top of page
DSC06340.JPG

วิหารเทพวิทยาคม ชั้นที่ 1

The First Floor of Thep Witthayakhom Vihara

ภายในวิหารเทพวิทยาคม ชั้นที่ 1 ซึ่งสื่อถึงพระสุตตันตปิฎก ภายในโถงประกอบไปด้วยภาพจิตรกรรมพุทธประวัติขนาดใหญ่ ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแบ่งออกเป็น 6 ช่วงนับตั้งแต่ทรงพระประสูติ ตรัสรู้ เผยแผ่พระศาสนาจนกระทั่งถึงก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

You are now on the first floor of Thep Witthayakhom Vihara. The key theme of this floor is the first of “the three baskets” of Buddhist teachings: the Sutta Pitaka. The hall features 6 large paintings that tell the stories of Buddha’s life – from birth to Enlightenment, to the preaching of his teachings and finally his passing away.

ห้องพุทธประวัติ

จิตรกรรม ภาพที่ 1 : (ประสูติ) พุทธอนุโมทนา

The First Wall : Birth

บรรยาย 1 : เมื่อได้เวลาที่จะบังเกิดมีพระพุทธเจ้าในโลกมนุษย์ มหาพรหมเทพเทวดาทุกชั้นฟ้า พากันไปอาราธนา อัญเชิญพระโพธิสัตว์สันดุสิต ณ สวรรค์ชั้นดุสิตให้จุติลงไปเกิดเป็นมนุษย์ ในมนุษยโลก เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อสืบต่อพุทธศาสนาจะได้สั่งสอนชาวโลกให้รู้ธรรมและปฏิบัติธรรม สมตามที่พระองค์ตั้งความปรารถนาไว้ โดยได้บำเพ็ญต่อเนื่องยาวนานถึง 20 อสงไขยแสนมหากัป สวรรค์ชั้นดุสิต คือ สวรรค์ชั้นที่ 4 มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ บรรยาย 2 : พระโพธิสัตว์สันดุสิตได้ลงมาจุติที่เมืองมนุษย์ ตามคำทูลเชิญของเหล่าเทพเทวดาทั้งหลาย ไปบังเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ บรรยาย 3 : พระนางสิริมหามายา ฝันว่า พระยาช้างเผือก งวงชูดอกบัวขาวเดินลงมาจากภูเขาทองด้านทิศเหนือ เดินเข้ามาในวิมานทอง หยุดนิ่งแสดงความเคารพและเข้ามาเดินเวียนประทักษิณสามรอบ แล้วเดินเข้าสู่อุทรเบื้องขวาของพระนาง นับแต่ขณะนั้นมา พระนางจึงทรงพระครรภ์ ประทักษิณ อ่านว่า ปะ-ทัก-สิน การเวียนขวาเพื่อให้เกิดสิริมงคล อุทร อ่านว่า อุ-ทอน แปลว่า ท้อง บรรยาย 4 : พระนางสิริมหามายา ทรงพระครรภ์เกือบครบ 10 เดือน มีพระทัยปรารถนาจะเสด็จไปเมืองเทวทหะนคร อันเป็นเมืองพระบิดามารดาของพระนาง เมื่อขบวนเสด็จไปถึงป่าลุมพินีทรงเจ็บพระครรภ์ พระองค์ทรงเข้าไปประทับใต้ต้นสาละ ทรงยืนพิงต้นสาละ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก กิ่งสาละโน้มลงมาให้ ทรงเอื้อมพระหัตถ์ขวาขึ้น จับยึดไว้ ส่วนพระหัตถ์ซ้ายทรงปล่อยลงข้างพระวรกาย ครั้นดวงอาทิตย์โคจรมาตรงพระเศียร พระกุมารโพธิสัตว์ก็ประสูติ ทันทีที่ประสูติ พระกุมารทรงแสดงปาฏิหาริย์ โดยย่างพระบาทดำเนินไป 7 ก้าว ท้าวมหาพรหมได้บันดาลให้มีดอกบัวรองรับพระบาท ไว้ทุกย่างก้าว บรรยาย 5 :เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ มีพระชนมายุ 8 พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาได้โปรดให้เจ้าชาย สิทธัตถะพระราชกุมารเสด็จไปในพิธีแรกนาขวัญด้วย พระราชพิธีแรกนาขวัญกำลังดำเนินอยู่ พระพี่เลี้ยง และคนอื่นๆ ต่างพากันไปชมพระราชพิธีกันหมด เจ้าชายสิทธัตถะอยู่ลำพังพระองค์เดียวภายใต้ต้นหว้า รู้สึกรำคาญเสียงดนตรีและเสียงผู้คน จึงทรงนั่งตัวตรงในท่าขัดสมาธิ หลับพระเนตร สูดลมหายใจเข้าออก จนจิตและกายสงบนิ่ง.......ปฐมฌาณ ครั้นตกบ่ายพระราชพิธีแรกนาขวัญได้เสร็จสิ้นลง พระพี่เลี้ยงรีบกลับมาหาเจ้าชาย เห็นเงาร่มไม้ยังบังพระราชกุมารอยู่ที่เดิมเหมือนเวลาเที่ยงวัน ก็เกิดอัศจรรย์ใจ นำความไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะให้ทรงทราบ พระราชบิดาเสด็จมาทอดพระเนตร ได้รำพึงว่า พระกุมารนี้เป็นผู้มีบุญอันยิ่งใหญ่เหลือเกิน จึงลดพระองค์ลงกราบพระกุมาร ปฐมฌาน อ่านว่า ปะ-ทม-ชาน = ฌานที่ 1 มี 5 องค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา บรรยาย 6 : เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกจากวังไปชมบ้านชมเมือง รวม 4 วาระ ได้ทรงเห็นเทวทูตทั้งสี่ ซึ่งเป็นเทวดาแปลงกายเป็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช เมื่อกลับถึงวัง จึงทรงคิดได้ว่า นี่เป็นธรรมดาของโลก ที่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายา วิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องครองเรือนเป็นสมณะ ดังนั้นพระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา. บรรยาย 7 – 8 : เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตื่นขึ้นมากลางดึก เห็นสภาพเหล่านางสนม นางกำนัล นางระบำขับร้อง ต่างนอนหลับกันกลาดเกลื่อน บางนางนอนอ้าปากน้ำลายไหล บางนางนอนผมสยาย ผ้าผ่อนหลุดลุ่ย ดุจซากศพ อันทิ้งอยู่ในป่าช้า ภาพที่ปรากฏยิ่งเพิ่มความคิดดำริในการออกบรรพชามากขึ้น ก่อนที่พระองค์จะออกบวช ได้เสด็จ เข้าไปในห้องพระนางพิมพา เห็นพระนางกอดราหุลผู้เป็นโอรสทรงดำริจะอุ้มพระโอรสขึ้นเชยชมเป็นครั้งสุดท้าย ก็เกรงว่าพระนางพิมพาจะตื่นบรรทม เป็นอุปสรรคขัดขวางการเสด็จออกบรรพชาจึงตัดพระทัยเสด็จออกไป บรรยาย 9 :เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตัดสินใจได้ จึงเสด็จขึ้นม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะยึดหางม้า ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ใช้หัตถ์กุมเท้าทั้ง 4 ข้าง พาเหาะไป ขณะนั้นพญามารวัสวดีได้มาร้องห้ามไว้ให้พระองค์อย่ารีบร้อนออกบรรพชา อีกแค่ 7 วันเท่านั้น เจ้าชายฯ ก็จะได้ครองราชสมบัติ ขอให้กลับคืนเข้าพระนคร แต่เจ้าชายฯ ไม่ทรงฟัง ทรงขี่ม้าเหาะต่อไป เหล่าเทพยดาทั้งมวล ก็ปลาบปลื้มยินดี ได้ติดตามห้อมล้อมม้าทรงไปกับพระองค์ บรรยาย 10 : เมื่อเดินทางถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา พ้นเขตเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะรับสั่งแก่นายฉันนะว่า จะบรรพชา ให้นายฉันนะนำเครื่องประดับและม้ากลับไป และทรงตัดพระโมลีของพระองค์ด้วยพระขรรค์ พระอินทร์ก็เอาผอบแก้วมารองรับ แล้วนำไปบรรจุยังจุฬามณีเจดีย์ และพระพรหมก็นำไตรจีวรและบาตรไปถวาย เจ้าชายฯ ทรงมอบผ้าทรงเมื่อยังเป็นคฤหัสถ์ ให้แก่พระพรหม พระพรหมรับผ้านั้นไปบรรจุไว้ใน ทุสสเจดีย์ พระโมลี = มุ่นหรือมวยผม จุฬามณีเจดีย์ อ่านว่า จุ-ลา-มะ-นี-เจ-ดี ตั้งอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บรรจุพระเกศาพระพุทธเจ้า ทุสสเจดีย์ อ่านว่า ทุด-สะ-เจ-ดี ตั้งอยู่พรหมโลก บรรจุผ้าคือพระภูษาของพระพุทธเจ้า บรรยาย 11 :เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะผนวชแล้ว ก็ไปยังสำนักอาฬารดาบส ซึ่งสร้างอาศรมอยู่ในป่าขอพำนักศึกษาอยู่ได้ไม่นานก็สำเร็จ แต่ทรงเห็นว่าธรรมเหล่านี้ไม่ใช่หนทางตรัสรู้

Buddha has original name Siddhartha. He is a son of the king Suddhodana, the leader of Shakya clan, whose capital was Kapilavastu , now located on south of Nepal. His mother, Queen Maha Maya was a Koliyan princess. Siddhartha was born eighty years before Buddhist era at Lumbini , in a garden beneath a Salana tree. There are eight brahmin scholars to read the future. All gave a dual prediction that the baby would either become a great king or a great holy man. Kaundinya, the youngest, was reputed to be the only one who unequivocally predicted that Siddhartha would become a Buddha.

ห้องพุทธประวัติ

จิตรกรรม ภาพที่ 2 : (ตรัสรู้) พุทธปัญญา

The Second Wall : Enlightenment

บรรยาย 1 : พระมหาบุรุษได้เสด็จไปแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยา ตลอดระยะเวลาเกือบ 6 ปี จนร่างกายซูบผอมเหลือแต่พระฉวีหุ้มพระอัฐิ จนทรงไม่มีเรี่ยวแรงเหลือ จนแม้จะตั้งพระวรกายให้ตรง ฝ่ายปัญจวัคคีย์เมื่อเห็นก็เลื่อมใส พากันมาเฝ้าปฏิบัติตลอดเวลาไม่ห่าง พระฉวี อ่านว่า พระ-ฉะ-หวี แปลว่า ผิวหนัง พระอัฐิ อ่านว่า พระ-อัด-ถิ แปลว่า กระดูก บรรยาย 2 : พระ อินทร์ ได้เล็งเห็นว่าขืนปล่อยพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาสืบไปจะเป็นอันตรายถึงชีวิต จึงได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ และออกอุบายดีดพิณถวาย และปรับสายพิณครั้งที่ 1 ขึงตึงเกินไปเมื่อดีดก็จะขาด ครั้งที่ 2 ขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ และครั้งที่ 3 ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ ดังนั้นพระมหาบุรุษจึงทรงพิจารณาและเกิดพระปัญญาว่า ทางสายกลาง คือทางที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกข์กิริยา บรรยาย 3 : พระมหาบุรุษได้เสด็จไปบำเพ็ญจิตอยู่ใต้ร่มไทรใหญ่ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แสงอาทิตย์สาดส่องพระพักตร์ ทำให้พระวรกาย มีรัศมีเปล่งปลั่งสดใส แผ่ซ่าน นางสุชาดาซึ่งหุงข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองเดินมาโดยตั้งใจว่าจะมาแก้บนที่บนไว้มาเห็น คิดว่า พระพุทธองค์เป็นรุกขเทวดา จึงเข้าไปถวายข้าวมธุปายาส พระมหาบุรุษก็ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกไปแตะถาด และแสดงให้นางรู้ว่าไม่มีบาตรจะรับของถวาย นางสุชาดาจึงถวายข้าวมธุปายาสพร้อมถาดทอง และกราบลาทันที รุกขเทวดา อ่านว่า รุก-ขะ-เท-วะ-ดา คือ นางไม้ ผีที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ในป่า บรรยาย 4 :ริมฝั่งแม่น้ำเนรัฐชรา เมื่อพระมหาบุรุษฉันข้าวมธุปยาตรเสร็จ ทรงนำถาดทองไปลอยน้ำ อธิษฐานว่า หากจะได้ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ปรากฏว่าถาดได้ลอยทวนน้ำขึ้นไปไกล 1 เส้น (40 เมตร) แล้วจมลงสู่นาคพิภพ รวมกับถาดสามใบของอดีตพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ ที่เคยลอยถาดทอง โดยมีพญากาฬนาคราช ผู้ทำหน้าที่เฝ้าถาดทอง เสียงกระทบของถาดทอง ทำให้กาฬนาคราชตื่นขึ้นมาเห็นถาดทองก็รู้ทันทีว่า บัดนี้ได้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว บรรยาย 5 : หลังจากลอยถาดเสร็จ พระมหาบุรุษก็เดินกลับไปที่ต้นโพธิ์ ระหว่างทางได้พบโสตถิยะพราหมณ์ (หรือสวัสดิกะ) ซึ่งเป็นชายตัดหญ้า เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระองค์ ถวายฟ่อนหญ้ากุสะ (คล้ายหญ้าคา) 8 ฟ่อนเล็กๆ พระองค์ทรงนำหญ้าไปปูรองนั่งบำเพ็ญเพียรที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระอินทร์ บัลดาลให้กองหญ้าที่ปูลาดทั้ง 8 ชั้น กลายเป็นบัลลังค์ ชื่อว่ารัตนบัลลังค์ บรรยาย 6 : ขณะนั้น พญาวัสวดีมาร ได้ยินเสียงเทพยดาทุกชั้นฟ้ากล่าวสาธุการ ก็รู้แน่ว่า พระมหาบุรุษกำลังจะตรัสรู้ จึงขึ้นขี่ช้างคีรีเมขล์ ยกทัพมาก่อกวน รังควาน มิให้ทรงตั้งจิตมั่นเป็นสมาธิได้ และข่มขู่ว่า รัตนบัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับนี้เป็นของตน พระมหาบุรุษตรัสว่า บัลลังก์นี้เป็นของพระองค์ เกิดขึ้นจากความดีของพระองค์ พญามารค้านว่าทำความดี มีพยานมายืนยัน พระองค์จึงประทับขัดสมาธิ พระหัตถ์ประสานบนพระเพลา ยกพระหัตถ์ขวายื่นลงสัมผัสพื้น ตั้งจิตอธิษฐานขอให้นางวสุนธรา พระแม่แห่งธรณีมายืนยันเป็นพยาน แต่พญามารไม่เชื่อ พระแม่ธรณีจึงปล่อยมวยผม หลั่งน้ำที่พระพุทธเจ้าเคยทำความดี ตั้งแต่อดีตชาติทุกชาติ ไหลออกมาอย่างมากมาย ท่วมและพัดพากองทัพพญามารให้พ่ายแพ้ไป ไม่ช้าพระมหาบุรุษก็ตรัสรู้ ก่อให้เกิดฉับพลันรังสี แผ่นดินไหว ดอกไม้ทั้งหลาย ก็ผลิดอก ออกช่องดงาม เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าก็แซ่ซ้อง สรรเสริญ พระเพลา อ่านว่า พระ-เพลา หมายถึง ขา หรือตัก บรรยาย 7 : เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ขณะที่เสวยวิมุติสุขในสัปดาห์ที่ 5 อยู่ใต้ต้นไทร ก็มีธิดามาร 3 นาง คือ นางตัณหา นางราคะ นางอรดี อาสาพญามารมาทำลายสมาธิของพระพุทธเจ้า โดยมาฟ้อนรำ ขับร้อง ยั่วยวน แต่ด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้า ได้บันดาลให้ร่างกายอันงดงามของธิดามารทั้ง 3 นาง กลายร่างเป็นหญิงชรา น่าสังเวช เมื่อเป็นเช่นนั้นธิดามารทั้ง 3 ก็ตกใจ พากันหนีไป เสวยวิมุติสุข อ่านว่า สะ-เหวย-วิ-มุด-ติ-สุก คือการพบสุขที่เกิดเพราะความหลุดพ้นจากกิเลส บรรยาย 8 : สัปดาห์ที่ 6 พระพุทธเจ้าเสด็จไปนั่งขัดสมาธิยังร่มไม้จิก ที่ชื่อว่า มุจลินท์ ฝนตกพรำตลอด 7 วันพญานาคที่ชื่อว่า มุจลินท์นาคราช ที่อยู่ในสระโบกขรณี ใกล้ต้นมุจลินท์นั้น มีความเลื่อมใส ในพระสัมพุทธเจ้า จึงเข้าไปขดกาย รอบ พระองค์ 7 รอบ และแผ่พังพานอันใหญ่ ป้องปกเบื้องบน พระเศียร มิให้ลมและฝนถูกต้องพระกายพระพุทธเจ้าและเมื่อฝนหยุด พญานาคก็คลายขนดออก จำแลงกายเป็นคนผู้ชาย เข้าไปถวายอัญชลี บรรยาย 9 : ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ที่ 7 พ่อค้าชาวมอญ 2 คน ชื่อ ตปุสสะกับภัลลิกะ ผ่านมาเห็นพระพุทธเจ้า จึงเกิดความเลื่อมใส เข้ามาถวายข้าวสตุก้อนสตุผง (คล้ายข้าวตู) แต่พระองค์ไม่มีบาตรรับ เนื่องจากบาตรที่ท้าวมหาพรหมถวายได้อันตธานหายไป ทันใดนั้น ท้าวจตุมหาโลกบาลทั้ง 4 รีบนำบาตรมาถวายองค์ละหนึ่งใบ พระองค์อธิษฐานให้บาตรทั้งสี่รวมเป็นหนึ่งเดียว แล้วใช้บาตรนี้รับของถวาย ตปุสสะกับภัลลิกะของแสดงตนเป็นอุบาสก ทำให้ทั้งสองคนเป็นอุบาสกสองคนแรกในพุทธศาสนา บรรยาย 10 : พระพุทธเจ้าดำริด้วยความวิตกว่า พระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ทั้งหมดนั้น เป็นธรรมชั้นสูง ลึกซึ้ง ยากที่มนุษย์และสัตว์โลกทั่วไปจะเข้าใจได้ง่าย ทำให้พระองค์ทรงยังตัดสินใจไม่ได้ว่าควรนำไปสอนแก่มนุษย์และสัตว์โลกดีหรือไม่ เพราะสั่งสอนไปจะไม่เข้าใจและเสียเวลาเปล่าที่จะแสดงธรรมโปรดชาวโลก ท้าวสหัมบดีพรหมทรงรู้ จึงชวนเทพยดามากมายเข้าเฝ้ากราบทูลให้พระพุทธเจ้าได้ทรงพระกรุณาโปรดแสดงพระธรรมโปรดสัตว์โลกทั้งหลาย โดยให้เหตุผลว่าสัตว์โลกทั้งหลายต่างมีสติปัญญามากน้อยต่างกันไป พระพุทธเจ้าเห็นตามจึงทรงตรัสตอบจะทรงเผยแผ่พระธรรมคำสอนแก่สัตว์โลกที่มีสติปัญญาต่อไป

At the age of 35 years in a famous incident, after becoming starved and weakened , he is said to have accepted milk and rice pudding from a village girl named Sujata , he prayed that “If I am to become a Buddha. I ask this tray to float upsteam.” He set himself to achieve enlightenment . On Evening , Sotthiya offered the grass to sit under the Bodhi tree , bank of Neranjara River. Then he vowed not to rise till he attained supreme Enlightenment,turned his face to the east. According to Buddhism, at the time of his awakening he realized complete insight into the cause of suffering , and the steps necessary to eliminate it. These discoveries became known as the "Four Noble Truths", which are at the heart of Buddhist teaching.

ห้องพุทธประวัติ

จิตรกรรม ภาพที่ 3 : (เผยแผ่ฯ 1) พุทธปาฏิหาริย์

The Third Wall : Propagate Buddhism to Angels

บรรยาย 1 : พระพุทธเจ้าทรงหยั่งเห็นว่า มนุษย์มีอุปนิสัยต่างกัน 4 จำพวก คือ 1.ผู้ที่เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่ อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที 2.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตาม และได้รับการอบรม ฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป 3.พวกที่มีสติปัญญาน้อย เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรม ฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง 4.พวกที่ไร้สติปัญญา แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน * ปสาทะ อ่านว่า คือ ความเลื่อมใส บรรยาย 2 : พระพุทธเจ้ามีพระประสงค์จะแสดงธรรมแก่พวกปัญจวัคคีย์ จึงเสด็จไปยังเมืองพาราณสี ระหว่างทาง พบอาชีวกผู้หนึ่ง ชื่อว่า อุปกะ เดินสวนทางมา เมื่ออุปกะได้เห็นพระรัศมีของพระองค์อย่างที่ไม่เคยเห็น มาก่อน ก็ประหลาดใจ จึงเข้าไปถามพระองค์ว่า ใครเป็นพระศาสดาของท่าน เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ไม่มีศาสดาผู้เป็นครูสอน ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง อาชีวกได้ฟังแล้วสั่นศีรษะ และแลบลิ้น แล้วเดินหลีกพระพุทธเจ้าไปตามอุปนิสัยของพวกอาชีวก ที่มีทิฏฐิ ยึดมั่นแต่ในลัทธิของตนเท่านั้น ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและอาจารย์ของตนเท่านั้นที่รู้จริง อาชีวก อ่านว่า อา-ชี-วก นักบวชนอกศาสนา บรรยาย 3 : ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงนัดหมายกันว่า พระพุทธเจ้าเลิกละความเพียรในการบำเพ็ญทุกข์กิริยา บัดนี้ มีร่างกายผ่องใส งดงาม คงไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จงอย่าต้อนรับ อย่าไหว้ อย่ากราบ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ ก็บันดาลให้ปัญญจวัคคีย์ทั้ง 5 ลืมข้อตกลงที่ทำกันไว้ พากันประนตน้อมอัญชลี รับบาตร จีวร บางรูปตักน้ำมาล้างพระบาท บางรูปทูลเชิญให้เสด็จประทับ บรรยาย 4 : เมื่อถึงวันอาสาฬหปุณณมี คือวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ได้โอกาสอันควรที่จะแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ พระพุทธองค์จึงแสดงพระธรรมเทศนาโดยโปรดแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรหรือการปฐมเทศนาครั้งแรกในโลก ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อแสดงธรรมจบลง พระอัญญาโกณทัญญะก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระโกณทัญญะจึงได้ทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุ เป็นการประทานอุปสมบท ครั้งแรกในพระศาสนา ดังนั้น พระอัญญาโกณทัญญะ จึงเป็นพระสงฆ์องค์แรก เป็น พระอริยบุคคล องค์แรก พระอริยบุคคล คือ โสดาบัน / สกทาคามี / อนาคามี / อรหันต์ บรรยาย 5 : ในสมัยนั้น มีบุตรเศรษฐี ชื่อว่า ยสะ อยู่ในเมืองพาราณสี ได้พบปัญหาต่างๆ ในการดำรงชีวิตในครอบครัวและความเป็นอยู่ ทั้งๆ ที่เป็นบุตรเศรษฐี ได้เดินออกจากเรือน ปากพร่ำอุทานด้วยความสังเวชใจว่า “ ที่นี่ วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” แล้วออกจากเรือน ตรงไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กับที่พระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ พระองค์ทรงได้ยิน จึงทรงตรัสว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง จงมาที่นี่เถิด ยสะ ได้ยิน จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมจนยสะเกิดความซาบซึ้ง เกิดดวงตาเห็นธรรมและเช้าวันนั้น มารดาและบิดาทราบว่าลูกชายหายไป จึงให้คนตามหาตัว เศรษฐี ผู้เป็นบิดาออกตามหาจนพบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมจนเศรษฐีบรรลุโสดาบัน ขณะนั้น ยสะได้ยินพระธรรรม คำสอน ในที่สุด ยสะ ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ บรรยาย 6 - 7 : พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงอาศรมของอุรุเวลกัสสป (พี่ใหญ่ของชฎิล 3 พี่น้อง) ตรงไปพบอุรุเวลกัสสป ทรงรับสั่งขอพักแรมด้วย 1 คืน อุรุเวลกัสสป บ่ายเบี่ยงว่าไม่มีที่ให้พัก พระพุทธเจ้า ก็ขอพักที่โรงไฟ ซึ่งเป็นสถานที่บูชาเพลิงของชฎิล อุรุเวลกัสสปได้ทูลว่า “อย่าพักที่โรงไฟเลย เพราะเป็นที่อยู่ของพญานาคร้าย เป็นอันตรายแก่ชีวิต” พระพุทธเจ้ายืนยันว่า นาคราชนั้นจะไม่เบียดเบียนพระองค์ ถ้าอุรุเวลกัสสปอนุญาต และอุรุเวลกัสสปก็อนุญาต รุ่งเช้าพระพุทธเจ้าได้กำจัดฤทธิ์เดชพญานาค บันดาลให้นาคนั้นขดกายลงในบาตร อุรุเวลกัสสปเห็นดังนั้นก็มีจิตเลื่อมใส บรรยาย 8 : วันหนึ่ง มีฝนตกลงมาเป็นอันมาก กระแสน้ำไหลท่วมไปหมด พระพุทธเจ้าทรงอธิษฐาน มิให้น้ำท่วม เข้าไปในที่พระองค์อยู่ ให้น้ำนั้นเป็นขอบสูงขึ้นไปในทิศโดยรอบ ที่เดินจงกรมอยู่ อุรุเวลกัสสปคิดว่า น้ำจะท่วมพระพุทธเจ้าหรือไม่ จึงลงเรือพร้อมกับชฎิลทั้งหลาย รีบพายไปดู ก็เห็นน้ำสูงขึ้นเป็นกำแพงล้อมอยู่โดยรอบ เห็นพระพุทธเจ้า เสด็จจงกรมอยู่ ปราศจากน้ำ อุรุเวลกัสสปคิดว่า พระพุทธเจ้ามี อิทธิฤทธิ์เป็นอันมาก บรรยาย 9 : หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้ชฎิล 3 พี่น้องและบริวารกลับใจเลิกบูชาไฟ มาศึกษาพระธรรมวินัย จน บรรลุอรหันต์ พระองค์ก็เสด็จไปกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เนื่องจากทรงเคยรับคำพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ครองนครว่า หากบรรลุโพธิญาณจะเสด็จไปโปรด พระผู้มีพระพุทธเจ้าพร้อมสาวกทั้งพันรูปจึงเสด็จมาพักที่ สวนนอกเมือง ชื่อสวนลัฏฐิวัน หรือสวนตาลหนุ่ม พระเจ้าพิมพิสาร และชาวเมืองต่างพากัน มาเฝ้า เมื่อเห็นชฎิลทั้ง 3 พี่น้อง ครองผ้าและเป็นสาวก และหลังจากที่ได้ฟังธรรมแล้ว พระเจ้าพิมพิสารก็บรรลุโสดาบันที่สวนตาลหนุ่ม บรรยาย 10 : พระเจ้าพิมพิสารเห็นว่า ลัฏฐิวันหรือสวนตาลหนุ่ม ที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่นั้นเล็ก ห่างไกลจากชุมชนไม่สะดวกแก่ผู้มีศรัทธา จึงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันให้เป็นสังฆาราม เพราะไม่ใกล้ไกลจาก ชุมชน เงียบสงัด ไม่พลุกพล่าน แล้วพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงจับพระเต้าทองหลั่งน้ำทักษิโณทก ให้ตกลงที่ พระหัตถ์พระพุทธเจ้า ถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน ซึ่งเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา หลั่งน้ำทักษิโณทก อ่านว่า ทัก-สิ-โน-ทก คือ การกรวดน้ำ บรรยาย 11 : หลังจากถวายวัดเวฬุวันแล้ว คืนนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงฝันร้าย เห็นพวกเปรตมาร่ำร้องอยู่ต่อหน้า น่าเกลียด น่ากลัว รุ่งเช้าขึ้นมาพระองค์เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่า เปรตเหล่านั้น เคยเป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร มาขอส่วนบุญ ให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา วันต่อมา พระเจ้าพิมพิสารจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ ไปเสวยภัตตาหารในพระราชวัง แล้วกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลแก่พวกเปรตเหล่านั้น ตกดึกคืนนั้นพวกเปรตมาปรากฏอีก แต่คราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ขอบคุณที่แบ่งส่วนบุญให้ แล้วอันตรธานหายไป บรรยาย 12 : พระพุทธเจ้าทรงรับพระเวฬุวันเป็นสังฆารามแล้ว มหาชนที่ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา หลั่งไหลกันมาสดับธรรมเทศนาเป็นอันมาก พระพุทธศาสนา ได้เริ่มแพร่ไป อุปดิสสะปริพพาชก และ โกลิตะปริพพาชก ซึ่งเป็นสหายกัน (เป็นสหชาติร่วมปีเกิด) ได้พาบริวารของตน ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ยังพระเวฬุวันวิหาร พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรม บริวารทั้งหมดได้บรรลุอรหันต์ ยกเว้นอุปดิสสะ ปริพพาชก และโกลิตะปริพพาชก และพระบรมศาสดาทรงตรัสเรียกชื่อสหายทั้งสองนั้น ตามนามของมารดา คือ เรียกอุปดิสสะ ผู้เป็นบุตรของนางสารีพราหมณีว่า สารีบุตร เรียก โกลิตะ ผู้เป็นบุตรของนาง โมคคัลลีพราหมณีว่า โมคคัลลานะ และหลังจากนั้น ทั้งสองก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ในกาลนั้น พระพุทธเจ้า ได้ทรงตั้งพระเถระเจ้าทั้งสองไว้ในตำแหน่ง คู่แห่งอัครสาวก คือ พระสารีบุตรเถระ เป็นอัครสาวก เบื้องขวา พระโมคคัลลานะเถระ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย

He left Rajagaha and practised under two hermit teachers of yogic meditation. After mastering the teachings of Alara Kalama, he was asked by Kalama to succeed him. However, Gautama felt unsatisfied by the practise, and moved on to become a student of yoga with Udaka Ramaputta . With him he achieved high levels of meditative consciousness, and was again asked to succeed his teacher. But, once more, he was not satisfied, and again moved on. After that he go to Neranjara River. They tried to find enlightenment through deprivation of worldly goods, including food, practising self-mortification. He tried for six years but not achived. Indra come to help by playing harp but one line is broken because it too tight. Finally, he discovered the Middle Way a path of moderation away from the extremes of self-indulgence and self-mortification. A group of five companions Kaundinya, Voppa, Bhaddiya, Mahanama and Assaju come forward to serve him for hoping to achive. When he stop self-mortification , A group of five companions despire and go to Deer Park Isipatana in Varanasre.

ห้องพุทธประวัติ

จิตรกรรม ภาพที่ 4 :  (เผยแผ่ 2) พุทธบารมี

The Forth Wall : Propagate Buddhism to Kings and Priests 

บรรยาย 1:พระมหามุนีบรมสุคตเจ้า ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ในท่ามกลางพระประยูรญาติขณะนั้น บังเกิดฝนโบกขรพรรษตกในที่ขัติยะ ประยูรวงศ์ประชุมกัน น้ำฝนโบกขรพรรษนั้น มีสีแดง ถ้าผู้ใดปรารถนาจะให้เปียกกาย จึงจะเปียก ถ้าไม่ปรารถนาแล้ว แม้แต่เม็ดหนึ่งก็มิได้เปียกตัว เหมือนหยาดน้ำตกลงใบบัว แล้วก็กลิ้งตกลงไปมิได้ติดอยู่ให้เปียก บรรยาย 2 : พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จด้วยพระขีณาสพ 2 หมื่น เป็นบริวาร ทรงภิกษาจารไปตาม ท้องถนน ในเมืองกบิลพัสดุ์ การเที่ยวบิณฑบาตจึงเป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า ตลอดพระภิกษุสงฆ์ที่สืบสายพุทธวงศ์ พระขีณาสพ เป็นผู้ละอาสวะกิเลส ทั้ง 3 อย่าง คือ กาม / ภพ / อวิชชา ภิกษาจาร = การขออาหาร/บิณฑบาต บรรยาย 3 : พระบรมศาสดาเสด็จไปรับบิณฑบาต ในนิเวศน์ของพระนันทราชกุมาร ผู้เป็นพระพุทธอนุชา พระนันทราชกุมารทรงเกรงพระทัยพระบรมศาสดา ต้องฝืนใจอุ้มบาตรตามไป จนถึงนิโครธมหาวิหาร เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จถึงพระคันธกุฏี พระบรมศาสดาจึงโปรดประทานอุปสมบทให้นันทกุมาร ด้วยความจำใจของนันทกุมาร นิโครธ อ่านว่า นิ-โค-ระ-ธะ แปล่า ต้นไทร พระคันธกุฏี อ่านว่า พะ-คัน-ทะ-กุ-ดี ชื่อกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า บรรยาย 4 : พระนางพิมพาเทวี ให้องค์ราหุล เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เพื่อทูลขอขุมทอง ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติ ที่ผู้เป็นทายาทควรจะได้รับ พระศาสดาก็ทรงพาราหุลกุมารไปพระวิหาร เพื่อบรรพชาเป็นสามเณร บรรยาย 5 : พระนันทะ เกิดความกระสันเป็นทุกข์ใจด้วยไม่มีความเลื่อมใสในการบรรพชา เพราะมีจิตกำหนัดคิดถึงนางชนบทกัลยาณี พระชินศรีจึงพานันทะขึ้นสู่ดาวดึงส์ พาให้เห็นนางเทพ อัปสร ซึ่งมีกายงดงาม กว่านางชนบทกัลยาณีมาก และพระพุทธเจ้ารับรองว่า ถ้านันทะรักใคร่นางฟ้าทั้งหลายนี้ ก็จะช่วยให้เป็นไปตามความปรารถนาของนันทะ เมื่อกลับลงมาสู่โลกมนุษย์ บรรดาภิกษุที่เป็นเพื่อนนันทะทราบเหตุ ต่างก็พากันพูดเหน็บแนมพระนันทะว่า ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อนางฟ้า พระนันทะละอายใจจึงออกไปบำเพ็ญสมณธรรมผู้เดียว ไม่ช้าก็บรรลุพระอรหัตตผล สมณธรรม อ่านว่า สะ-มะ-นะ-ทำ ข้อปฏิบัติของพระภิกษุ อรหัตตผล อ่านว่า อะ-ระ-หัด-ตะ-ผน การสำเร็จเป็นพระอรหันต์ บรรยาย 6 : พระเทวทัต ได้นิมิตรกายเป็นกุมารน้อย เอาอสรพิษทำเป็นอาภรณ์ และสังวาล ลอยลงจากอากาศ ปรากฏกายอยู่เฉพาะหน้าพระอชาตสัตตุราชกุมาร เมื่อพระราชกุมารตกใจกลัว จึงสำแดงกายเป็นพระสงฆ์ เมื่อพระราชกุมารเห็นปาฏิหารย์นั้น ก็ทรงเลื่อมใส เคารพ นับถือ บรรยาย 7 : พระเทวทัตได้ว่าจ้างพรานธนูให้ไปลอบสังหารพระพุทธเจ้ายังที่ประทับ แต่เมื่อแลเห็นพระพุทธองค์ พรานธนูก็มีอาการอ่อนเปลี้ย ยกธนูไม่ขึ้น เพราะพุทธานุภาพอันน่าเลื่อมใส ต่างวางคันธนูแล้วกราบพระบาทพระพุทธเจ้า พระองค์จึงแสดงเทศนาจนพรานนั้นแลเห็นทางธรรม บรรยาย 8 : พระเทวทัต ลอบขึ้นไปบนภูเขาคิชฌกูฏ กลิ้งก้อนศิลาใหญ่ลงมา หวังจะให้ประหารพระพุทธเจ้า ในเวลาเสด็จขึ้น แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายพระองค์ไปเป็นเพียงสะเก็ดศิลา ได้กระเด็นไปกระทบพระบาทจนห้อพระโลหิต บรรยาย 9 : พระเทวทัต ให้ปล่อยช้างนาฬาคีรี ช้างพระที่นั่ง กำลังซับมันดุร้าย เพื่อให้ทำลายพระชนม์ชีพพระพุทธเจ้า ในเวลาเสด็จออกมาบิณฑบาตในเวลาเช้า แต่พระพุทธเจ้า ได้ทรงปราบช้างนาฬาคีรี ให้หมดพยศร้าย หมอบยอบกายเข้าไปถวายบังคม บรรยาย 10 : พระเทวทัตอาพาธหนัก ได้วิงวอนให้ผู้เป็นศิษย์ ช่วยนำตัวไปเฝ้าผู้มีพระพุทธเจ้า เมื่อศิษย์ทั้งหลาย หามพระเทวทัตมาถึงสระโบกขรณี พระเทวทัตก็ลุกขึ้นนั่งอยู่บนเตียงห้อยเท้าทั้งสองถึงพื้นดิน ประสงค์จะเหยียบยันกายขึ้นยืนบนพื้นปฐพี ในขณะนั้น พื้นปฐพีก็แยกออกเป็นช่อง สูบเอาเท้าทั้งสองของเทวทัตลงไปในแผ่นดิน และร่างพระเทวทัตก็จมหายลงไปในพื้นปฐพี ไปบังเกิดในอเวจีนรก ด้วยบาปไม่เคารพในพระรัตนตรัย ประทุษร้ายในพระพุทธเจ้า ทำสังฆเภท อันเป็นอนันตริยกรรม ปฐพี อ่านว่า ปัด-ถะ-พี แปลว่า แผ่นดิน สังฆเภท อ่านว่า สัง-คะ-เพด การยุยงสงฆ์ให้แตกกัน อนันตริยกรรม อ่านว่า อะ-นัน-ตะ-ริ-ยะ-กำ หมายถึง กรรมที่หนักที่สุด คือ 1.มาตุฆาต – ฆ่ามารดา 2.ปิตุฆาต – ฆ่าบิดา 3.อรหันตฆาต – ฆ่าพระอรหันต์ 4.โลหิตปบาท – ทำร้ายพระพุทธเจ้า 5.สังฆเภท – การยุยงสงฆให้แตกกัน บรรยาย 11 : เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติ พระนางมหาปชาบดี ได้ตระเตรียมผ้าไตรจีวรในทุกขั้นตอนอย่างประณีตที่สุด เพื่อนำผ้าไปถวายพระองค์ แต่พระองค์ปฏิเสธการรับการถวายผ้าไตรเพราะต้องการให้พระนางได้รับอานิสงส์สูงสุด ด้วยการให้ถวายเป็นสังฆทาน คือไม่เจาะจงองค์เพื่อเป็นแบบอย่างของการถวายทาน แม้พระนางจะนำไปถวายพระเถระ (ซึ่งต่างก็ล้วนทราบพุทธประสงค์) จึงต่างปฏิเสธไม่รับการถวายเช่นกัน สุดท้ายพระนางทรงเสียพระทัยมาก ในที่สุดพระนางนำไปถวายพระภิกษุบวชใหม่ซึ่งนั่งอยู่ท้ายแถว ทั้งพระพุทธองค์และเหล่าพระเถระจึงเปล่ง "สาธุการ" ขึ้นพร้อมกัน ยังความปีติโสมนัสให้เกิดขึ้นแก่พระนาง และพระภิกษุบวชใหม่รูปนั้นก็คือพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ บรรยาย 12 : ครั้งหนึ่งเมื่อเหล่ากษัตริย์ตระกูลศากยะวงศ์ พระญาติฝ่ายพุทธบิดา และเหล่ากษัตริย์ตระกูลโกลิยวงศ์ พระญาติฝ่ายพุทธมารดา เกิดการทะเลาะวิวาทกัน เพราะเรื่องแย่งน้ำในแม่น้ำ โรหิณี เนื่อง จากฝนแล้ง น้ำไม่เพียงพอ ทำให้การทะเลาะวิวาทลุกลามไป จนเกือบกลาย เป็นศึกสงครามระหว่างกัน พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงเสด็จไปห้ามสงคราม โดยตรัสให้ เห็นถึงความไม่สมควรที่กษัตริย์ต้องมาฆ่าฟันกันด้วยสาเหตุเพียง แค่การแย่งน้ำเข้านา และได้ตรัสเตือนสติว่า ระหว่างน้ำกับความเป็นพี่น้อง อะไรสำคัญยิ่งกว่ากัน ทั้งสองฝ่าย จึงได้สติ คืนดีกัน และขอพระราชทานอภัยโทษต่อหน้าพระพุทธเจ้า บรรยาย 13 : นางพราหมณีรีบไปบอกเหตุให้องคุลีมาลได้ทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ตระเตรียมกำลังพล เพื่อจะไปจับองคุลีมาล ฆ่าเสีย เวลานั้นโจรองคุลีมาลได้นิ้วมือมาเพียง 999 นิ้ว ยังขาดอยู่นิ้วเดียว จึงตั้งใจว่าถ้าพบใครก่อนก็จะฆ่าทันที เพื่อจะได้นิ้วมือครบตามต้องการ พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าองคุลีมาลเป็นผู้มีอุปนิสัยพอที่จะโปรดให้บรรลุมรรคผลได้ และทรงพระดำริว่า ถ้าพระองค์มิได้เสด็จไปโปรด องคุลีมาลก็จะกระทำมาตุฆาต ฆ่ามารดาของตนเสีย ไม่สามารถบรรลุธรรมใดๆ ได้ในชาตินี้ พระองค์จึงเสด็จไป เพื่อสกัดองคุลีมาลไว้ เมื่อพบเข้าแล้ว องคุลีมาลโจรก็ตรงเข้าไล่พิฆาตทันที พระพุทธเจ้าบันดาลอิทธิฤทธิ์ ในลักษณะที่องคุลีมาลจะวิ่งจนสุดกำลัง ก็ไม่อาจทัน จึงร้องตะโกนให้พระพุทธเจ้าหยุด พระองค์จึงตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลีมาล ท่านเล่าจงหยุดเถิด” องคุลีมาลโจรรู้สึกสำนึกโทษของตน จึงเปลื้องเครื่องศาสตราวุธ และมาลัยนิ้วมือออกจากกาย แล้วเข้าเฝ้าทูลขอบรรพชาอุปสมบท มาตุฆาต อ่านว่า มา-ตุ-คาด ฆ่ามารดาตนเอง ศาสตราวุธ อ่านว่า สาด-ตรา-วุด แปลว่า อาวุธ บรรยาย 14 : เช้าวันหนึ่ง องคุลีมาล ได้ออกบิณฑบาตร ขณะนั้นมีหญิงท้องแก่ เห็นองคุลีมาลภิกษุเดินมา ก็กลัวลนลาน และเกิดเจ็บครรภ์ขึ้นมากระทันหันดิ้นรนร้องทุรนทุราย องคุลีมาลภิกษุ เมื่อเดินผ่านมาเห็นเข้า บังเกิดจิตเมตตาปรารถนาที่จะช่วยหญิงนั้น แต่ก็มิรู้จักทำประการใด จึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐาน หญิงนั้นจึงได้คลอดลูกออกมาโดยง่าย ปราศจากอันตราย เมื่อพระองคุลีมาล ได้ตั้งสัจจะอธิษฐานช่วยหญิงนั้นแล้ว ท่านก็ออกเดินบิณฑบาต จนได้อาหารแล้วกลับที่พักมาเจริญสมณธรรมต่อไป บรรยาย 15 : นางจิญจมาณวิกาเบียดเบียนพระพุทธเจ้า โดยรับอาสาจากพวก ปริพพาชก แกล้งทำเป็น คนท้อง ให้เขากลึงไม้นูนผูกรัดไว้ที่เอว แล้วก็ไปร้องบอกพระพุทธเจ้า ขณะนั่งประทับเทศนาว่า พระพุทธเจ้าจะมานั่งเทศน์อยู่ทำไม ทำให้นางมีครรภ์เช่นนี้กลับมิดูแล อย่ามัวเทศน์โปรดพุทธบริษัทอยู่เลย ให้ไปตัดฟืนไว้ เวลาคลอดแล้วลูกจะได้ไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าได้ทรงสดับ จึงหยุดเทศนาและกล่าวกับนางจิญจมาณวิกาว่า คนอื่นเขามิได้รู้เรื่องด้วยจะมีเพียงนางกับพระองค์เพียงสองคนเท่านั้นที่รู้กัน พระองค์ทรงกล่าวด้วยความอิ่มเอม ใจท่ามกลางความสงสัยของพุทธบริษัท พระอินทร์จึงทรงแปลงกายเป็นหนู ไปกัดเชือกที่ ผูกไม้ ทำให้ไม้หลุดตกลงมา และเกิดมีลมแรงพัดเอาเสื้อผ้าของนางให้ปลิวขึ้น จนปรากฏ แก่คนทั้งหลายว่า นางมิได้ตั้งครรภ์ ผู้้คนเห็นดังนั้น ก็ดุด่า ไล่ขว้างด้วยก้อนหินและไม้ นางจิญจมาณวิกา วิ่งหลบหนี และถูกธรณีสูบลงสู่นรกมหาอเวจี บรรยาย 16 : พระพุทธเจ้าได้ปราบทิฐิของท้าวพกาพรหม ที่ท้าพระพุทธเจ้าให้มาลองอิทธิฤทธิ์กัน โดยให้อีกฝ่ายซ่อนและอีกฝ่ายหา หากผู้ใดซ่อนและผู้หา หาไม่พบถือว่าชนะและฝ่ายแพ้จะต้องมาเป็นสาวกของฝ่ายชนะ เมื่อถึงคราวพระพุทธเจ้าเป็นผู้ซ่อน พระองค์ทรงย่อพระวรกายให้เล็กลง แล้วเสด็จขึ้นไปปะทับซ่อนอยู่ในมวยผมบนเศียรของท้าวผกาพรหม ท้าวผกาพรหมเริ่มตามหา แต่หาอย่างไรก็ไม่พบ ท้าวผกาพรหมจึงยอมแพ้ พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าท้าวผกาพรหมลดทิฏฐิลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดท้าวผกาพรหม จนบรรลุเป็นพระโสดาบัน

Siddhartha saw the sick, old and death people . He think everybody can not avoided. He think worldly pleasure did not true. It just illusion. These depressed him, and he initially strove to overcome ageing, sickness, and death by living the life of an ascetic. Accompanied by Channa and riding his horse Kanthaka, he quit his palace for the life of a mendicant. He then travelled to the Deer Park near in northern India, where he set in motion what Buddhists call the Wheel of Dharma by delivering his first sermon to the five companions with whom he had sought enlightenment

ห้องพุทธประวัติ

จิตรกรรม ภาพที่ 5 : (เผยแผ่ฯ 3) พุทธปิติ

The Fifth Wall : Propagate Buddhism to Villagers and Evil

บรรยาย 1 : ในกาลนั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ ป่ามหาวัน ใกล้พระนครไพศาลี ทรงทราบว่า พระเจ้า สุทโธทนะ พระบิดา ซึ่งประทับอยู่กบิลพัสดุ์นคร ทรงประชวรหนัก จึงเสด็จไปเยี่ยมพร้อมด้วย พระสาวก ขณะนั้น พระเจ้าสุทโธทนะ ได้รับความทรมานจากการอาพาธ แต่ทุเลาลงด้วยพระจิตบำบัด จากพระ พุทธเจ้า จากพระอานนท์ และพระราหุล พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา โปรดให้พระพุทธบิดาบรรลุ เป็นพระอรหันต์ และพระเจ้าสุทโธทนะ ก็ได้เสด็จนิพพาน บรรยาย 2 : พระนางปชาบดีโคตมี พร้อมด้วยเจ้าหญิงวงศ์ศากยราชวงค์จำนวนมาก ...แสดงความประสงค์ขอ อนุญาตพระพุทธเจ้าบวชถึง 3 ครั้ง แต่ไม่ทรงอนุญาตต่อมา ทั้งหมดยังไม่ละความตั้งใจ พากันปลงพระเกศา นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ พากันเสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ ไปเมืองเวสาลีเพื่อขอบรรพชา พระอานนท์กราบทูลถึง 3 ครั้ง ขอให้พระนางปชาบดีและพวกบวช แต่ทรงปฏิเสธ เมื่อพระอานนท์เปลี่ยนวิธีการทูลถามว่าคำสอนที่ยึดมั่นธรรมวินัยสามารถสำเร็จได้หรือไม่ ในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ทรงโปรดประทานบรรพชาอุปสมบทให้โดยมีเงื่อนไข ครุธรรมที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งพระนางตอบรับปฏิบัติ พระนางจึงเป็น ภิกษุณีองค์แรก บรรยาย 3 : ประชาชนทั้งหลายได้มาประชุมกัน ณ บริเวณรอบต้นคัณฑามพพฤกษ์ (ต้นมะม่วง) ที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้ใช้เม็ดมะม่วงที่ฉันเสร็จลงดิน รดด้วยน้ำล้างมือ บังเกิดเป็นต้นมะม่วงใหญ่ ตกดอกออกผล ทั้งดิบและสุกให้ประชาชนได้เก็บกินเป็นจำนวนมาก เมื่อได้เวลาบ่าย พระพุทธเจ้า ได้ทรงทำยมกปาฎิหาริย์ ประทับยืน ณ ที่หน้าสวนต้นมะม่วง ทรงทำปาฎิหาริย์ เหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วทรงนิรมิตรพระพุทธนิรมิตร เหมือนพระองค์ขึ้นองค์หนึ่ง แสดงอิริยาบทให้ปรากฎสลับกับพระองค์ คือพระองค์เสด็จประทับยืน พระพุทธนิรมิตรเสด็จนั่ง พระองค์ประทับนั่ง พระพุทธนิมิตประทับยืน ทุกๆ อิริยาบทสลับกัน บางทีพระพุทธนิมิตตรัสถาม พระองค์ตรัสตอบ พระองค์ตรัสถามบ้าง พระพุทธนิมิต ตอบบ้าง ในที่สุดทรงทำปาฎิหาริย์ให้เกิดสายน้ำ เปลวไฟ พวยพุ่งออกจากพระกายเป็นคู่ๆ รอบๆ พระกาย เป็นสายๆ ไม่ระคนปนกัน บังเกิดแสงสว่างงดงาม เป็นมหาอัศจรรย์ แก่ทั้งเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกัน ชมพระพุทธปาฎิหาริย์ และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหารย์แล้ว ก็ทรงแสดงธรรมโปรด พุทธบริษัทที่ประชุมกันอยู่ในที่นั้น ในเวลาจบพระธรรมเทศนา พุทธบริษัท เทพยดาและมนุษย์ ได้บรรลุ อริยมรรค อริยผลเป็นอันมาก บรรยาย 4 :หลังจากที่พระพุทธเจ้าแสดง ยมกปาฏิหาริย์แล้ว ก็เสด็จขึ้นไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประทับใต้ร่มไม้ ปาริชาติ พระอินทร์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นมา จึงขอออกไป ประกาศให้เทพยดาทุกชั้นฟ้า มาเฝ้า เพื่อฟังพระธรรมเทศนา และเมื่อเทพยดามาชุมนุมกันแล้ว พระองค์ไม่เห็นพุทธมารดา จึงถามว่า อยู่ที่ใด ท้าวสักกะ จึงขึ้นไปสวรรค์ชั้นดุสิต ทูลเชิญพระมหามายาเทพเจ้า ให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธมารดา เสด็จมาประทับแล้ว ก็ทรงประกาศซึ่งพระคุณของ พระมารดาอันยิ่งใหญ่ ให้ปรากฎในเทวสมาคม และทรงแสดงอภิธรรม ทรงโปรดพระพุทธมารดา ในที่สุด พระพุทธมารดาได้บรรลุพระโสดาปัตติผล และไปจุติเป็นเทพบุตร สมพระประสงค์ที่พระองค์ตั้งพระทัย เสด็จขึ้นมาสนองคุณพระพุทธมารดา บรรยาย 5 : พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์เทวโลก ท่ามกลางเทพยดาในหมื่นจักวาล ปรากฏมีบันไดทิพย์ 3 บันได บันไดทองอยู่เบื้องขวา บันไดเงินอยู่เบื้องซ้าย บันไดแก้วอยู่ตรงกลาง เชิงบันไดอยู่ใกล้ประตูเมือง สังกัสสะนคร บันไดแก้วเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมา บันไดทอง เป็นที่เทพยาดาทั้งหลายตามลงมาส่ง เสด็จ บันไดเงิน เป็นที่พรหมทั้งหลายตามลงมาส่งเสด็จ มหาชนทั้งหลาย คอยเฝ้าอยู่ในบริเวณร่มไม้ คัณฑามพพฤกษ์ (ต้นมะม่วง) และอยู่ในที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสะนคร เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับยืน ที่ฐานศีรษะบันได จึงได้ทรงทำ โลกวิวรณะปาฎิหาริย์เปิดโลก รวมทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างเป็น 10 ทิศด้วยกัน ในทันใดนั้น ทุกทิศทุกทางจะแลโล่งตลอดหมด ไม่มีอันใดกีดบัง เทวดาในสวรรค์จะมองเห็น มนุษย์ และเห็นถึงยมโลก เห็นนรก และมนุษย์ก็จะเห็นเทวดาในสวรรค์ เห็นสัตว์นรก แม้สัตว์นรกก็เห็น มนุษย์ตลอดเทวดาบนสวรรค์ ไม่มีสิ่งใดปิดบัง พระพุทธเจ้าทรงทำปาฎิหาริย์เปิดโลก พร้อมกับเปล่ง ฉัพพัณณรังษีรัศมี 6 ประการ เป็นมหาอัศจรรย์

After the Enlightenment. Considered fair to him for 7 weeks , he enlightened that he has attained the Exodus sensitive. Difficult for individuals to know. Understand and comply. God willing, that will discourage the public , please do not preach. Later he had a profound consideration. I saw that the people in this world , there are many species, some of them do not teach some classes. So the question then compare these four battlefields in order to preach to all mankind.

ห้องพุทธประวัติ

จิตรกรรม ภาพที่ 6 : (ปรินิพพาน) ปฐมพุทธธรรม

The Sixth Wall :  Parinirvana

บรรยาย 1 : ในกาลนั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ ป่ามหาวัน ใกล้พระนครไพศาลี ทรงทราบว่า พระเจ้า สุทโธทนะ พระบิดา ซึ่งประทับอยู่กบิลพัสดุ์นคร ทรงประชวรหนัก จึงเสด็จไปเยี่ยมพร้อมด้วย พระสาวก ขณะนั้น พระเจ้าสุทโธทนะ ได้รับความทรมานจากการอาพาธ แต่ทุเลาลงด้วยพระจิตบำบัด จากพระ พุทธเจ้า จากพระอานนท์ และพระราหุล พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนา โปรดให้พระพุทธบิดาบรรลุ เป็นพระอรหันต์ และพระเจ้าสุทโธทนะ ก็ได้เสด็จนิพพาน บรรยาย 2 : พระนางปชาบดีโคตมี พร้อมด้วยเจ้าหญิงวงศ์ศากยราชวงค์จำนวนมาก ...แสดงความประสงค์ขอ อนุญาตพระพุทธเจ้าบวชถึง 3 ครั้ง แต่ไม่ทรงอนุญาตต่อมา ทั้งหมดยังไม่ละความตั้งใจ พากันปลงพระเกศา นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ พากันเสด็จออกจากพระนครกบิลพัสดุ์ ไปเมืองเวสาลีเพื่อขอบรรพชา พระอานนท์กราบทูลถึง 3 ครั้ง ขอให้พระนางปชาบดีและพวกบวช แต่ทรงปฏิเสธ เมื่อพระอานนท์เปลี่ยนวิธีการทูลถามว่าคำสอนที่ยึดมั่นธรรมวินัยสามารถสำเร็จได้หรือไม่ ในที่สุด พระพุทธเจ้าก็ทรงโปรดประทานบรรพชาอุปสมบทให้โดยมีเงื่อนไข ครุธรรมที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งพระนางตอบรับปฏิบัติ พระนางจึงเป็น ภิกษุณีองค์แรก บรรยาย 3 : ประชาชนทั้งหลายได้มาประชุมกัน ณ บริเวณรอบต้นคัณฑามพพฤกษ์ (ต้นมะม่วง) ที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้ใช้เม็ดมะม่วงที่ฉันเสร็จลงดิน รดด้วยน้ำล้างมือ บังเกิดเป็นต้นมะม่วงใหญ่ ตกดอกออกผล ทั้งดิบและสุกให้ประชาชนได้เก็บกินเป็นจำนวนมาก เมื่อได้เวลาบ่าย พระพุทธเจ้า ได้ทรงทำยมกปาฎิหาริย์ ประทับยืน ณ ที่หน้าสวนต้นมะม่วง ทรงทำปาฎิหาริย์ เหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วทรงนิรมิตรพระพุทธนิรมิตร เหมือนพระองค์ขึ้นองค์หนึ่ง แสดงอิริยาบทให้ปรากฎสลับกับพระองค์ คือพระองค์เสด็จประทับยืน พระพุทธนิรมิตรเสด็จนั่ง พระองค์ประทับนั่ง พระพุทธนิมิตประทับยืน ทุกๆ อิริยาบทสลับกัน บางทีพระพุทธนิมิตตรัสถาม พระองค์ตรัสตอบ พระองค์ตรัสถามบ้าง พระพุทธนิมิต ตอบบ้าง ในที่สุดทรงทำปาฎิหาริย์ให้เกิดสายน้ำ เปลวไฟ พวยพุ่งออกจากพระกายเป็นคู่ๆ รอบๆ พระกาย เป็นสายๆ ไม่ระคนปนกัน บังเกิดแสงสว่างงดงาม เป็นมหาอัศจรรย์ แก่ทั้งเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกัน ชมพระพุทธปาฎิหาริย์ และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหารย์แล้ว ก็ทรงแสดงธรรมโปรด พุทธบริษัทที่ประชุมกันอยู่ในที่นั้น ในเวลาจบพระธรรมเทศนา พุทธบริษัท เทพยดาและมนุษย์ ได้บรรลุ อริยมรรค อริยผลเป็นอันมาก บรรยาย 4 :หลังจากที่พระพุทธเจ้าแสดง ยมกปาฏิหาริย์แล้ว ก็เสด็จขึ้นไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ประทับใต้ร่มไม้ ปาริชาติ พระอินทร์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นมา จึงขอออกไป ประกาศให้เทพยดาทุกชั้นฟ้า มาเฝ้า เพื่อฟังพระธรรมเทศนา และเมื่อเทพยดามาชุมนุมกันแล้ว พระองค์ไม่เห็นพุทธมารดา จึงถามว่า อยู่ที่ใด ท้าวสักกะ จึงขึ้นไปสวรรค์ชั้นดุสิต ทูลเชิญพระมหามายาเทพเจ้า ให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธมารดา เสด็จมาประทับแล้ว ก็ทรงประกาศซึ่งพระคุณของ พระมารดาอันยิ่งใหญ่ ให้ปรากฎในเทวสมาคม และทรงแสดงอภิธรรม ทรงโปรดพระพุทธมารดา ในที่สุด พระพุทธมารดาได้บรรลุพระโสดาปัตติผล และไปจุติเป็นเทพบุตร สมพระประสงค์ที่พระองค์ตั้งพระทัย เสด็จขึ้นมาสนองคุณพระพุทธมารดา บรรยาย 5 : พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์เทวโลก ท่ามกลางเทพยดาในหมื่นจักวาล ปรากฏมีบันไดทิพย์ 3 บันได บันไดทองอยู่เบื้องขวา บันไดเงินอยู่เบื้องซ้าย บันไดแก้วอยู่ตรงกลาง เชิงบันไดอยู่ใกล้ประตูเมือง สังกัสสะนคร บันไดแก้วเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมา บันไดทอง เป็นที่เทพยาดาทั้งหลายตามลงมาส่ง เสด็จ บันไดเงิน เป็นที่พรหมทั้งหลายตามลงมาส่งเสด็จ มหาชนทั้งหลาย คอยเฝ้าอยู่ในบริเวณร่มไม้ คัณฑามพพฤกษ์ (ต้นมะม่วง) และอยู่ในที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสะนคร เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับยืน ที่ฐานศีรษะบันได จึงได้ทรงทำ โลกวิวรณะปาฎิหาริย์เปิดโลก รวมทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างเป็น 10 ทิศด้วยกัน ในทันใดนั้น ทุกทิศทุกทางจะแลโล่งตลอดหมด ไม่มีอันใดกีดบัง เทวดาในสวรรค์จะมองเห็น มนุษย์ และเห็นถึงยมโลก เห็นนรก และมนุษย์ก็จะเห็นเทวดาในสวรรค์ เห็นสัตว์นรก แม้สัตว์นรกก็เห็น มนุษย์ตลอดเทวดาบนสวรรค์ ไม่มีสิ่งใดปิดบัง พระพุทธเจ้าทรงทำปาฎิหาริย์เปิดโลก พร้อมกับเปล่ง ฉัพพัณณรังษีรัศมี 6 ประการ เป็นมหาอัศจรรย์ ภาพที่ 6 : (ปรินิพพาน) ปฐมพุทธธรรม บรรยาย 1 : พระพุทธเจ้าเสด็จปลีกวิเวกไปอยู่ลำพัง ราวป่ารักขิตวัน ใต้ต้นสาละใหญ่ มีพระยาช้างปาริ เลยยกะ ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล มีลิงตัวใหญ่เห็นพระยาช้างทำวัตรปฏิบัติทุกวัน เกิดความศรัทธาจึงทำอย่างนั้นบ้าง บรรยาย 2 :พญามารวัสวดีเข้าดลใจพระอานนท์ ให้นิ่ง มิได้ทูลอาราธนา ให้พระพุทธเจ้าให้เจริญพระชนมายุอยู่ต่อไป ไม่เสด็จปรินิพพาน แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงทำนิมิตโอภาสถึง 3 ครั้งพระพุทธเจ้าจึงบอกให้พระอานนท์ออกไป พระอานนท์จึงออกไปทำสมาธิใต้ร่มไม้ ซึ่งอยู่ไม่ไกลนักแต่เพียงผู้เดียว บรรยาย 3 : พญามารวัสวดี ถือโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ขออาราธนาให้พระองค์เสด็จปรินิพพาน ตามสัญญาที่เคยตรัสไว้ว่า จะเสด็จปรินิพพานเมื่อมีพุทธบริษัทสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระผู้มีพระภาค จึงตรัสแก่พญามารว่า อีก 3 เดือน จะเสด็จปรินิพพาน บรรยาย 4 :เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จไปสู่เมืองปาวานคร ถึงสวนมะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตร ซึ่งเป็นบุตรนายช่างทอง ซึ่งนิมนต์ไปฉันอาหารบิณฑบาตที่บ้านตน โดยอาหารบิณฑบาตของนายจุนท์ ซึ่งประกอบด้วยขาทนียะและโภชนียาหาร กับทั้งสุกรมัทวะ และนี่เป็นการบิณฑบาตครั้งสุดท้าย ก่อนปรินิพพาน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกับนายจุนทะ ให้นำมัทวะภายหลังถวายพระองค์ฉันองค์เดียว แล้วที่เหลือไปฝังไม่ให้ถวายภิกษุอื่น ขาทนียะ อ่านว่า ขา-ทะ-นี-ยะ = ของควรเคี้ยว/ของคบเคี้ยว โภชนียาหาร อ่านว่า โภ-ชะ-นี-ยา-หาร = ของควรบริโภค / ของกิน อาหารที่สำเร็จจากธัญชาติชนิดต่างๆ บรรยาย 5 : ขณะเสด็จพุทธดำเนินตามทาง พระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำ จึงตรัสเรียกพระอานนท์ ให้ไปตักน้ำมาให้ดื่ม พระอานนท์ทูลว่า เกวียนประมาณ 500 เล่มเกวียน เพิ่งข้ามผ่านแม่น้ำนี้ไป เมื่อล้อเกวียนบดไปตลอดทุกเล่ม น้ำก็ขุ่นมาก ไม่ควรจะเป็นน้ำเสวย แต่พระพุทธเจ้าก็ยังคงให้ไปนำน้ำนั้นมา เมื่อพระอานนท์นำบาตรตักน้ำในแม่น้ำ น้ำได้กลับกลายเป็นน้ำใสสะอาด บรรยาย 6 : ปุกกุสะ บุตรแห่งมัลลกษัตริย์ ผู้เป็นสาวกของท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร เดินทางไปยังปาวานคร เมื่อไปถึงเห็นพระพุทธเจ้า ประทับอยู่ร่มไม้ใหญ่ จึงเข้าไปถวายบังคม พระ พุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมโปรด ปุกกุสะเกิดความเลื่อมใส ได้น้อมคู่ผ้าสิงคิวรรณ อันมีเนื้อละเอียด มีสีดั่งทองสิงคี ประณีต มีค่ามาก ถวายพระพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าโปรดให้นำผ้าผืนหนึ่งไปถวายพระอานนท์ ให้ถวายพระองค์เพียงผืนเดียว บรรยาย 7 :พระอานนท์เถระ เข้าไปในวิหาร ยืนเหนี่ยวกลอนประตูวิหาร ร้องไห้ คิดสังเวชตัวว่าอาภัพ อุตส่าห์ติดตามปฏิบัติพระพุทธเจ้า ประดุจเงาติดตามพระองค์ โดยมุ่งยึดเอาพระองค์เป็นนาถะ เพื่อทำความสิ้นทุกข์ แต่พระพุทธเจ้าก็จะเสด็จปรินิพพานในราตรีนี้แล้ว แต่ตนเองยังไม่บรรลุอรหันต์เลย บรรยาย 8 :สุภัททะ ปริพาชกขอเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะปรินิพพาน เพื่อถามความสงสัยที่มีอยู่ แต่พระอานนท์ทัดทานไว้ ว่าอย่าเลย เพราะพระพุทธเจ้าทรงลำบากพระกายหนัก อย่า เบียดเบียนท่านเลย แต่พระพุทธ เจ้าได้สดับเสียงของทั้งสองเจรจากัน จึงบอกให้พระ อานนท์ ให้สุภัททะ ปริพาชกเข้าเฝ้า เมื่อได้เข้าเฝ้าจึงทูลถามถึงครูทั้ง 6 ซึ่งเป็นเจ้าลัทธิ ซึ่งต่างอ้างว่าตนเป็นผู้วิเศษ จริงหรือ พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรมอริยมรรคมีองค์ 8 แก่ สุภัททะ ปริพาชก เมื่อพระองค์แสดงธรรมเสร็จ สุภัททะ ปริพาชก มีความเชื่อ เลื่อมใส และทูลขออุปสมบท พระพุทธเจ้าตรัสให้พระอานนท์เป็นผู้อุปสมบทให้ และ สุภัททะ ปริพาชก ได้ไปทำสมาธิ พิจารณาข้อธรรมะจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในคืนนั้น ก่อนที่ พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน บรรยาย 9 :ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงแสดงปัจฉิมโอวาทเป็นครั้งสุดท้าย ต่อจากนั้น ทรงทำสมาธิ เข้าฌาณ ตั้งแต่ปฐมฌาณ จนถึงจัตุตฌาณ กำลังเข้าสู่อรูปฌาณ พระองค์ก็เสด็จปรินิพพาน ในคืนวิสาขปุรณมี ก็บังเกิดมหัศจรรย์ แผ่นดินไหว กลองทิพย์ก็บันลือลั่น กึกก้อง เป็นมหาโกลาหล ท้าวสหัมบดีพรหม ท้าวโกสีย์สักกเทวราช พระอนุรุทธะเถระเจ้า และพระอานนท์เถระเจ้า ได้กล่าวสรรเสริญพระคุณ ของพระพุทธเจ้า เทพยดาทั้งหลาย รวมทั้งมหาชนเป็นจำนวนมาก เมื่อทราบข่าว ต่างก็นำสุคนธชาติมาสักการบูชามากมายสุดจะคณนา และต่างก็มุ่งหน้าไปมกุฏพันธเจดีย์ จัตุตฌาน อ่านว่า จัด-ตุ-ตะ-ฌาน คือ ฌานที่ 4 มี 2 องค์ คือ อุเบกขา / เอกัคตา อรูปฌาน อ่านว่า อะ-รูบ-ปะ-ชาน ฌานละเอียดและระดับฌานที่สูงสุด บรรยาย 10 : พระมหากัสสปะเถระเจ้า พาภิกษุสงฆ์เดินทางไปเมืองกุสินารา เพื่อเฝ้าพระพุทธ เจ้า เห็นอาชีวกผู้หนึ่ง เดินถือดอกมณฑากั้นศรีษะสวนทางมา นึกฉงนใจ เพราะดอกมณฑานี้ ไม่มีในโลกมุษย์ เป็นของทิพย์เทวโลก จะร่วงตกลงมาเฉพาะในเวลามีเหตุสำคัญ จึงถามอาชีวกจนได้ความว่า พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว เมื่อพระสานุศิษย์ทราบ บางองค์โศกเศร้า คร่ำครวญ บรรยาย 11 : มีภิกษุ ซึ่งบวชตอนแก่ ชื่อ สุภัททะ ลุกขึ้นกล่าวห้ามภิกษุที่โศกเศร้าว่า ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้ไปเลย ตอนนี้เราพ้นอำนาจ พระพุทธ เจ้าแล้ว กลับเป็นสิ่งดี เพราะเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ ย่อมจู้จี้ บังคับบัญชา ห้ามปรามเราต่างๆ นานา ว่าสิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร บัดนี้ พระ องค์ปรินิพพานแล้ว เราปรารถนาจะทำสิ่งใด ก็จะทำได้ตามใจชอบ ไม่มีใครบังคับบัญชาห้ามปรามแล้ว บรรยาย 12 :พระมหากัสสปะเจ้า ได้กล่าวธรรมกถา เล้าโลมภิกษุทั้งหลายให้ระงับดับความโศก แล้วรีบ พาพระสงฆ์บริวาร เดินทางไปเมืองกุสินารา ตรงไปยังมกุฏพันธเจดีย์ บรรยาย 13 :พระอานนท์เป็นพระองค์หนึ่ง ได้รับหน้าที่วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม แต่เนื่องในบรรดาพระ 500 รูปมีท่านเพียงองค์เดียวที่ยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ท่านจึงเร่งทำ ความเพียรอย่างหนัก แต่ยังไม่สำเร็จ เกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารถนาที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอนกายลง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น กำลังจะวางบนที่นอน ศรีษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งแปลกกว่าท่านอื่นๆ เพราะท่านสำเร็จในระหว่างอิริยาบถทั้ง 4 คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งใน 4 อย่าง คือ อิริยาบถยืน เดิน นั่ง หรือนอน บรรยาย 14 :หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ 3 เดือน การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำขึ้น ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ โดยพระมหากัสสปะเป็นประธาน มีพระเจ้าอชาติศัตรู เป็นผู้อุปัฏฐากในครั้งนี้ การสังคายนาครั้งนี้ เกิดขึ้นเพราะ พระสุภัททะ กล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยหลังพุทธปรินิพพานเพียง 7 วัน อุปัฏฐาก อ่านว่า อุ-ปัด-ถาก หมายถึง ผู้บำรุง/ผู้ดูแล สังคายนา อ่านว่า สัง-คา-ยะ-นา การประมวลและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เมือ่ได้มติรวมกันแล้วในเรื่องใด ก็จะสวดขึ้นพร้อมกัน บรรยาย 15 : โทณพราหมณ์ อัญเชิญกษัตริย์ทั้งหลายเข้าไปยังพระโรงสัณฐาคาร ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แล้วให้เปิดพระหีบทองน้อย ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ให้กษัตริย์ทั้งหลายพร้อมกันถวายอภิวาท โทณพราหมณ์เห็นกษัตริย์ทั้งหลายมัวแต่โศกศัลย์ จึงหยิบพระเขี้ยวแก้วข้างขวา เบื้องบน ซ่อนไว้ที่มวยผม แล้วจัดการตักตวงพระบรมสาลีริกธาตุ ด้วยทะนานทอง ถวายกษัตริย์ทั้ง 8 นคร พระนครละ 2 ทะนานเท่าๆ กันพอดี ทะนาน เครื่องตวงอย่างหนึ่ง สัณฐาคาร อ่านว่า สัน-ทา-คาร หมายถึง อาคาร/บ้านเรือน

Lecture 1 : At that time the Lord Buddha was sitting in the Mahawan Forest, near the city of Phaisali. He was very ill So he went to visit with his disciples. At that time, King Suddhodana suffer from ill but subsided with the spiritual therapy from the Buddha, from Ananda and Rahul, the Buddha preached a sermon Please let the Buddha's father attain be an arahant and God Suddhodana came to nirvana Lecture 2 : Queen Pajapati Gotami along with many princesses of the Sakyarawong family ...expressing a request Allowed the Lord Buddha to ordain 3 times, but did not allow later. All of them still haven't lost their intentions. slaughtered the hair of the Buddha Wearing a silk robe They came out of Phra Nakhon Kabilavastu. went to Vesali to ask for ordination Ananda asked three times for the queen and the monks, but he refused. When Ananda changed his approach to ask if the teachings that adhered to the Dharma and Discipline could be accomplished, the Buddha finally gave him the ordination. conditionally morality that must be followed which she accepted So she is first nun Lecture 3 : The people gathered together around the Kanthamapruek (mango tree) where the Lord Buddha He performed a miracle by using the cashews that I finished to the ground. watered with handwashing water It grew into a large mango tree, bearing fruit, both raw and ripe, for the people to gather and eat in large numbers. When it was afternoon, the Lord Buddha made a miracle and sat down in front of the mango tree garden. performed a miracle soaring in the air and then Niramit Buddha Niramit like one of the Lords show gestures to appear alternately with him is that he stood Buddha Niramit sitting he sat down The vision of the Buddha sat there, every posture alternated. Maybe the Buddha vision asked He replied He asked some questions, and the Buddha vision answered some. Finally, he performed a miracle causing streams of flames to erupt out of the body in pairs around the body, not mixing together, creating a beautiful light. is amazing to both gods and humans meeting See the miracle Buddha and when the Buddha had performed a miracle He preached the Dharma, please. Buddhist company meeting in that place At the end of the sermon, all the Buddhas, gods and humans had attained the Noble Eightfold Path. Lecture 4: After the Buddha performed miracle ascended to the Tavatimsa heaven Seated under the Parichat tree, Indra saw the Blessed One coming up, so he asked to go out and announce to the deities of all heavens to come and listen to the sermon. and when the angels had gathered together He did not see the Buddha's mother, so he asked where he was. Thao Sakka went up to Dusit heaven. Summon the Maya God come to see the Lord Buddha When the Lord Buddha saw his mother has arrived and stamped proclaimed the grace of great mother to appear in the Association and demonstrated virtue He favored the Buddha's mother. Finally, the Buddha's mother attained Sotapatti Fruition. and reincarnated as a god fulfilled His wish came to pay respect to the Buddha's mother Lecture 5 : The Lord Buddha descended from the Tavatimsa divine world Among the gods in ten thousand universes Appears that there are 3 divine stairs. The golden staircase is on the right side. The silver ladder is on the left. Glass staircase in the middle The foot of the stairs is near the city gate, Sangkasanakorn. The glass staircase is where the Lord Buddha descended. The golden staircase is where the deities have descended. The silver staircase is where the Brahma descended. public He kept guard in the shade of the Kanthamapruek (mango tree) and near the gates of Sangkasanakorn. when the Lord Buddha stood At the base of the head of the stairs, therefore, His Majesty performed the world of miracles to open the world. and above and below in ten directions together; at that instant all directions would be cleared. nothing obstructs The angels in heaven will see humans, and they will see the underworld, they will see hell, and humans will see angels in heaven, they will see the hellish beings, even the hellish beings will see them. humans throughout the angels in heaven nothing to hide The Buddha performed a miracle that opened the world along with emitting Chappannarangsi, the radiance of 6 things, is a great miracle. Figure 6: (Parinirvana) Pathom Buddhadhamma Lecture 1 : The Lord Buddha went into seclusion Rao Pa Rakkhitwan under the big sal tree There is Phraya Chang Pari Loeiyaka acting as a caretaker. There is a big monkey that sees Phraya Chang performing daily rituals. Have faith and therefore do that. Lecture 2: Phaya Maravaswati inspired Phra Anon to remain calm and did not make a request. May the Lord Buddha continue to live did not enter nirvana Even though the Buddha had made 3 visions of Obhas, the Buddha told Ananda to leave. Ananda then went out to meditate under the shade of a tree. which is not far away alone Lecture 3 : Phaya Maravati took the opportunity to meet the Lord Buddha. Praying for His Highness to enter Nirvana According to the promise that had been stated that He will enter Nirvana when there are four groups of Buddhas: monks, nuns, lay laypeople, lay laypeople, the Blessed One. So he told the devil that in three months he would pass away. Lecture 4 : When the Buddha and the monks went to Pavana to the mango orchard of Mr. Junta Kammarbutr who is the son of a goldsmith who invited me to have food for alms at their home By the alms food of Mr. Jun which consisted of legs and nutritious food with both Matawa pigs And this is the last alms round. before parinibbana which the Blessed One spoke to Mr. Junta To bring Matva afterwards to offer to Him alone and the rest to be buried, not to be offered to other monks Khadhaniya, pronounced as Kha-ta-ni-ya = Something to chew / Something to chew on Nutrition read as pho-cha-nee-ya-harn = food that should be consumed / food, ready-made food from various types of cereals Lecture 5 : As Buddha walks along the path The Buddha was thirsty. therefore called Phra Anon to fetch water for him to drink Ra Anon said that about 500 wagons had just crossed this river. As the wagon wheels grinded through every book, the water became very cloudy, and it should not have been drinking water. But the Lord Buddha still asked him to go and bring that water. When Phra Ananda brought his alms bowl to draw water in the river The water has become clear and clean. Lecture 6 : Pukkusa, son of the mall king The disciple of Alan Dabos, Kalam Kood, traveled to Pavanakorn. When he arrived he saw the Buddha. stamped in the shade of a large tree therefore went to pay homage to the Lord Buddha, preaching the Dharma Pukkusa became devout bowed to a pair of Singkiwan cloth fine-grained The color is like gold, exquisite, very valuable, offering to the Lord Buddha. and the Lord Buddha asked him to bring a piece of cloth to offer to Ananda to offer him only one piece Lecture 7 : Phra Anon Thera enter the temple Standing at the temple door latch, crying, thinking miserably that he was unlucky diligently following the Buddha's practice like a shadow following him By focusing on taking him as a nat to put an end to suffering But the Lord Buddha was about to pass away this evening. but he had not yet attained enlightenment. Lecture 8: Subhadtha Paripachaka asked the Lord Buddha before his passing away. to ask existing doubts But Ananda objected that he should not, because the Lord Buddha was in great pain, so he should not oppress him at all, but the Lord Buddha heard the voices of both of them negotiating and told Ananda to let Subhadda break into his presence. When he had an audience, he asked about the 6 teachers who were the leaders of the cult. Which each claimed that he was a miracle, is it true that the Lord Buddha taught the Noble Eightfold Path to Subhadha Paripachaka? The Buddha told Ananda to be the ordination for him and Subhadtha Paripachaka went to meditate and contemplate the Dharma until he became an arahant that night before the Buddha passed away. Lecture 9 : Before the Lord Buddha passed away He gave his final sermon for the last time. After that, he meditated and meditated since the beginning. until four entering the idol He passed away at nirvana. On the night of Visakhapuram Then there was a miracle, an earthquake, and the divine drums blared loudly and loudly, causing great chaos. Thao Shambadi Phrom Thao Kosi Sak Thewarat Phra Anuruddha Thera and Phra Anon Therachao said praise of the Buddha gods Including a large number of public upon hearing the news They all brought in countless amounts of fragrance to worship. and each headed towards Makutpantha Chedi Fourth Jhana, read Jad-tu-ta-jhana, is the 4th jhana, which has 2 bodies: Upekkha / Ekakata. Arupjhana is read as A-rub-pa-chan. Refinement and the highest level of meditation Lecture 10 : Phra Maha Kassapa Therachao Take the monks to travel to Kusinara. in order to see the Buddha Walks holding the Monta flower blocking her head in the opposite direction. not in the human world belonging to the divine world will fall down only when there is an important event So he asked the occupation and got that Lord Buddha passed away When the disciple knew Some mourned, mourned, Lecture 11 : A monk, who was ordained in his old age, named Subhadda, stood up and told the sorrowing monks, "Don't weep. Now that we are out of the power of the Buddha, it's a good thing. For while He was still alive, he fussed, commanded, and forbade us in many ways, saying that this should be This should not be. Now that the Lord has passed away. what do we wish to do I can do as I like. No one has commanded and forbidden it. Lecture 12 : Phra Maha Kassapachao said the dharma Soothing the monks to alleviate their sorrows, and hurriedly took the monks and their attendants Travel to Kushinagar Go straight to Makutphant Chedi Lecture 13: Phra Anon is one received the duty to confer on the Sutra and the Abhidhamma But among the 500 monks, there was only one of them who had not attained arhatship. So he hastened hard perseverance but still not successful exhaustion Desiring to rest for a moment, he reclined as his feet left the ground. going to lay on the bed head about to hit the pillow He became an Arahat which is strange than others Because he succeeded in all 4 postures, i.e. not in any of the 4 postures: standing, walking, sitting, or lying down. Lecture 14: Three months after the Lord Buddha's passing away, the first council was performed at Tham Sattabankuha, Rajagaha, with Phra Maha Kassapa as the chairman. There is an enemy god as a preceptor this time this reconciliation It happened because Phra Suphattha insulted the Dhamma and Vinaya only 7 days after the Buddha's death. Upatthaka, read as U-pad-chak, means caretaker/caregiver. Sangkhayana, read as Sang-ka-ya-na, the collection and classification of the Buddha's teachings. When a joint resolution has been reached on any matter will pray together Lecture 15 : The Brahman Thona summoned the kings into the sanctuary that enshrines the relics of the Lord Buddha Then open the little gold chest containing the Buddha's relics. Let all the kings bow together The Brahman Thon saw the kings in sorrow. therefore took the Buddha image on the right side above and hid it in the hair bun and managed to collect the relics of the Lord Buddha with gold towers and present them to the kings of all 8 cities, 2 towers per city, with equal length Thanan, a measuring device Santhakarn, read as San-tha-kar, means building/house.

ต้นโพธิ์อธิษฐาน Golden Bodhi tree

ต้นโพธิ์อธิษฐานทองคำ ที่ถูกโอบล้อมด้วยภาพพระพุทธประวัติทั้ง 6 ภาพ และเมื่อพ้นจากดวงตาพระอินทร์เข้าไปถึงส่วนของเพดานวิหารชั้นในก็จะพบกับจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ประกอบไปด้วยดวงดาวต่างๆมากมาย ณ ศูนย์กลางของจักรวาลนั้นเปรียบได้กับบารมีแห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้เปล่งรัศมีแห่งธรรม เป็นประกายเจิดจรัสไปทั่วทุกชั้นฟ้าไม่เพียงแต่โลกมนุษย์เท่านั้น ธรรมของพระพุทธองค์ยังแผ่ขยายไปทั่วทั้งจักรวาล ไม่มีที่สิ้นสุด โพธิ์อธิษฐาน กุศลจิตดลบันดาล สัมฤทธิ์ผลประการเทอญ นำเหรียญขึ้นมา ตั้งจิตอธิษฐานขอพรและสิริมงคลจากต้นโพธิ์อธิษฐาน วางเหรียญตั้งฉากปล่อยให้เหรียญกลิ้งลงสู่บ่อบุญ ปรากฏแสงอัศจรรย์เป็นแสงแห่งโพธิ์อธิษฐาน สีแดง – ดวงแก้วสีแดงเจิดจรัสแสงเรืองรอง โชคลาภสิริมงคลสูงสุดจักบังเกิดผล ทันทีทันใดดังโพธิ์นิมิต สีทอง – ดวงแก้วสีทองอร่ามเหลืองอำไพ โชคลาภสิริมงคลจักบังเกิดด้วยบุญบารมี ไม่ช้าไม่นาน สีขาว – ดวงแก้วสีขาวสงบสว่างกระจ่างแจ้ง โชคลาภสิริมงคลอดทนรอ จักบังเกิดด้วยสติปัญญา

In the hall of the first floor also stands a golden Bodhi tree surrounded by the 6 paintings of Buddha’s lives. As you walk into the inner section of the vihara, you will find yourself standing in the middle of the vast universe with millions of stars around you. This signifies that the teachings of Buddha not only blessed the human world but shined into the entire universe.

ระเบียงศิลป์ Art balcony

ผนังโค้งขนาดยาวฝั่งหนึ่งเป็นงานจิตรกรรมที่เล่าถึงประวัติความเป็นมาของศิลปะตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนถึงปัจจุบันส่วนอีกฝั่งหนึ่งจะเป็นงานที่เหล่าศิลปินพร้อมใจกันใช้พู่กันเขียนสีเพื่อเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นตลอดการก่อสร้างวิหารเทพวิทยาคมแห่งนี้ที่ตนเองได้ประสบพบมา ซึ่งเกิดจากความรักและความผูกพันที่ได้ใช้ชีวิตและทำงานเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา ตลอดระยะเวลาที่อยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นเวลานับเดือนนับปี โดยจะมีรูปของพวกเขาประดับลงไปเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงานจิตรกรรมระเบียงศิลป์นี้ด้วยในส่วนของพื้นหลังและเพดาน ที่เป็นภาพมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล ประกอบไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งที่มีอยู่จริงและที่มีอยู่เฉพาะในเทพนิยายนั้น ก็หมายความว่า ณ วิหารเทพวิทยาคมแห่งนี้ จะเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาต่อไป เปรียบดั่งท้องสมุทร ที่ซึ่งเป็นสถานที่ที่สงบร่มเย็น อุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ทั้งหลาย และปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง

A long curved wall on one side is a painting that tells the history of art from the beginning to the present, while on the other side is a work where artists use brushes to tell the story that happened throughout the procession. Build this theological temple that you have experienced. which is born out of love and bonding that has lived and worked for the preservation of Buddhism Throughout the time spent at this place for months and years. There will be pictures of them adorned as part of this Rabiangart painting in the background and ceiling. which is a picture of the vast ocean Composed of various aquatic animals both real and existing only in that fairy tale It means that at this divine temple will continue to be the center of Buddhism compared to the ocean which is a peaceful, fertile place where all living beings live and safe from all dangers

จอโทรทัศน์แสดงประวัติการก่อสร้าง / รายนามผู้ร่วมลงมือก่อสร้าง / รายนามผู้ทำบุญ
TV screen showing construction history / Names of construction partners / Names of donors

บริเวณ จอโทรทัศน์ทั้ง 3 จอ โดยจอกลางจะแสดงประวัติการก่อสร้างวิหารเทพวิทยาคมจอทางด้านขวาแสดงรายชื่อทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง และจอทางซ้ายแสดงรายชื่อผู้ร่วมทำบุญและบริจาคทรัพย์สิน รวมไปถึงปัจจัยต่างๆอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการก่อสร้างวิหารเทพวิทยาคมแห่งนี้ ซึ่งนับว่าทุกท่านได้ร่วมทำบุญใหญ่ โดยการช่วยจรรโลงและสืบทอดพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคงต่อไป จึงขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยรวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย อำนาจพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และสังฆคุณ จงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบพบเจอแต่ความสุขความเจริญ สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีอายุยืนนาน ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงาน อุดมไปด้วยลาภยศสรรเสริญและสมปรารถนาในสิ่งที่ตั้งความปรารถนาไว้ทุกประการเทอญ

All 3 television screens, with the middle screen showing the history of the construction of the Thep Wittayakom Temple, and the right screen listing everyone who participated in the construction. and the screen on the left shows a list of people who make merit and donate assets Including various factors that are beneficial in the construction of this Divine Witthaya Temple which counts that everyone has made a big merit By helping to prevail and inherit Buddhism to continue to exist steadily So I would like to thank all of you. ask for the power of Phra Sri Rattanatrai, including all sacred things The power of the Buddha, the Dharma and the Sangha, inspire everyone to experience happiness and prosperity. good health, longevity, success in work full of fortune, rank, praise, and all wishes fulfilled

ทางเดินลาดขึ้นสู่ชั้นที่ 2 
The walkway to the 2nd floor.

บริเวณทางเดินวนขึ้นสู่ชั้นที่ 2 ซึ่งปากทางจะมีภาพจิตรกรรมเขียนสีเป็นภาพหมู่ชนถือดอกบัวบูชาพระรัตนตรัยกำลังเดินขึ้น สื่อความหมายว่าการเดินขึ้นสู่ชั้นที่ 2 นี้ก็เปรียบเสมือนการเดินทางจากโลกมนุษย์ไปสู่ดินแดนสุขาวดีบนสรวงสวรรค์ ฉะนั้น พุทธศาสนิกชนที่ปรารถนาจะขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์จะต้องมีความเคารพศรัทธาตั้งจิตภาวนาระลึกถึงพระรัตนตรัยอันประกอบไปด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รัศมีดอกบัวแต่ละดอก ที่ปรากฏ มีขนาดใหญ่เล็กต่างกันสุดแต่บุญบารมีของแต่ละคนนั้นสร้างไว้ และบริเวณทางเดินลาดนี้ยังมีจุดเติมบุญอยู่ถึง 9 จุด ซึ่งท่านสาธุชนจะได้รับการ์ดซึ่งมีลวดลายสวยงามที่บันทึกบทสวดมนต์อันเป็นสิริมงคลทั้ง 9 บท นอกจากนี้ ณ จุดพักกลางทาง ท่านสามารถชมความสวยงามภายในวิหารชั้นที่ 1 จากมุมสูงได้อีกด้วย สถานีบุญทั้ง 9 สถานี โดยใช้ “บัตรเติมบุญ” สถานีที่ 1 ตั้งจิตเป็นสมาธิ น้อมจิตพนมมือ ประดุจ บัวบูชาพระรัตนตรัย ประกอบด้วยบทสวด ชินบัญชร ซึ่งเป็นบทสวดที่อัญเชิญศักดิ์สิทธิ์จากทั่วทุกสารทิศมาสถิตอยู่ในตัวเรา เพื่อช่วยปกป้องคุ้มครองเราให้ปราศจากภยันอันตรายทั้งปวง สถานีที่2 สายธารแห่งปัญญา เปรียบดังมหาทานบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงเผยแผ่หลักธรรมอันยิ่งใหญ่อันเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นให้แก่พุทธศาสนิกชน การน้อมนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเข้ามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ทำให้สายธารแห่งปัญญาไม่มีที่สิ้นสุด ประกอบบทสวด พาหุง ซึ่งเป็นคาถาแห่งชัยชนะ ๘ ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีเหนือมนุษย์และอมนุษย์ด้วยอานุภาพแห่งธรรม ตามพุทธประวัติเมื่อครั้งเสด็จตรัสรู้ มีเหล่าพญามารมาขัดขวาง ทรงตั้งจิตอธิษฐานด้วยอานุภาพแห่งมหาทานบารมีที่ได้ทรงกระทำมาทุกชาติ เกิดเป็นมหาอุทกธาร หลั่งล้นท่วมท้นเหล่าพญามารทั้งหลาย สถานีที่ 3 เดินทางสู่ ประตูพระธรรม เพื่อได้พบความสุขที่แท้จริง คือความสุขด้วยปัญญา เป็นความสุขจากการหลุดพ้นกิเลสทั้งปวง ประตูพระธรรมคือ หนทางนำไปสู่ความสุขด้วยหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ประกอบบทสวด โพชฌงค์ ตามพุทธประวัติเล่าว่า ครั้งหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหากัสสะปะที่กำลังอาพาธ และทรงแสดงธรรมโพชฌงค์ พระมหากัสสัปปะได้ฟังก็หายจากอาพาธ ต่อมาได้ทรงแสดงธรรมนี้แก่พระโมคคัลลานะซึ่งอาพาธ หลังจากนั้น พระโมคคัลลานะก็หายอาพาธเช่นเดียวกัน ในที่สุด เมื่อสัมมาสัมพุทธเจ้าประชวร ได้ตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงธรรมโพชฌงค์ถวาย พระองค์ก็ทรงหายประชวร ได้ตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงธรรมโพชฌงค์ถวาย พระองค์ก็ทรงหายประชวร สถานีที่ 4 ระหว่างการเดินปฏิบัติสมาธิภาวนา “พุทโธ พุทโธ พุทโธ” กำหนดเป็น ภาพปริศนาธรรม น้อมจิตระลึกถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยความรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาอันบริสุทธิ์ ทำจิตใจให้เป็นสมาธิ เกิดพลังแห่งกุศลจิตบันดาลให้เหตุร้ายกลายเป็นดีทวีคูณ ประกอบบทสวด ยันทุน อันเป็นคาถาลางขจัดปัดเป่าเหตุลางชั่วร้าย และอวมงคลให้พินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า สถานีที่ 5 เมื่อน้อมนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นหลักปฏิบัติและระลึกถึงคุณของพระองค์ด้วยจิตอันบริสุทธิ์ นับได้ว่าเป็น มัจฉาสุขสวัสดิ์ แห่งพระพุทธองค์ ซึ่งจะได้ช่วยกันสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่เป็นแสงสว่างนำทางแก่หมู่ชนทั้งหลายให้ได้พบกับความสุขสวัสดีอันเกิดจาความสุขสงบด้วยพระธรรมคำสั่งสอนของผู้มีพระภาคเจ้า ประกอบบทสวด องคุลีมาลปริตร อันเป็นคาถาสวดเพื่อให้เกิดความสุขสวัสดีทั้งตนเอง ครอบครัว และเหล่าบริวารทั้งหลาย จุดพักชมวิว (ชานพัก) ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวของเหล่าทวยเทพได้ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นสันตดุสิตเพื่อไปอัญเชิญพระโพธิสัตว์ ชื่อ สันดุสิตเทวบุตร ลงมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็คือ เจ้าชายสิทธัตธะ และยังเป็นจุดพักชมวิวที่สามารถมองเห็นห้องโถงชั้น 1 ภาพพุทธประวัติทั้ง 6 ภาพได้อย่างครบถ้วน สถานีที่ 6 หมู่ธรรมทายาทที่สำคัญของสัมมาสัมพุทธเจ้าประกอบด้วยอริยสงค์ ผู้เป็นเลิศในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะแก่สาธุชนทังปวง การ สักการะอริยสงฆ์ ดังเช่น พระสีวลี พุทธสาลกที่สมบูรณ์ด้วยลาภสักการะทั้งปวง ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเลิศในทาง “ผู้มีลาภมาก” จึงเป็นสังฆคุณในทางลาภสักการะสมปรารถนา ประกอบบทสวด สีวลี ซึ่งเป็นคาถาที่ทำให้คุณในทางความเจริญรุ่งเรืองด้วยทรัพย์สินเงินทองจากการค้าขายและเงินทองไหลมาเทมา สถานีที่ 7 ร่มโพธิ์คือที่พักพิงแก่สัตว์น้อยใหญ่ ดุจเดียวกับร่มธรรมอันเป็น โพธิประสงค์ ของพระสัมมาสัมพุธเจ้า เพื่อเป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจแก่เหล่าสาธุชนให้หลุดพ้นจากความทุกข์และกิเลสทั้งปวง ประกอบบทสวด ฏะเตสิ ซึ่งมีคุณในทางเป็นเครื่องกันภัยด้วยสติระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ประสงค์ร้ายมิอาจกระทำอันตรายใดๆ สถานที่ 8 พุทธรักษา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ธรรมะแห่งพระพุทธองค์จะช่วยปกปักรักษาผู้ประพฤติธรรมให้แคล้วคลาดจกภยันตรายทั้งปวงด้วยสติปัญญา ประกอบบทสวด อิติปิโส (ย้อนหลัง) ซึ่งมีอานุภาพขจัดสิ่งชั่วร้ายใดๆ ที่จะมาแผ้วพานให้มลายหายไป สถานีที่ 9 ถึงจุดหมาย สู่แดนสุขาวดี ดินแดนแห่งความสุขสงบทั้งกายวาจา และใจ น้อมจิตรับพรอันประเสริฐจากทวยเทพเทวดาบนสรวงสวรรค์ ซึ่งพร้อมใจกันมาเป็นประจักษ์พยานแห่งความเพียรของการตั้งมั่นในจิตภาวนานับแต่ย่างก้าวแรกจนถึงปัจจุบันขณะ “จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด” ประกอบบทสวด แผ่เมตตา เพื่อแผ่บุญกุศลที่ได้กระทำมาแก่ญาติพี่น้องและเจ้ากรรมนายเวรให้พ้นจากความทุกข์และประสบแต่ความสุขด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นเทอญ

Around the corridor winding up to the second floor, at the entrance, there will be a painting depicting a group of people holding lotus flowers worshiping the Triple Gems walking up. It conveys the meaning that walking up to the second level is like traveling from the human world to the land of Sukhavati in Heaven. Three jewels consisting of the Buddha, the Dhamma, the Sangha, and each lotus flower that appears is large and small, but the merit and merit of each person has been created. And along this slope, there are 9 merit-filling points where the layperson will receive a card with a beautiful pattern that records all 9 auspicious prayers. You can also admire the beauty of the 1st floor sanctuary from a high angle. All 9 merit stations using the "Term Bun Card"

bottom of page