top of page

ประวัติหมู่บ้าน

พ.ศ.๒๔๒๕

ประมาณ พ.ศ.๒๔๒๕ ขณะนั้นยังเป็นป่าดงหนาทึบ สัตว์ต่างๆ เช่น นกพันธุ์ต่างๆ ไก่ป่า หมูป่า รวมทั้งเสือหมี ช้างและสัตว์ที่ดุร้ายต่างๆ ยังมีอย่างชุกชุมอาชีพของชาวบ้านคือการทำไร่เลื่อนลอย ปลูกพืชล้มลุก เช่นพริก มะเขือ แตงโม แตงไทย ข้าวโพด ข้าว ข้าวฟ่าง ถั่วงา และทำนา เป็นต้น สภาพอากาศ ฤดูร้อนจะร้อนจัด อากาศหนาวจะหนาวจัด ฤดูฝนฝนจะตกน้อย

jessy 13.jpg

การก่อตั้งหมู่บ้าน  ตาคำ ยายมี ๒ สามีภรรยา ภูมิลำเนาอยู่บ้านกุดพิมาน เป็นคนแรกที่มาทำไร่เลื่อยลอย ณ หมู่บ้านแห่งนี้บนเนื้อที่ประมาณแค่ ๒-๓ งาน ทั้งสองเดินทางมาตอนเช้า และจะกลับไปยังหมู่บ้านกุดพิมานในตอนบ่ายๆ

ทั้งสองสามีภรรยาทำอย่างนี้เป็นเวลาประมาณ ๔-๕ ปี

 ประมาณ พ.ศ.๒๔๓๐ ตาคำ ยายมี จึงได้อพยพมาอยู่ ณ ที่แห่งนี้อย่างถาวร ในการอพยพครั้งนั้นมีลูกหลานอพยพติดตามมาด้วยประมาณแค่ ๔-๕ ครอบครัว และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านไร่ยายมีหรดีกุดพิมาน” ต่อมาคำสร้อยต่อท้ายหรดีกุดพิมานได้หมายไปตามกาลเวลา คงเหลือเพียงเฉพาะคำว่า “บ้านไร่” เท่านั้น

พ.ศ.๒๔๓๖ ประชากรเพิ่มขึ้นรวมประมาณ ๒๐ ครอบครัว ต่างลงความเห็นพ้องกันว่าควรปลูกสร้างสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยมีพระอาจารย์เชื่อม  วิชโร เป็นเจ้าสำนัก

ปัจจุบันชาวบ้านไร่ ส่วนหนึ่งทำเกษตรกรรม ปลูกข้าว ทำไร่มัน ไร่ข้าวโพด ส่วนหนึ่งค้าขายอยู่บริเวณร้านค้าทางเข้าวัด ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร เครื่องดื่ม ร้านของฝาก ของที่ระลึก อาทิ พระเครื่อง ป้ายมงคล ขนมนางเล็ด (ข้าวแต๋น)

ส่วนเด็กในชุมชนก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนบ้านไร่ ที่หลวงพ่อคูณได้สร้างเอาไว้

bottom of page