้าสังเกตจะเห็นว่าจริยวัตรแต่ละลักษณะที่หลวงพ่อแสดงออกมีเหตุมีผลและคำตอบอยู่ในตัว เช่น การพูดมึงกู กู มึง เป็นภาษาไทยดั้งเดิมมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่หลังจากที่มีการพัฒนาด้านภาษาและกาลเวลาผ่านไป คำว่า กู มึง ไม่นิยมใช้ และยังกลายเป็นคำที่มีความหมายไปในทางไม่สุภาพ คนรุ่นหลังจึงไม่เคยชินกับคำพูดนี้ หลวงพ่อคูณให้เหตุผลของการพูดคำนี้ว่า “กูแสดงให้รู้ว่า กูมีความจริงใจกับพวกมึง แสดงความเป็นกันเอง รักใคร่ สนิทสนม ไม่ต้องมีพิธีรีตอง พูดตรงไปตรงมา อย่างกูเรียก ไอ้นาย ก็แปลว่า กูรักกูเอ็นดูเหมือนลูกเหมือนหลาน ไม่เกี่ยวกับยศถาบรรดาศักดิ์อะไร” ละชั่ว ทำดี มีศีลธรรมประจำใจ เมื่อเข้าใจในเจตนากับได้ยินหลวงพ่อพูดอยู่บ่อยๆ ก็ทำให้เกิดความเข้าใจ ยอมรับ และรู้สึกชอบที่หลวงพ่อคูณพูดแบบตรงไปตรงมา แต่กรณีพูดกับบุคคลที่มีอายุมากกว่าหลวงพ่อคูณจะใช้คำว่า “อาตมา” และ “โยม” แทนคำพูดดังกล่าวเลย การรับบริจาคปัจจัยเพียงใบเดียว เมื่อมีผู้ถวายปัจจัยครั้งละหลายใบ หลวงพ่อคูณจะรับไว้เพียงใบเดียว และเป็นใบเดียว และเป็นใบที่มีมูลค่าน้อยที่สุด แต่ถ้าถลายใบเดียว หลวงพ่อคูณจะจับปัจจัยแล้วคืนให้การทำเช่นนี้หลวงพ่อคูณให้เหตุผลว่า “กูให้พวกมึงรู้จักพอ อย่าโลภมาก รู้จักการเอาชนะใจตนเอง” จะเห็นได้ว่า คำพูดของหลวงพ่อคูณต้องการฝึกให้ศาสนิกชน รู้จักการประหยัด อดออมและไม่โลภมาก ซึ่งการปฏิบัตินั้นจะต้อง ทำอย่างจริงจัง จะเอาชนะใจตนเองได้ สำหรับธนบัตรใบที่หลวงพ่อ รับนั้น ผู้ถวายจะนำกลับไปเป็นเงินขวัญถุงเพื่อให้เกิดสิริมงคล การนั่งยองยอง คนสมัยก่อนโดยเฉพาะชาวชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือชอบนั่งยองยองกัน เนื่องจากยังไม่มีที่นั่งประเภทเก้าอี้หรือเบาะ เมื่อนั่งจะนั่งบนเสื่อหรือสาด ถ้าไม่มีจะนั่งยองยอง การที่คนรุ่นใหม่เห็นหลวงพ่อคูณนั่งยองยองจึงมองดูเป็นเรื่องแปลก ซึ่งหลวงพ่อนั่งมาตั้งแต่เยาว์วัยจนเคยชินและถนัดที่จะนั่งเช่นนี้จนเป็นปกติวิสัย ซึ่งหลวงพ่อเคยบอก การนั่งยองมันจะคล่องตัว การเคลื่อนตัวจะลุก นั่ง เดิน จะทำได้รวดเร็วและกูก็นั่งมาจนชินแล้ว การเคาะหัว ผู้มีจิตศรัทธาได้ขอให้หลวงพ่อคูณเคาะหัวเพื่อเป็นสิริมงคลและอธิษฐานไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ซึ่งหลวงพ่อให้เหตุผลว่า “ก่อนจะเคาะกูจะต้องใช้สมาธิ กำหนดจิตและอธิษฐาน สจฺจ สจฺจ อธิฎฐามิ” และกล่าวขณะตีว่า “กูจะตีเพื่อป้องกันโรค มะเร็ง ป้องกันโรคเบาหวาน ป้องกันโรคอัมพาตป้องกันโรคหอบหืดฯ” และยังมีอีกหลายๆ อย่าง อาทิ การเป่ากระหม่อม, การฝังตะกรุด, การเหยียบเอกสารต่างๆ

มรณภาพ

เมื่อเวลาประมาณ 05:45 น. ของวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 พนักงานพยาบาลที่ดูแลหลวงพ่อคูณอยู่ที่วัดบ้านไร่ พบว่าหลวงพ่อมีอาการหมดสติไม่รู้สึกตัว จึงรีบแจ้งให้แพทย์จากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และโรงพยาบาลด่านขุนทดมาวินิจฉัยโดยด่วน ซึ่งคณะแพทย์ตรวจประเมินว่า หลวงพ่อคูณหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น จึงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง อยู่เป็นเวลา 1 ชั่วโมง กระทั่งอาการทรงตัว จึงใส่เครื่องช่วยหายใจ พร้อมทั้งเครื่องกระตุ้นหัวใจ จากนั้นเมื่อเวลา 08:30 น. จึงรีบส่งเข้ารักษาต่อ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาโดยด่วน พบว่ามีลมรั่วเข้าภายในปอดฝั่งซ้าย และมีเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ จึงให้หลวงพ่อพักรักษาตัว ภายในหอผู้ป่วยวิกฤต (ไอซียู) โดยจัดคณะแพทย์และพยาบาล เฝ้าระวังดูแลอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสัญญาณชีพของหลวงพ่อยังไม่คงที่ จากนั้นคณะแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช เข้าร่วมทำการวินิจฉัยและรักษา กับคณะแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาด้วย ต่อมาเวลา 20:00 น. คณะแพทย์รายงานผลการตรวจรักษาหลวงพ่อว่า สัญญาณชีพยังไม่คงที่ ต้องใช้ยากระตุ้นหัวใจ และเครื่องช่วยหายใจ ขณะเดียวกัน มีเลือดออกในทางเดินอาหารจำนวนมาก ร่วมกับมีภาวะไตหยุดทำงาน เป็นผลให้ไม่มีปัสสาวะออกจากร่างกาย ทั้งนี้ภาวะผิดปกติที่แทรกซ้อนขึ้นทั้งหมด เกิดจากปอดและหัวใจ หยุดทำงานเป็นเวลานานและรุ่งขึ้น (วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม) เมื่อเวลา 10:00 น. คณะแพทย์ผู้รักษารายงานว่า มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นผลให้มีเลือดออกในช่องทรวงอก จึงทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น คณะแพทย์จึงทำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง สำหรับภาวะไตหยุดทำงาน คณะแพทย์ใช้เครื่องไตเทียมทำการฟอกเลือด จนกระทั่งเวลา 11:45 นาฬิกา คณะแพทย์ออกประกาศแจ้งว่า พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) มีอาการโดยรวมทรุดลง จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพลงขณะทำการรักษา ภายในห้องอายุรกรรมผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71 ซึ่งในการแถลงข่าวโดยคณะแพทย์ผู้รักษา เมื่อเวลา 12:15 น. น.พ.พินิศจัย นาคพันธุ์ แพทย์อายุรกรรมหัวใจชำนาญการ ผู้รักษาประจำของหลวงพ่อคูณ ในสถานะหัวหน้าคณะแพทย์กล่าวว่า สาเหตุแห่งการมรณภาพ เนื่องจากการหายใจหยุดลง เพราะมีลมรั่วเข้าไปภายในปอด หรือที่เรียกว่าปอดแตก เป็นเหตุให้หัวใจหยุดเต้น เนื่องจากคณะแพทย์ต้องช่วยปั๊มหัวใจ เป็นเวลานานถึง 1 ชั่วโมง ทั้งที่หากสมองขาดออกซิเจนเพียง 4 นาที ก็เข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว หลังจากนำหลวงพ่อมายังโรงพยาบาล ก็พยายามช่วยกันเต็มที่ เมื่อเวลาประมาณ 05:40 น. ยังต้องปั๊มหัวใจเพิ่มถึงสองรอบ แต่ด้วยความที่หลวงพ่อ อยู่ในภาวะที่ไม่รับรู้ใดๆ นับแต่หมดสติที่วัดบ้านไร่แล้ว เมื่อการหายใจหยุดลง และหัวใจหยุดเต้นเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้อวัยวะอื่นๆ วิกฤตลงตามไปด้วย คือเข้าสู่ภาวะสมองตายตั้งแต่แรก ต่อมาแพทย์พยายามยื้อหัวใจ และต่อมาปอด จนมาถึงไต แต่แล้วในที่สุด อวัยวะสำคัญก็ล้มเหลวลงทั้งหมด หลวงพ่อจึงถึงแก่มรณภาพดังกล่าว จากนั้นมีการเปิดเผยพินัยกรรม ซึ่งหลวงพ่อคูณทำไว้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2543 มีใจความสำคัญระบุให้มอบสังขาร แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่มรณภาพ แล้วให้ทางมหาวิทยาลัยมอบให้แก่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้นำไปศึกษาค้นคว้า ตามวัตถุประสงค์ของภาควิชา สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา และการสวดพระอภิธรรม ขอให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีขึ้นที่คณะเป็นเวลา 7 วัน ส่วนการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล เมื่อสิ้นสุดการศึกษาค้นคว้า ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว ให้จัดอย่างเรียบง่าย ละเว้นการพิธีสมโภชใดๆ ทั้งห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ โกศ และพระราชพิธี อื่นๆ เป็นกรณีพิเศษหรือเป็นการเฉพาะ โดยให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีเช่นเดียวกับที่จัดให้แก่ อาจารย์ใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ประจำปี ร่วมกับอาจารย์ใหญ่ท่านอื่น แล้วเผาที่ฌาปนสถานวัดหนองแวง (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (หรือวัดแห่งอื่น) และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำอัฐิ เถ้าถ่าน และเศษอังคารทั้งหมด ไปลอยที่แม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม โดยมีสักขีพยานประกอบด้วย รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ขณะนั้น), ญาติ, ไวยาวัจกรวัดบ้านไร่ (ขณะนั้น) และนิติกรชำนาญการ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงนามเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ร่วมกันประชุมและลงมติให้ดำเนินการ ตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าวทุกประการ โดยไม่มีการนำไปบำเพ็ญกุศลที่วัดบ้านไร่เสียก่อน ดังที่มีลูกศิษย์จำนวนหนึ่งร้องขอแต่อย่างใด ซึ่งมีการเคลื่อนสังขารของหลวงพ่อคูณ ออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เมื่อเวลา 20:00 น.โดยไปถึงศาลา 25 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อเวลาประมาณ 22:00 น. เพื่อบรรจุสังขารลงในโลงแก้ว จากนั้นรุ่งขึ้น (วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม) เวลาประมาณ 14:00 น. คณะลูกศิษย์พากันจัดริ้วกระบวน เพื่อเคลื่อนสังขารหลวงพ่อคูณ ไปยังศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้นเอง เพื่อตั้งสังขารบำเพ็ญกุศลและสวดพระอภิธรรม เป็นเวลา 7 วัน ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น กำหนดจัดขึ้นตั้งแต่ วันอาทิตย์ที่ 17 ถึงวันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม ระหว่างเวลา 06:00-22:00 น. สำหรับสาเหตุที่ต้องเคลื่อนสังขารอีกครั้ง เนื่องจากศูนย์ประชุมดังกล่าว เป็นสถานที่กว้างขวางสะดวกสบาย สามารถรองรับพุทธศาสนิกชน ซึ่งเดินทางมาสักการะสังขารอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พวงมาลา 12 พวง โดยมอบหมายให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งพระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเป็นกรณีพิเศษ

หลวงพ่อคูณ  ปริสุทฺโธ  เป็นบุตรของ  คุณพ่อบุญ – คุณแม่ทองขาว  ฉัตรพลกรัง   เกิดที่บ้านไร่  หมู่ที่  ๖  ตำบลกุดพิมาน  อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา   เมื่อวันพฤหัสบดีที่  ๔  ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๔๖๖  ตรงกับแรม  ๑๐ ค่ำ  เดือน  ๑๐  ปีกุน  (ก่อนสว่าง) มีพี่น้องตามลำดับคือ

  • นายสีเหลือบ   ศิลปะชัย

  • นายครึ้ม    ฉัตรพลกรัง

  • หลวงพ่อคูณ   ปริสุทฺโธ

  • นางคำมั่น   วงษ์กาญจนรัตน์

  • นางทองหล่อ  แก้วสถิตสุนทร

  • นางสมควร   พิพิธกุล

  • นายซ้อน   ฉัตรพลกรัง

หลวงพ่อคูณ มีปู่ชื่อ พรม  ย่าชื่อ  ชื่น ฉัตรพลกรัง  มีภูมิลำเนาที่บ้านแปะ ตำบลสีมุม  อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และตาชื่อหลอด ยายชื่อ ขลิบ  นามสกุลศิลปะชัย  อยู่ที่บ้านไร่  หมู่ที่ ๖  ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

ชีวิตชาวนา

เมื่อหลวงพ่อคูณ มีอายุ ๑๖ ปี ได้ออกจากวัดบ้านไร่ไปอยู่กับน้าชายบ้างน้าเขยบ้าง ช่วยกันทำนาเป็นหลักตามฤดูกาล หลวงพ่อเป็นคนที่มิได้นิ่งเฉย ช่วยน้าทำงานประกอบอาชีพตามกำลังความสามารถ ด้วยอาชีพทำนาเป็นอาชีพที่ต้องขยันหมั่นเพียร หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน ต้องตื่นแต่เช้า “ก่อนไก่โห่” หลังจากเสียงระฆังที่พระตีเพื่อจะทำวัตร ในสมัยนั้นไม่มีนาฬิกาบอกเวลาต้องอาศัยดูดาว เสียงไก่ขัน เสียงนกกาเหว่าและนกกะปูดจะร้องตอนประมาณตี ๔ ทุกครอบครัวต้องตื่นล้างหน้าล้างตา เตรียมควายแบกคันไถสู่ท้องนา ก้าวหน้าดำนาจนพลบค่ำ ทำให้ร่างกายของหลวงพ่อปวดระบม โดยเฉพาะที่หลังและเอว เพราะต้องก้มหน้าทำนาตลอดวันติดต่อกันหลายชั่วโมง “ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต หรือฆราวาสก็ตาม ก่อนจะสั่งสอนคนอื่นต้องสอนตนเองเสียก่อน ถ้าสอนตัวของไม่ได้จะไปสอนคนอื่นได้อย่างไร” จนอยู่มาวันหนึ่ง ร่างกายที่ปวดระบมที่หลัง เอว แขนและขาจนสุดจะทน หลวงพ่อได้ทอดกายนอนเอนพาดบนคันนาเป็นเวลานาน จนน้ามาเห็นหลานนอนอย่างนั้น จึงพูดเชิงเปรียบเทียบ “คูณไม่ไหวเหรอหลาน ถ้าไม่ไหวก็ไปบวชเสีย” เมื่อหลวงพ่อคูณได้ยินน้าพูดจึงตอบกลับไปว่า “น้าคอยดูเด้อ หากฉันได้บวชแล้ว ขอรับรองว่าฉันจะไม่ยอมสึกเป็นอันขาด จะบวชจนตายเลยแหละ” หลังจากนั้นหลวงพ่อคูณ จึงได้ทราบได้อย่างถ่องแท้ว่า ชีวิตการครองเรือนอย่างฆราวาสวิสัย เป็นชีวิตที่ยุ่งยากยุ่งเหยิงน่าเบื่อหน่าย

ชีวิตแห่งสมณเพศ

เมื่อหลวงพ่อคูณมีอายุได้ ๒๑ ปี เกิดมีจิตศรัทธาที่จะเข้าบรรพชาอุปสมบทในพุทธศาสนา ตามประเพณีเพื่อทดแทนพระคุณของบิดามารดา จึงได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เวลา ๑๑.๐๐ น. โดยมีพระครูวิจารยติกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดถนนหักน้อย อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการสี วัดบ้านจั่น อำเภอด่านขุนทด เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการสุข วัดโคกรักษ์ อำเภอด่านขุนทด เป็นอนุสาวนาจารย์ ครั้งแรกความตั้งใจของหลวงพ่อคูณ “กูจะตั้งใจบวชสัก ๓ พรรษา” หลวงพ่อกล่าวถึงความรู้สึกนึกคิดแรกๆ เมื่อจะบวช แต่เมื่อบวชแล้วจิตใจจะครุ่นคิดถึงภาพในอดีตตั้งแต่เยาว์วัย จนกระทั่งอุปสมบทเป็นภิกษุสงฆ์ เห็นสภาพแวดล้อมยากลำบากของท้องถิ่นทุรกันดารในบ้านเกิดเมืองนอน คิดอยู่ตลอดเวลาว่า “ทำอย่างไรจะช่วยคนเหล่านี้ให้พ้นทุกข์” หลังจากศึกษาพระธรรมวินัย พิจารณาคติธรรมคำสอนของครูบาอาจารย์อย่างถ่องแท้แล้ว จึงตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะอุทิศกายถวายชีวิตเพื่อบวรพระพุทธศาสนาตลอดไป เมื่อบวชแล้วหลวงพ่อคูณได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดถนนหักใหญ่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด มีหลวงพ่อคง พุทธฺสโร เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อคูณ ได้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อคงระยะหนึ่ง หลวงพ่อคงได้นำหลวงพ่อคุณไปฝากศิษย์หลวงพ่อแดง วัดหนองโพธิ์ ซึ่งหลวงพ่อแดง วัดหนองโพธิ์ ซึ่งหลวงพ่อแดงมีความชำนาญทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน และฌานสมาธิอย่างมาก หลักปฏิบัติที่หลวงพ่อแดงสอนคือ “คลายกำหนัดย้อมใจปราศจากทุกข์ ไม่สั่งสมกองกิเลสสร้างความอยู่อันน้อย มีความสันโดษ หลีกพ้นจากหมู่คณะ มีความเพียร และความอยู่ง่าย” เมื่อหลวงพ่อได้ศึกษาวิชาวิปัสสนากัมมัฎฐานกับหลวงพ่อแดงด้วยความขยันหมั่นเพียร จนมีภูมิทางญาณสมาธิแน่นพอสมควรแล้ว หลวงพ่อแดงจึงนำหลวงพ่อคูณมอบคืนกลับหลวงพ่อคง วัดถนนหักใหญ่ เพื่อศึกษาธรรมมะและวิปัสสนาเพิ่มเติมอีก นับแต่นั้นมาหลวงพ่อได้ศึกษากรรมฐาน ตามแนวพระสายวิปัสสนาผู้หักคานเรือน ไม่ยึดเกาะกับลาภสักการะ มุ่งเรียนรู้ถึงแก่นสารของชีวิตและเนื้อแท้ของธรรมะ เพื่อสั่งสอนญาติโยมเท่าที่จะสงเคราะห์ได้ หลวงพ่อคงแนะนำหลวงพ่อคูณ ลูกศิษย์การเรียนวิปัสสนากัมมัฎฐานจะรู้แจ้งเห็นจริงได้นั้นอยู่กับที่ไม่ได้ เน้นเรื่องการมี “สติ” ระลึกรู้ พิจารณาอารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบและให้เกิดความรู้เท่าทันในอารมณ์นั้น เช่น เมื่อเกิดอารมณ์หลง ท่านให้พิจารณาว่า “อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นนาม จึงมิใช่ของเราและของเขา” และท่านจึงให้แนวทางพิจารณา ๕ ประการ คือ “พิจารณาว่า ความเกิดเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเกิดนี้ได้ พิจารณาว่า ความแก่เป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความแก่นี้ได้ พิจารณาว่า ความเจ็บเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเจ็บนี้ได้ พิจารณาว่า ความตายเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความตายนี้ได้ พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นเรื่องธรรมดา เรามีกรรมเป็นของตนเอง เรากระทำความดี จักได้ดี เรากระทำความชั่ว จักได้ชั่ว” คนจะทำบุญนี้ ก็ต้องฝึกมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเคยฝึกฝนมาแล้ว ภายหลังมีเงินมีทอง จะบริจาคก็ไม่เสียดาย หลวงพ่อคงแนะให้หลวงพ่อคูณออกธุดงควัตร เพื่อหาที่วิเวกสงบเจริญศีลภาวนาให้จิตใจสงบยิ่งขึ้น พระที่ฝึกวิปัสสนาควรถือธุดงค์เป็นหลัก

จากอีสานสู่ใต้

พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงพ่อคูณ ได้ไปจำพรรษาที่วัดสว่างอารมณ์ ตำบลหาดราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยมีแนวคิดว่าเพื่อต้องการประสบการณ์ ได้รับความรู้จากครูบาอาจารย์เพิ่มเติม ใครว่าดีที่ไหนก็ไป “กูอยากจะไปดูไปเห็นว่ามันเป็นอย่างไร ดีก็จะได้รู้ ชั่วก็จะได้รู้”

จากใต้ขึ้นเหนือ

พ.ศ.๒๕๓๕ หลวงพ่อคูณ จำพรรษาอยู่ที่วัดเขาถ้ำ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี พ.ศ.๒๕๒๗ หลวงพ่อคูณจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.๒๕๒๘ หลวงพ่อคูณไปจำพรรษาที่ วัดสิงหาราม บ้านบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และกลับมาตุภูมิวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ ชาวอำเภอด่านขุนทดรวมใจกันเห็นว่า หลวงพ่อคูณได้บำเพ็ญบารมีธรรม สร้างสมทั้งความรู้และประสบการณ์มามากถึง ๑๖ ปี ที่หลวงพ่อจากวัดบ้านไร่ไป พากันเห็นสมควรกลับมาอยู่ที่วัด เพื่อเป็นผู้นำในการบำเพ็ญกุศลและเป็นหลักของพระพุทธศาสนา จึงนิมนต์หลวงพ่อคูณกลับมาอยู่ที่วัดบ้านไร่ ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด นครราชสีมา ซึ่งท่านก็กลับมา จำพรรษาและอยู่ที่วัดบ้านไร่มาจนปัจจุบัน

คติธรรม-คำสอน หลวงพ่อคูณ

ยากมาก แต่เมื่อตั้งจิตพิจารณารู้ว่าศัตรูทั้ง ๓ อยู่กับเราไม่จีรัง เดี๋ยวมาเดี๋ยวไป ซึ่งถ้าเราไม่อยากทุกข์เพราะศัตรูเหล่านี้ อย่าไปยึดติดอยู่กับมันให้ถือว่าเป็นของธรรมดา หากเอาชนะมันได้เมื่อไหร่ก็จะได้อรหันต์เมื่อนั้น คนจะมีบารมีต้องมีมาร เรื่องความอดทนนั้นหลวงพ่อคูณสอนอยู่เสมอว่า ในการสร้างคุณงามความดีกว่าจะสำเร็จได้ต้องพบกับปัญหาและอุปสรรคมาก และบางครั้งปัญหาอุปสรรครุนแรง ทำให้ผู้ที่ต้องการบำเพ็ญความดีล้มเลิกความตั้งใจไปเลยก็มี ดังนั้นขอให้ทุกคนมีความอดทนและฝึกความอดทนไว้เสมอ แล้วความดีจะเกิดขึ้นเอง นั่นคือ “คนจะมีบารมีต้องมีมาร” การสร้างคุณงามความดีต้องมีอุปสรรค แต่ให้คิดอยู่เสมอว่า “อุปสรรคทำให้เกิดกำลังใจ” อย่าได้ท้อถอยให้ถึงประโยชน์ที่จะบังเกิดขึ้นในภายหลังเป็นที่ตั้ง เมื่อเวลามีปัญหามีมารมาผจญขอให้เข้าใจว่านี่คือตัวสร้างบารมีให้เกิดขึ้นกับตัวเรา คติธรรม-คำสอนของหลวงพ่อคูณ มีมากมายที่ถ่ายทอดให้ศิษย์และสาธุชนได้รับทราบกันตลอด ย่อมแสดงถึงบุญบารมีของหลวงพ่อคูณ ที่ได้ใช้ทั้งความอดทน วิริยะอุตสาหะในการบำเพ็ญเพียร ยึดถือพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การสร้างสมคุณงามความดี ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอน ปฏิบัติตนสำรวมในจริยาวัตร ตั้งมั่นตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การบำเพ็ญทานบารมีด้วยการบริจาคให้บุคคล สังคม ชุมชนโดยไม่แบ่งชั้นวรรณะไม่เลือกสถานที่ เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ จึงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของลูกศิษย์และสาธุชนทั่วไปและบุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศพากันมากราบไหว้และทำกุศลดันไม่ได้ขาดในแต่ละวัน เป็นเหตุให้ทีมงานศิษย์ยานุศิษย์ร่วมกันคิดเพื่อสร้างสิ่งเป็นที่ระลึกถึงคุณงามความดีต่อปฏิปทาของหลวงพ่อคูณ โครงการอุทยานธรรมวัดบ้านไร่ วิหารเทพวิทยาคม จึงปรากฏเป็นรูปธรรมด้วยแรงศรัทธาต่อหลวงพ่อคูณและจะคงอยู่เช่นนี้ตลอดไป ขอให้พี่น้อง ชาวไทย ละชั่วทำดี มีศีลธรรม ประจำใจ เมื่อถึงเวลาดับจิต ผลดีที่ทำเอาไว้ จะได้ติดตามไปสู่สุขติ รักตัวของตัวเอง อย่าทำตามความชั่วร้าย ให้มากนัก หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ “ถ้า กู ไม่ทำ แล้วใครจะทำ”

04.jpg
bottom of page