top of page
DSC06436.JPG

วิหารเทพวิทยาคม ชั้นที่ 2

The Second Floor of Thep Witthayakhom Vihara

บริเวณชั้นที่ 2 ของวิหารเทพวิทยาคม เมื่อท่านเดินวนตามเส้นทางลาดเพื่อที่จะขึ้นสู่ชั้นที่ 2 ก้าวแรกของท่านจะได้สัมผัสกับบรรยากาศเหมือนเดินทางขึ้นสู่สวรรค์ด้วยบารมีบุญที่ท่านสร้างไว้ ลมเย็นที่พัดมาต้องร่างกายท่ามกลางบรรยากาศเมฆที่ลอยในท้องฟ้า สื่อได้ถึงการที่ตั้งจิตอธิษฐานยึดมั่นในความดีมีทาน ศีล ภาวนา ละทิ้งสิ่งชั่วร้ายให้ตกอยู่ภายนอกวิหาร เท่ากับว่าขณะนี้ท่านก็คือชาวสวรรค์ในร่างมนุษย์ เป็นมนุษย์ชั้นดีที่เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ลงย่อมมีสุคติสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นเป็นที่ไปเป็นอย่างน้อย โดยภาพรวมของวิหารเทพวิทยาคมในชั้นที่ 2 นี้ บุญบารมีที่สร้างไว้ เป็นที่แสดงถึงพระวินัยปิฎก ได้แก่พระวินัยต่างๆที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานไว้แก่สาวกของพระองค์ เป็นพระวินัยบัญญัติที่พระสงฆ์และแม้แต่พุทธศาสนิกชนทุกคนพึงละเว้นและปฏิบัติตาม เพื่อเป็นเครื่องฝึกจิตใจชั้นเลิศของเหล่าผู้ประสงค์จะไปในทางดีอย่างแท้จริง ภายในโถงชั้นวินัยปิฎกประกอบไปด้วยห้องนิทรรศการพระราชาผู้ทรงธรรม ซึ่งกล่าวถึงธรรม และการปฏิบัติพระองค์ในฐานะพุทธมามกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างของฆราวาสที่สามารถรักษา และปฏิบัติตามพระวินัยของพระพุทธเจ้าได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงนิทรรศการเกี่ยวกับวิวัฒนาการของศาสนาพุทธ ภายหลังที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน แล้วได้แยกออกเป็นนิกาย(ศาสนา) ความเชื่อ และการถือปฏิบัติต่างๆกันไป มีทั้ง เถรวาท มหายาน นิกายเซน วัชรญาณ สุวรรณภูมิ ฯลฯ มีเรื่องราวประวัติความเป็นมาลักษณะความเหมือนและความต่าง รวมทั้งเป้าหมายสูงสุดของแต่ละนิกาย(ศาสนา) นอกจากนี้ ยังสามารถพักกายพักใจที่ห้องสมาธิ กลางโถงชั้นที่ 2 ของวิหารเทพวิทยาคม ซึ่งมีไว้สำหรับให้ท่านเข้ามาปฏิบัติสมาธิภาวนา และศาสนิกชนทุกศาสนา สามารถเข้ามาปฏิบัติศาสนกิจเพื่อก้าวสู่สัจธรรมและจุดมุ่งหมายสูงสุดของแต่ละศาสนาโดยไม่มีข้อจำกัด

The 2nd floor area of Thep Wittayakom Temple As you walk around the sloping path to ascend to the 2nd floor, your first step will experience the atmosphere of ascending to heaven with the merit that you have created. A cold wind blows against the body amid the atmosphere of clouds floating in the sky. It can convey the intention of praying, adhering to goodness, having alms, precepts, praying, abandoning evil things to fall outside the temple. This means that you are now a heavenly person in human form. He is a good human being who, when the body breaks down and destroys the aggregates, at least has the 6 levels of heaven. The overview of the Thep Wittayakom Temple on the 2nd floor is the merit created. It represents the Vinaya Piṭaka. These include the various disciplines that the Lord Buddha gave to his disciples. It is a disciplinary law that all monks and even Buddhists should ignore and follow. To be an excellent mental training tool for those who truly wish to be good. Inside the hall on the Vinaya Pitok floor, there is an exhibition room for the Righteous King. which speaks of dharma and his treatment as a Buddha image of His Majesty King Bhumibol Adulyadej, the ninth Thai monarch of the Chakri dynasty He was an example of a layman who could heal and follow the discipline of the Lord Buddha very well including an exhibition about the evolution of Buddhism after the Lord Buddha passed away Then split into sects (religions), beliefs and practices, including Theravada, Mahayana, Zen, Vajrayana, Suvarnabhumi, etc. There are stories, history, similarities and differences. including the ultimate goal of each sect (religion) You can also rest your body and mind in the meditation room. In the middle of the 2nd floor hall of Thep Wittayakom Temple which is intended for you to practice meditation and all religious people Able to come to practice religion to step into the truth and the ultimate goal of each religion without limitation.

พุทธพจน์  (ก่อนเข้าสู่พุทธศาสนาแต่ละนิกาย)

Buddha's word 

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอแลมีชาติต่าง ๆ กัน มีโคตรต่าง ๆ กัน ออกบวชในพระธรรมวินัยนี้ประพฤติพรรมจรรย์อยู่ ย่อมมีชื่อว่าเป็นสมณศากยบุตรโดยฐานะเสมอกัน มีตถาคตเป็นบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี แม่น้ำจันทรภาคา แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา เมื่อไหลสู่มหาสมุทรแล้วย่อมเสมอกันหมด ไม่อาจแบ่งได้ว่า นั้นเป็นแม่น้ำนั้น” พุทธพจน์ พระพุทธศาสนา BUDDHISM พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มุ่งหมายให้ผู้ศึกษาปฏิบัติเกิดปัญญา หรือบรรลุความเป็น “พุทธะ” คือเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้รู้ คือ รู้ว่า อะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อะไรเป็นความดับทุกข์ อะไรเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ผู้ตื่น คือตื่นจากอวิชชา ความไม่รู้จริง อันเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งปวง ผู้เบิกบาน คือมีจิตบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง สงบ เย็น หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมคำสอนเปรียบประดุจประทีปส่องทางแห่งปัญญา ซึ่งผู้ใดปฏิบัติ ผู้นั้นจะเห็นแจ้งถึงความเป็น “พุทธะ” ด้วยตนเอง สัญลักษณ์ของนิกาย อ่านว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง แปลว่า นิพพาน เป็นสุขยิ่ง Nibbhana is the highest Bliss Timeline เส้นทางพระพุทธศาสนา 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะ โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งแคว้นสักกะ ประสูติที่ลุมพินีวัน หลังประสูติแล้ว 7 วัน พระพุทธมารดาเสด็จสวรรคต 51 ปีก่อนพุทธศักราช เจ้าชายสิทธัตถะ พระชนมายุ 29 พรรษา เสด็จออกผนวช ที่อโนมานที 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันเพ็ญวิสาขปุรณมี เจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุ 35 พรรษา ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มหาโพธิพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบัน คือ พุทธคยา) จากนั้น 2 เดือน ในวันเพ็ญอาสาฬหปุรณมี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนาแก่เบญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี 1 ปีก่อนพุทธศักราช ในวันเพ็ญวิสาขปุรณมี หลังจากบำเพ็ญพุทธกิจ 45 พรรษา พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 80 พรรษา เสด็จปรินิพพาน ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา พระพุทธปัจฉิมวาจา “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา จงทำกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท” 3 เดือนหลังพุทธปรินิพาน (9 เดือนก่อนพุทธศักราช) สังคายนาครั้งที่ 1 เริ่มหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพาน 3 เดือน ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ โดยที่ประชุมพระอรหันต์ 500 รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ใช้เวลา 7 เดือน โดยพระเจ้าอชาตศัตรูทรงอุปถัมถ์ พ.ศ.100 สังคายนาครั้งที่ 2 ณ วาลิการาม เมืองเวสาลี โดยที่ประชุมพระอรหันต์ 700 รูป ใช้เวลา 8 เดือน โดยพระเจ้ากาลาโศกราชทรงอุปถัมภ์ หลังจากนั้น พระสงฆ์มีความเห็นไม่ตรงกันในการปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติ และข้อปฏิบัติปลีกย่อย พระสงฆ์ฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของพระเถระเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 1 อีกฝ่ายปฏิบัติตามคำสอนของอาจารย์ตน ฝ่ายแรก เรียกว่า เถรวาท หรือทักษิณนิกาย ฝ่ายหลัง เรียก อาจารยวาท มหายาน หรืออุตรนิกาย พุทธศตวรรษที่ 2 พระเจ้าอโศกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสถูปเพื่อบรรจุสารีริกธาตุของพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ณ วิหารนาลันทา ซึ่งได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยนาลันทาในปลายพุทธศตวรรษที่ 9 ระยะแรกมีการเรียนการสอนพระสูตรและพระวินัย นาลันทาได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าหรรษวรรธนะ (พ.ศ. 1149-1190) ต่อมาในสมัยราชวงศ์ปาละ นาลันทาเจริญสูงสุด ได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยาน พ.ศ. 235 สังคายนาครั้งที่ 3 ณ อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร โดยที่ประชุมพระอรหันต์ 1000 รูป มี พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน ใช้เวลา 9 เดือน โดยพระเจ้าอโศกทรงอุปถัมภ์ หลังการสังคายนา มีการส่งพระธรรมทูต 9 สายไปประกาศพระศาสนาในแดนห่างไกล สายที่ 1 พระมัชฌันติกะ ไปกัสมีระ-คันธารรัฐ สายที่ 2 พระมหาเทวะ ไปมหิงสกมณฑล สายที่ 3 พระรักขิตะ ไปวนวาสี สายที่ 4 พระโยนกธรรมรักขิต ไป อปรันตกะ สายที่ 5 พระมหาธรรมรักขิต ไป มหารัฐ สายที่ 6 พระมหารักขิต ไปโยนกรัฐ สายที่ 7 พระมัชฌิมะ ไป เทศภาคแห่งหิมวันต์ สายที่ 8 พระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ สายที่ 9 พระมหินทะ ไป ลังกาทวีป พ.ศ.236 พระพุทธศาสนาตั้งมั่นในลังกาทวีป ในสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ (พ.ศ.236-276) ทรงนับถือและอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา และสร้างมหาวิหาร ที่เป็นศูนย์กลางใหญ่ของพระพุทธศาสนา เถรวาทสืบมา ในปีนั้น พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงอุปถัมภ์การสังคายนา ครั้งที่ 4 ตำนานกล่าวว่า พระสงค์ 68,000 รูปมาประชุมกัน มีพระมหินทเถระเป็นประธานและผู้ถาม ใช้เวลา 10 เดือน พ.ศ.383-408 พญามิลินท์ หรือ Menander ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองในดินแดนอินเดีย อัฟกานิสถานตอนเหนือ และปากีสถาน ประมาณ พ.ศ. 500 เกิดพระพุทธรูปศิลปะคันธาระแบบกรีก ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปที่สืบมาจนปัจจุบัน ประมาณพ.ศ. 400-500 มีการแกะสลักภูเขาวาดภาพในหมู่ถ้ำอชันตา ถือเป็นหลักฐานที่แสดงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในอินเดีย ช่วงแรกมีการแกะสลักถ้ำ 6 แห่ง เป็นของพระพุทธศาสนาเถรวาท (เถรวาท) ได้แก่ถ้ำที่ 8,9,10,12,13 และ 30 จากนั้นงานแกะสลักถ้ำหยุดไป และเริ่มต้นอีกครั้งเมื่อราว พ.ศ.1000 พ.ศ. 438 ในสมัยพระเจ้าฮั่น-วู่ตี่ เริ่มมีกองเกวียนขนส่งไหมไปยังเปอร์เซีย ผ่านเส้นทางสายไหมที่เชื่อมเมืองฉางอานกับโรม ยาว 6,500 กิโลเมตร พ.ศ. 608 จีนรับพระพุทธศาสนาสู่ประเทศอย่างเป็นทางการในสมัยพระจักรพรรดิมิ่งตี่ แห่งราชวงศ์ฮั่น ทรงส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดีย ณ เมืองโขตาน (Khotan) (ซึ่งสมัยนั้นอยู่ในประเทศอินเดีย แต่ปัจจุบันเป็นของจีน) หลังจากนั้น 2 ปี คณะทูตกลับมาพร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปะมาตังคะ และพระธรรมรักษะ รวมทั้งพระธรรมคัมภีร์จำนวนหนึ่ง พระภิกษุ 2 รูปนี้ได้พำนักที่วัดม้าขาวในเมืองลกเอี๋ยงหรือโล่หยาง (Lo-yang) และได้แปลพระคัมภีร์เป็นภาษาจีนหลายคัมภีร์ พ.ศ. 763-823 (ยุคสามก๊ก) * ปีพ.ศ. 823 วุยก๊ก มีชัยชนะ รวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว พระพุทธศาสนาเจริญเหนือลัทธิขงจื้อ ขณะเดียวกันลัทธิเต๋าก็รุ่งเรืองด้วย * ยุคสามก๊ก เป็นยุคที่บ้านเมืองระส่ำระสาย เกิดเป็น 3 ก๊ก สู้รบกัน ได้แก่ วุยก๊ก มีโจโฉเป็นแม่ทัพ จกก๊ก มีเล่าปี่เป็นแม่ทัพ และง่อก๊ก มีซุ่นกวนเป็นแม่ทัพ พ.ศ. 945 หลวงจีนฟาเหียน (Fa-Hsien) ได้จาริกแสวงบุญจากฉางอาน (Ch’ang-An) สู่ประเทศอินเดีย และพำนักอยู่ในอินเดีย รวมเวลาทั้งสิ้น 15 ปี หลวงจีนฟาเหียนได้นำคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และพระบรมสารีริกธาตุกลับมาด้วย ท่านได้แปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและเขียนจดหมายเหตุเรื่องการเดินทางในครั้งนี้ไว้ด้วย พ.ศ. 965 พระพุทธโฆสาจารย์ ได้เดินทางจากอินเดียไปลังกาทวีปเพื่อแปลอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี แล้วนำกลับมายังชมพูทวีป ท่านยังได้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ซึ่งถือเป็นคัมภีร์สำคัญในพระพุทธศาสนาเถรวาท พ.ศ. 1150 อารยธรรมทวารวดีของชนชาติมอญ รุ่งเรืองในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เมืองหลวงอยู่ที่นครปฐม ได้รับวัฒนธรรมจากชมพูทวีป รวมทั้งพระพุทธศาสนา จากนั้นเผยแพร่ไปในเขมร พม่า ไทย พ.ศ. 1172 พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ในรัชกาลพระเจ้าถังไทจง (ครองราชย์ พ.ศ. 1169-1202) ในปี 1172 หลวงจีนเหี้ยนจัง (Hsaun-tsang) หรือพระถังซัมจั๋ง เดินทางออกจากนครฉางอานบนเส้นทางสายไหมสู่อินเดีย ท่านได้ศึกษาคัมภีร์ที่มหาวิทยาลัย นาลันทา และนมัสการพุทธสถานหลายแห่ง ท่านเดินทางกลับสู่จีนในปี 1188 พร้อมได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระไตรปิฎก และพระพุทธรูปต่างๆ บรรจุลงหีบถึง 520 หีบ ใช้ม้าบรรทุกถึง 20 ตัว รวมคัมภีร์ทั้งสิ้น 657 เรื่อง และท่านได้แปลไว้เพียง 73 เรื่อง เป็นความยาว 1,330 ผูก ประมาณ พ.ศ. 1300 มหาวิทยาลัยนาลันทา กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบตันตระ และมีการปฏิบัติตามลัทธิพิธีของตันตระ ในช่วงเวลานี้ กษัตริย์ธิเบตได้นิมนต์พระอาจารย์จากนาลันทา ที่สำคัญองค์แรก คือ พระศาสนรักษิต จากนั้นอีกไม่นานพระปัทมสัมภวะเดินทางไปธิเบตในพ.ศ. 1290 และพระอตีศะ ประมาณ พ.ศ.1600 พ.ศ.1587 สถาปนาอาณาจักรพุกาม ราชธานีแห่งแรกของพม่า และเป็นราชธานีที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นศูนย์กลางแห่งความรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนามายาวนานกว่า 243 ปี (พ.ศ.1587-1830) พระเจ้าอโนรธาหรืออนิรุทธ์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พุกาม ได้ทรงรับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากมอญมาสู่แผ่นดินพุกาม และสถาปนาให้เป็นศาสนาประจำราชอาณาจักรนับแต่นั้น ตลอดช่วงเวลาที่พุกามเป็นราชธานีมีการสร้างเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชา มากถึง 4,446 องค์ ดินแดนแห่งนี้จึงได้รับการขนานนามว่า ดินแดนเจดีย์สี่พันองค์ พ.ศ. 1724 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-พ.ศ.1763) แห่งกัมพูชา ได้สร้าง เมืองพระนครหลวง (นครธม หรือ Angkor Thom) เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่แทนนครวัด มีปราสาทบายน เป็นศูนย์กลางอาณาจักร และเป็นพุทธสถานที่สร้างจากการผสมผสานแนวคิดเรื่องเทวราชากับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก พ.ศ. 1822 -1841 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอาราธนาพระมหาเถระจากเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ พระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติและรุ่งเรืองสืบมา พ.ศ.1893 สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยการรวมสามนครรัฐ ได้แก่ ละโว้ อโยธยา และสุพรรณภูมิ ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายานและศาสนาพราหมณ์ พ.ศ. 1913 พระเจ้ากือนาแห่งอาณาจักรล้านนา มีพระราชสาส์นถวายแด่พระมหาธรรมราชาลิไทย ทูลขอพระเถระขึ้นไปสืบพระศาสนาที่เมืองเชียงใหม่ พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ จึงแพร่หลายในอาณาจักรล้านนา นับตั้งแต่ พ.ศ. 1913 เป็นต้นมา ประมาณพ.ศ. 2000 (นาลันทาถูกทำลายในพุทธศตวรรษที่ 17) มหาวิทยาลัยนาลันทากลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาแบบตันตระ และมีการปฏิบัติตามลัทธิพิธีของตันตระ ในช่วงเวลานี้ กษัตริย์ธิเบตได้นิมนต์พระอาจารย์จากนาลันทา ที่สำคัญได้แก่ พระศาสนรักษิต พระปัทมสัมภวะ พระอตีศะ พ.ศ. 2293 พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ ทรงส่งคณะทูตมายังอาณาจักรสยาม ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อทูลขอคณะสงฆ์ไปอุปสมบทชาวลังกาที่ลังกาทวีป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระอุบาลีเถระ วัดธรรมารามเป็นหัวหน้าเดินทางไป ต่อมาได้เกิด คณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ ซึ่งเป็นคณะสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในลังกาสืบมาจนปัจจุบัน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี นับจากนั้นเป็นต้นมา พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทรงรับพระราชภาระในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนามาโดยตลอด พ.ศ.2489 - ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ทรงประกาศพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงสืบสานพระราชจรรยานุวัตรในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาสืบต่อจากสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าในอดีต พ.ศ. 2493 สร้างมหาวิทยาลัยนวนาลันทาขึ้นที่บริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยนาลันทาเก่า นวนาลันทา มหาวิหารเมื่อเริ่มแรกก่อตั้งนั้นเป็นสถาบันเพื่อการวิจัย ปัจจุบันจึงมีการเรียนการสอน ทั้งประกาศนียบัตร ปริญญาตรี โท และเอก โดยเน้นหนักที่พระพุทธศาสนา ภาษาบาลี ปรัชญาอินเดียศึกษาและเอเชียศึกษา นักศึกษาทั้งหมดเป็นพระภิกษุและสามเณร มีพระนักศึกษาจากหลายประเทศเช่นพม่า ศรีลังกา เขมร ลาว ทิเบต มองโกเลีย ไทย ญี่ปุ่น จีน ฯลฯ รับพระนักศึกษาทั้งมหายานและเถรวาท ที่มากที่สุดคือพม่าและศรีลังกา พ.ศ. 2499 รัฐบาลอินเดียได้จัดงานฉลองพุทธชยันตี 2500 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รัฐบาลอินเดียได้ฟื้นฟูส่งเสริมพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่ประเทศพม่าได้จัดสังคายนาครั้งที่ 6 โดยอาราธนาพระสงฆ์และเชิญผู้แทนชาวพุทธนานาประเทศเข้าร่วม พ.ศ. 2500 งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษในประเทศไทย พ.ศ. 2548 งานฉลองวันวิสาขบูชาโลก ที่ประชุมชาวพุทธนานาชาติ 42 ประเทศ มีมติเห็นชอบลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้พุทธมณฑล (ซึ่งจัดตั้งเมื่อคราวฉลอง 25 พุทธศตวรรษ) เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก และให้จัดฉลองวันวิสาขบูชาโลกในประเทศไทยต่อไป พ.ศ. 2555 พุทธชยันตี ฉลอง 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

"Look, monks They are of different races and of different lineages; they are ordained in this Dhamma and Discipline and live in the virtuous way. would have the same status as a Sakyaputra contemplative having a Tathagata as a father Why is that? monks Just like the Aciravati River, the Sorabhu River, the Mahi River, the Chandrabhaga River, the Ganga River, and the Yamuna River, when they flow into the ocean, they are all equal. cannot be divided That is that river.

พุทธศาสนามหายาน                

Mahayana Buddhism

มหายาน แปลว่า พาหนะที่ยิ่งใหญ่ ยานอันสูงสุด ทางอันประเสริฐ หมายถึงเส้นทางสายนี้หรือพาหนะอันใหญ่นี้สามารถรับคนทุกประเภท ทุกชนชั้นวรรณะ ทุกเพศ ทุกวัย หรือทุกอาชีพ ไปสู่ความหลุดพ้นได้เท่าเทียมกัน หลักการสำคัญของมหายาน คือเรื่อง ตรีกาย มหายานอธิบาย “กาย” ของพระพุทธเจ้า ว่ามี 3 กาย คือ นิรมาณกาย เป็นกายมนุษย์ที่ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธเจ้า ธรรมกาย เป็นสภาวธรรม หรือกฎความจริงทางธรรมชาติ สัมโภคกาย เป็นกายทิพย์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ปรากฎแก่พระโพธิสัตว์พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์สถิตอยู่ในดินแดนที่มีแต่ความสุขและความดีงาม เรียกว่า พุทธเกษตร จุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือการได้อุบัติเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ ด้วยการตั้งปณิธาน 4 ประการ คือ การละกิเลส ศึกษาธรรมให้ถ่องแท้ โปรดสัตว์ทั้งมวล และการบรรลุพุทธภาวะอันประเสริฐ สัญลักษณ์ของนิกาย อ่านว่า นะโม อมิตพุทธ แปลว่า คำบูชาพระพุทธเจ้า นะโม แปลว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นใหญ่กว่ามนุษย์ เทพยดา พรหม มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง อมิตพุทธ แปลว่า เจริญพร Timeline เส้นทางพระพุทธศาสนามหายาน 3 เดือนหลังพุทธปรินิพาน (9 เดือนก่อนพุทธศักราช) สังคายนาครั้งที่ 1 ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ โดยที่ประชุมพระอรหันต์ 500 รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์วิสัชนาพระธรรม (ที่จัดแยกเป็นพระสูตรและพระอภิธรรมในเวลาต่อมา) ใช้เวลา 7 เดือน โดยพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงอุปถัมถ์ พ.ศ. 100 สังคายนาครั้งที่ 2 ณ วาลิการาม เมืองเวสาลี โดยที่ประชุมพระอรหันต์ 700 รูป มีพระเรวตะเป็น ผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชชนา ใช้เวลา 8 เดือน โดยพระเจ้ากาลาโศกราชทรงอุปถัมภ์ ภิกษุวัชชีบุตรได้แยกตัวจากเถรวาท เรียกว่า “มหาสังฆิกะ” และทำสังคายนา เรียกว่ามหาสังคีติ ถือเป็นต้นกำเนิดของอาจารยวาท หรืออาจริยวาท หรือ “มหายาน” ในเวลาต่อมา พุทธศตวรรษที่ 2-3 (มหายานสู่จีนราวพุทธศตวรรษที่ 7) เกิดพระพุทธศาสนามหายานสำนักอวตังสกะในประเทศจีน ตรงกับสมัยราชวงศ์ถัง พ.ศ. 1000เศษ และเป็นยุคทองของศาสนาพุทธในประเทศจีน ชื่อสำนักมาจากชื่อพระสูตร อวตังสกสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเองเป็นเวลาสามสัปดาห์ในระหว่างที่อยู่ในสมาธิ หรือ อยู่ในสภาพของกายธรรม พุทธศตวรรษที่ 5 นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตรกำเนิดขึ้นในอินเดีย และได้ถูกรวบรวมขึ้นเป็นพระสูตร แต่ต่อมาได้หายสาบสูญไป ปัจจุบันมีการแปลอยู่สามสำนวน คือฉบับแปลของท่านธรรมรักษ์ แปลใน พ.ศ. 829 ฉบับที่สอง แปลโดยท่านกุมารชีพ ในพ.ศ. 949 และฉบับสุดท้าย คืองานแปลของท่านจิสันคุปตะ และท่านคุปตะ แปลในพ.ศ. 114 พุทธศตวรรษที่ 6-7 กำเนิดมหายานในอินเดีย ภิกษุจากนิกายมหาสังฆิกะ เรียกตัวเองว่า “มหายาน” เป็นนามซึ่งตั้งขึ้นเพื่อแสดงว่าปณิธานช่วยให้สัตว์ข้ามพ้นวัฏฏสงสาร พ.ศ.643 พระเจ้ากนิษกะ ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาของนิกายสรวาสติวาท ฝ่ายเถรวาท ณ เมืองชลันธร พระสงฆ์มหายานได้เข้าร่วมและยอมรับการสังคายนาในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของความรุ่งเรืองของมหายานในเวลาต่อมา พุทธศตวรรษที่ 7 ก่อตั้งสำนักมาธยมิกะ ซึ่งเป็นพระพุทธศาสนามหายานที่รุ่งเรืองในอินเดีย โดยพระนาคารชุนะ คำสอนของสำนักนี้ มุ่งชี้ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดำเนินไปแบบอาศัยซึ่งกันและกัน พ.ศ. 829 ท่านธรรมรักษ์ หรือ ฟา-ฮู (Fa Hu) ได้แปลคัมภีร์ กมลสูตร หรือชื่อเต็มว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (ดอกบัวแห่งลัทธิอันแท้จริง) เสร็จสมบูรณ์ ถือเป็นพระสูตรที่มีความสำคัญมากในประเทศจีน เพราะเป็นพระสูตรที่ชาวจีนทั่วไปได้ศึกษา เป็นพระสูตรที่รวมหัวใจของมหายาน ในหลักธรรมที่กล่าวถึงอมตพุทธเจ้าและการหลุดพ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนอาจปฏิบัติได้ พระสูตรนี้ยังมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะแบบพุทธในประเทศจีน และยังเป็นพระสูตรหนึ่งที่สำคัญในพระพุทธศาสนามหายานในตะวันออกไกล เช่น พระพุทธศาสนาในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ กลางพุทธศตวรรษที่ 8 ชู ฉิ-ชิง (Chu Shih-Hsing) เป็นชาวจีนคนแรกที่ได้นำคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต ชื่อ ปรัชญาปารมิตาสูตร จากโขตาน (Khotan) สู่ประเทศจีน คัมภีร์นี้มีบทบาทสำคัญในการก่อตัวขึ้นของพระพุทธศาสนาของจีน ปลายพุทธศตวรรษที่ 8 พระไมเตรยะ หรือไมตรีนาถ เป็นผู้ถ่ายทอดคัมภีร์ตลอดจนแนวคิดสำคัญของพระพุทธศาสนามหายานสำนักโยคาจาระให้กับศิษย์สองท่าน คือ อสังคะ และวสุพันธุ ผู้เผยแผ่โยคาจาระ เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย จนเจริญรุ่งเรืองที่สุดราวพุทธศตวรรษที่ 9 ถึง 10 หลักคำสอนของสำนักนี้ คือ จิตหนึ่ง หรือ จิตเดียว (The Mind-Only) จิตเป็นตัวสร้างทุกสิ่ง ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ความจริง หรือแม้แต่ความหลุดพ้นล้วนเกิดขึ้น ดำเนินไป และจบสิ้น ที่กระบวนการทำงานของจิต พ.ศ. 945 หลวงจีนฟาเหียน (Fa-Hsien) ได้จาริกแสวงบุญจากฉางอาน (Ch’ang-An) สู่ประเทศอินเดีย และอยู่ในอินเดีย รวมเวลาทั้งสิ้น 15 ปี หลวงจีนฟา-เหียนได้นำคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และพระบรมสารีริกธาตุกลับมาจีนด้วย ท่านยังได้แปลคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและเขียนจดหมายเหตุเรื่องการเดินทางในครั้งนี้ไว้ด้วย พ.ศ.945 ท่านฮุ่ยหย่วน ได้ก่อตั้งสมาคมสุขาวดี (หรือสมาคมดอกบัวขาว) สำนักสุขาวดีนี้เน้นการส่งจิต ถึงพระอมิตาภพุทธเจ้า เพื่อให้ทรงช่วยให้หลุดพ้น ไปสู่ดินแดนพุทธเกษตรสุขาวดี ดังนั้น ศรัทธา จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกของสำนักนี้ พ.ศ. 949 กมลสูตร ที่แปลเป็นภาษาจีน ฉบับที่มีชื่อเสียงและใช้กันมาก เป็นฉบับที่แปลโดยท่านกุมารชีพได้รับยกย่องว่าใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด และได้รับความนิยมอ่านมากที่สุด ถือเป็นฉบับมาตรฐานที่ใช้ในนิกายเทียนไท้ทั้งในประเทศจีนและญี่ปุ่น พุทธศตวรรษที่ 10 ท่านกุมารชีพ ได้รับนิมนต์จากอินเดียสู่จีน ท่านได้แปลแปลพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม มากกว่า 300 ผูก และแปลศาสตร์ต่างๆ ของฝ่ายศูนย์ตวาทิน ทำให้ปรัชญามาธยมิกเจริญแพร่หลาย เป็นช่วงที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมากในจีน พ.ศ.1000-1200 มีการฟื้นการเจาะแกะสลักภูเขาและวาดภาพในหมู่ถ้ำอชันตา หลังจากเลิกไป 400 ปี ถ้ำในยุคแรก 6 แห่งเป็นภาพในพระพุทธศาสนาเถรวาท ส่วนถ้ำยุคหลัง 24 แห่ง เป็นภาพในพระพุทธศาสนามหายานทั้งสิ้น พุทธศตวรรษที่ 11 พระพุทธศาสนามหายานสำนักสัทธรรมปุณฑรีกะ (เทียนไท้) เกิดขึ้นจากความพยายามของ ท่านจื้ออี้ในการรวบรวมและจัดระบบคำสอนทางพระพุทธศาสนา ท่านได้รับอิทธิพลจากพระสูตรที่ชื่อว่า สัทธรรมปุณฑรีกสูตร สำนักนี้เชื่อเรื่องเอกภาพของสรรพสิ่ง การรวมตัวกันระหว่างโลกุตระและโลกิยะ หรือเรื่องทางธรรมกับเรื่องทางโลก พ.ศ.1161 ราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1161-1449) มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อถึง 21 พระองค์ อารยธรรมจีนภายใต้ราชวงศ์ถัง มีพระพุทธศาสนาเป็นแกนนำ และเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองที่สุด ได้รับยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งพระพุทธศาสนา กษัตริย์ที่มีบทบาทต่อการปกครองบ้านเมืองมากที่สุด คือ พระเจ้าถังไทซุง (ครองราชย์ พ.ศ.1170-1192) พ.ศ. 1223 พระภิกษุอี้จิง พระภิกษุชาวจีน ออกเดินทางไปอินเดียทางทะเล และเดินทางกลับประเทศจีนมื่อ พ.ศ.1238 ท่านได้แปลงานทั้งสิ้น 56 ชิ้น มีความยาว 230 ผูก งานชิ้นสำคัญ คือ งานแปลพระวินัยของนิกายมูลสรวาสติวาท นอกจากงานแปลแล้ว ท่านอี้จิงยังได้ประพันธ์งานสำคัญ 2 ชิ้น คือ บันทึกเรื่องราวของอาณาจักรในหมู่เกาะทะเลใต้ และชีวประวัติของพระภิกษุที่สำคัญในราชวงศ์ถัง พ.ศ. 1388 ปลายราชวงศ์ถัง มีการกวาดล้างพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ ทำให้พระพุทธศาสนาหลายนิกาย ต้องเสื่อมสลายไป ก่อนหน้านี้มีการกวาดล้างพระพุทธศาสนาใน พ.ศ. 989 และ พ.ศ. 1117 แต่พระพุทธศาสนาสามารถฟื้นตัวได้ภายในเวลา 25-50 ปี พระพุทธศาสนาสองนิกายที่ยังคงอยู่ได้หลังการกวาดล้างครั้งนี้ คือ นิกายฌาน (เซ็น) และนิกายสุขาวดี พุทธศตวรรษที่ 16-17 พระพุทธศาสนาเสื่อมในประเทศอินเดียและจีน (สมัยราชวงศ์สุง) พ.ศ. 2455 ประเทศจีนได้เปลี่ยนชื่อเป็น สาธารณรัฐประชาชนจีน พระพุทธศาสนาไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล พ.ศ.2465-2476 พระไตรปิฎกจีนฉบับล่าสุด คือ ไตโช พิมพ์ขึ้นในญี่ปุ่น มีทั้งหมด 55 เล่ม หนาประมาณเล่มละ 1000 หน้า รวบรวมไว้ทั้งพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาทและมหายาน แต่พระสูตรฝ่ายมหายาน มีอิทธิพลต่อชาวจีนมากกว่า โดยเฉพาะกมลสูตร และวิมลเกียรตินิทเทสสูตร พ.ศ.2472 มีการจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนขึ้น มีการฟื้นฟูการศึกษาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา คัมภีร์ที่สูญหายไปหรือถูกทอดทิ้งก็ได้รับการนำกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกขึ้นใหม่ และมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยพระพุทธศาสนา ขึ้นหลายแห่งตามเมืองต่าง ๆ มีการตีความพระพุทธศาสนาใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยการนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พ.ศ. 2519 ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เหมา เจ๋อ ตุง ถึงแก่อสัญกรรม รัฐบาลชุดใหม่ของจีนคลายความเข้มงวดลงบ้างและให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาของประชาชนมากขึ้น พุทธศตวรรษที่ 25 พระพุทธศาสนามหายานที่ยังเผยแผ่ในประเทศจีน ได้แก่ นิกายสุขาวดี นิกายนี้มีอิทธิพลเหนือ มหายานทุกนิกาย และมีจำนวนผู้นับถือมากที่สุด ปัจจุบัน มีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานขึ้นใหม่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังให้การสนับสนุนจัดตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศจีน และสภาการศึกษาพระพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนขึ้นในกรุงปักกิ่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อเผยแผ่พระพุทธศาสนากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันนี้ชาวจีนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาคู่ไปกับลัทธิขงจื้อ และเต๋า

Mahayana means great vehicle, supreme vehicle, noble path. Means this route or this huge vehicle can take all kinds of people. All classes, castes, sexes, ages, or occupations can equally reach emancipation.

พุทธศาสนานิกายเซน    

ZEN BUDDHISM

การถ่ายทอดพิเศษนอกคัมภีร์ ไม่พึ่งพาถ้อยคำและอักษร ชี้ตรงไปยังจิตของมนุษย์ ให้เห็นแจ้งธรรมชาติของตนและบรรลุความเป็นพุทธะ ท่านโพธิธรรม สังฆปรินายกองค์แรกของเซ็นในประเทศจีน คำว่า “เซน” (Zen) มีที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า “ธยานะ” (Dhyana) และภาษาบาลีว่า “ฌาณ” (Jhana) แปลว่า “สมาธิ” เมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่สู่จีน ชาวจีนออกเสียงคำนี้ว่า “ฉาน” (Chan) และเมื่อเผยแผ่สู่ญี่ปุ่น ออกเสียงว่า “เซน” พระพุทธศาสนานิกายเซน เกิดจากการหล่อหลอมพระพุทธศาสนามหายาน และปรัชญาเต๋า เกิดเป็นวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย ให้ความสำคัญกับการอยู่กับปัจจุบันอย่างมีสติ จุดหมายแห่งการดำเนินชีวิตแบบเซนคือ การบรรลุซาโตริ (Satori) หรือภาวะรู้แจ้ง ซึ่งเป็นภาวะที่บุคคลสามารถทำลายอวิชชา ตัณหา อุปาทานแล้วกลับเข้าสู่พุทธภาวะ ประสบการณ์ซาโตริจะเกิดขึ้นได้เมื่อ “จิตว่าง” คือสามารถขจัดวิธีมองโลกแบบยึดติดในสมมติ จิตแบ่งแยกสิ่งต่างๆ ออกจากกัน เช่นเป็นเราเป็นเขา เป็นมนุษย์เป็นสัตว์ เป็นดีเป็นชั่ว ถูก-ผิด โดยตระหนักถึงความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่งในธรรมชาติ สัญลักษณ์ของนิกาย อ่านว่า ซาโตริ แปลว่า หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง ข้อความบน Slide Show ประกอบภาพวาดแบบเซน แผ่นที่ 1. โอวาท ท่านโพธิธรรม (ปรมาจารย์ ตักม้อ) * "ผู้ยิ่งใหญ่ แห่ง วัดเส้าหลิน" สังฆปรินายกองค์ที่ 28 แห่งนิกายเซนในประเทศอินเดีย สังฆปรินายกองค์แรก แห่งนิกายเซนในประเทศจีน แผ่นที่ 2. ให้เข้าใจความว่าง แต่อย่าหลงความว่าง... ไม่ยึดมั่น ใจจึงว่าง แผ่นที่ 3. ...เมื่อละทิ้งความคิดเพ้อเจ้อ ใจย่อมสุขสงบเอง ตามธรรมชาติ... "ใจสงบก็คือ ความรู้สึกเหมือนหิน ตกลงบนพื้นโลกอันกว้างใหญ่... แผ่นที่ 4. มองดูทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านไปในอดีต เหมือนภาพในความฝัน... มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบัน เหมือนเป็นฟ้าแลบ.. มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในอนาคต.. เหมือนเมฆหมอกที่ล่องลอยอยู่ไปมา.. แผ่นที่ 5. ไม่ยึดมั่นในเรื่องได้เสีย จิตที่เป็นทุกข์ จะเป็นอิสระ แผ่นที่ 6. ดำรงชีวิตด้วยใจอิสระ ไม่ถูกความอยากควบคุม แผ่นที่ 7. ใจ คือ พระธรรม... ดังนั้น จึงไม่ต้องไปหาพระธรรมนอกใจ แผ่นที่ 8. รวมทุกข์ กับสุข เป็นอันหนึ่งอันเดียว... นั่นคือ หนทางแห่งพุทธธรรม แผ่นที่ 9 เห็นสรรพสิ่ง แต่ใจไม่หวั่นไหว สับสน ใจไม่ฟุ้งซ่าน... แผ่นที่ 10. แท้จริง "เกิดกับตาย คือ นิพพาน" ซึ่งอยู่ ณ กลางใจ

Extra-biblical transmissions not relying on words and letters point directly to the human mind. to realize one's nature and attain Buddhahood Bodhidharma, the first Zen Patriarch in China The word "Zen" (Zen) is derived from the Sanskrit word "Dhyana" (Dhyana) and the Pali word "Jhana" (Jhana), meaning "concentration" when Buddhism spread to China. The Chinese pronounce this word as "Chan" (Chan), and when propagated to Japan, it is pronounced as "Zen". arising from the casting of Mahayana Buddhism and Taoist philosophy Born into a simple lifestyle Focus on being mindful in the present. The goal of the Zen lifestyle is Attaining Satori or Enlightenment which is a state in which a person can destroy ignorance, craving, clinging and return to Buddhahood Satori experiences can occur when the "empty mind" is able to eliminate the way of looking at the world in a hypothetical way. The mind separates things from each other, for example, we are him. be human be animal good and evil, right-wrong, by recognizing the unity of all things in nature.

พุทธศาสนานิกายวัชรยาน

Vajrayana Buddhism

พระพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต เกิดจาก การผสมผสานพระพุทธศาสนาเถรวาท มหายาน ตันตระ และความเชื่อท้องถิ่น เกิดเป็นคำสอนและวิธีปฏิบัติที่เป็น เอกลักษณ์ เรียกว่า มหายานตันตระ หรือวัชรยาน จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต คือ การตรัสรู้ โดยให้ความสำคัญกับความกรุณาและปัญญา ด้วยการปฏิบัติ “ตันตร” ตั้งแต่การท่องมนต์ ทำสมาธิ ชำระกายวาจาใจ การกระทำ จนถึงอนุตตร โยคะตันตระ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุด พิธีกรรมแบบตันตระ จะกระทำในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า “มณฑล” ซึ่งเป็นที่สถิตของพระธยานิพุทธเจ้า 5 พระองค์ ชาวพุทธในทิเบตยังมีความเชื่อเรื่องกรรม ชีวิตในภาพหน้า การเกิดใหม่ การชำระกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ ด้วยการสวดมนต์ การจาริกแสวงบุญ ซึ่งชาวทิเบตถือปฏิบัติจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต สัญลักษณ์ของนิกาย อ่านว่า สุญญตา อา ในภาษาทิเบต แปลว่า สุญญตา หรือ ความว่าง เส้นทางพระพุทธศาสนาวัชรยาน 3000 ปี ก่อนคริสตกาล ลัทธิบอน เป็นความเชื่อดั้งเดิมก่อนพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในทิเบต มีการนับถือผี เทพยดา เช่น สุริยเทพ จันทรเทพ เทวดาประจำต้นไม้หรือป่าเขา อาจารย์คนแรกของลัทธิบิน คือเซ็นรับมิโว พุทธศตวรรษที่ 3 อาจารย์ที่มีชื่อ 3 ท่าน คือ อาจารย์ศุภกรสิงหะ อาจารย์วัชรโพธิ์ อาจารย์อโมฆะวัชรระ นำพระพุทธศานา นิกายตันตระ แบบอินเดียไปเผยแผ่ในประเทศจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง ปลายพุทธศตวรรษที่ 7 ลัทธิบอน ในทิเบตรับอิทธิพลคำสอนในศาสนาพุทธ เช่น เรื่องกฎแห่งกรรม สังสารวัฏ และความหลุดพ้นจากความทุกข์ มาผสมผสานในคำสอน และปฏิบัติ พุทธศตวรรษที่ 8 ลัทธิวัชรยานเจริญรุ่งเรืองเพราะได้รับได้รับการอุปถัมภ์จากพระเจ้ากุบไลข่าน จักรพรรดิมองโกลผู้ปกครองจีน (ราชวงศ์หยวน) ทรงเลือกลัทธิวัชรยานเพราะทรงเห็นว่ามีหลักปฏิบัติคล้ายคลึงกับกับลัทธิบิน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศจีนและมองโกเลียนับถือกันอยู่แล้ว ทรงสถาปนาพระลามะชื่อกุงกา เกียลเซน และสักยะบัณฑิต พ.ศ. 976 พระเจ้าลาโท โทรีเย็นเซ เป็นกษัตริย์ทิเบตองค์แรกที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้รับเครื่องบรรณาการจากอินเดีย เป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาและพระพุทธรูป พุทธศตศวรรษที่ 10 นิกายพุทธตันตระแยกจากนิกายมหายาน เรียกตัวเองว่า คุยหยาน หือ รหัสยาน หมายถึง ยานลึกลับเพราะหลักธรรมบางอย่างเป็นรหัสที่ต้องตีความ และการชี้แนะจากพระอาจารย์หรือครู เพื่อให้ศิษย์ปฏิบัติได้ถูกต้อง และเป็นการถ่ายทอดคำสอนเฉพาะศิษย์ที่ได้รับการเห็นชอบจากพระอาจารย์เท่านั้น พ.ศ. 1000-1500 พระพุทธศาสนานิกายตันตระรุ่งเรือง สันนิษฐานว่าลัทธิตันตระเป็นความเชื่อดั้งเดิมในสังคมเกษตรกรรมของมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ เวทมนต์คาถา บูชาเทพฝ่ายหญิง และนับถือเทพเจ้าต่างๆ มากมาย มีการผนวกความเชื่อในลัทธิตันตระกับพระพุทธศาสนา และการใช้พิธีกรรมลึกลับ เวทมนต์คาถานับถือเทพเจ้าต่างๆ แบบพราหมณ์-ฮินดู ในช่วงระยะสุดท้ายก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเสื่อสูญไปจากอินเดีย เรียกว่า พระพุทธศาสนาลัทธิตันตระ หรือลัทธิตันตรยาน และลัทธิวัชรยาน พ.ศ. 1163-1193 ในรัชสมัยพระเจ้าสองสัน กัมโป ทรงส่งทูตชาวทิเบตชื่อ ทอนมีสัมโภทา ไปอินเดีย เมื่อกลับมา ได้สร้างอักขระภาษาทิเบต และแปลคัมภีร์พุทธศาสนาภาษาสันสกฤตเป็นภาษาทิเบต พระเจ้าสองสัน กัมโป โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ลาซา เป็นราชธานีแห่งใหม่ และเป็นศูนย์กลางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของชาวทิเบต ชาวธิเบต เชื่อว่า กษัตริย์พระองค์นี้ คือ อวตารของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระอัครมเหสีทั้ง 2 คือ เจ้าหญิงภริคุติ ชาวเนปาล และเจ้าหญิงเวนเชิง ชาวจีน คือ พระอวตารของพระนางตาลาโพธิสัตว์ พุทธศตวรรษที่ 11 ในต้นสมัยราชวงศ์ถัง ได้มีพระภิกษุชาวอินเดียชื่อ บุญโญทัย เดินทางไปถึงประเทศจีน ใน พ.ศ. 1198 ได้พยายามเผยแผ่ตันตระซึ่งเป็นศาสนาลึกลับ แต่ชาวจีนไม่ให้ความสนใจมากนัก เพราะคำสอนพระถังซัมจั๋งกำลังแผ่ขยายไปทั่วประเทศจีนในขณะนั้น พ.ศ. 1293 พระพุทะศาสนาลัทธิตันตระพัฒนามากขึ้น ในสมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. 1293-1693) มีการแต่งคัมภีร์ภาษาสันสกฤตทางลัทธิตันตระขึ้นมาเฉพาะที่สำคัญ เช่น ปรัชญาปารมิตา คุยหสมาช มัญชุศรีมูลกะ เหวัชรตันตระ และสาธนมาลา นอกจากนั้นมีการสอนแนวทางปฏิบัติและหลักปรัชญาของพระพุทธศาสนาลัทธิตันตระในสถานศึกษาสำคัญด้านศาสนา อย่างมหาวิทยาลัยนาลันทา และวิกรมศิลา ทำให้พระพุทธศานาลัทธิตันตระเผยแพร่ไปยังดินแดนอื่น เช่น จีน ธิเบต เนปาล และดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 1298-1340 ในรัชสมัยพระเจ้าตริซง เตเซ็น ทรงประกาศให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาพระจำชาติ ได้ทรงงอาราธนาภิกษุ อินเดียนาม ศานตรักษิต มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาและได้อาราธนา ท่านปัทมสัมภวะ ผู้เชี่ยวชาญด้านตันตระ เพื่อน้อมนำคนที่นับถือพระพุทธศาสนา นอกจากนั้น โปรดเกล้า ฯ ให้มีการแปลพระธรรมคัมภีร์จากอินเดียเป็นภาษาทิเบต ชาวทิเบตเชื่อว่าพระเจ้าตริชง เตเซ็น เป็นองค์อวตารของพระมัญชุ ศรีโพธิสัตว์ พ.ศ. 1358-1379 ในรัชสมัย พระเจ้าราลปาเซ็นแห่งทิเบต โปรดเกล้าฯ ให้แปลพระไตรปิฎก และจัดให้เป็นระบบ รวมทั้งสร้างและซ่อมแซมวัดพุทธศาสนาจำนวนมาก พ.ศ.1360 ท่านปัทมสัมภวะ ท่านเป็นผู้เผยแผ่คำสอนทางตันตระ และหลักคำสอนที่เรียกว่า “ซอกเซ็น” (Dzogchen) หรือมหาบารมี มาผสมผสานกับพิธีของลัทธิบิน เกิดเป็นลัทธิวัชรยานแบบเฉพาะของทิเบต ที่รวมธรรมเนียมปฏิบัติและเทพท้องถิ่นไว้ด้วยกัน ต่อมาท่านได้ก่อตั้ง นิการนิงมะ หรือนิกายหมวกแดง เรียกตามสีของหมวก ที่พระสงฆ์ประจำนิกายนี้สวมเมื่อประกอบพิธีกรรม ท่านปัทมสัมภวะ เป็นหนึ่งมหาบุรุษของชาวทิเบต ซึ่งจะเอ่ยนามท่านด้วยความเคารพอย่างสูง ว่า คุรุริมโปเช (Guru Rinpoche) แปลว่า ท่านอาจารย์ผู้ประเสริฐ ท่านร่วมกับพระภิกษุศานติรักษิต สร้างวัดสัมเย เป็นวัดในพระพุทธศาสนาที่สำคัญ และเป็นแหล่งแปลคัมภีร์สำคัญในวรรณคดีพุทธศาสนาเป็นภาษาทิเบต พ.ศ. 1379-1385 ในรัชสมัยพระเจ้าลังดาร์มา มีการกวาดล้างพระพุทธศาสนา ถือเป็น “ยุคมืด” ของประวัติศาสตร์ทิเบต จนอาจารย์อติศะเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทิเบต พุทธศตวรรษที่ 14 ท่านปัทมสัมภวะเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบตันตระสู่ภูฏาน ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยอมรับนับถือ พระพุทธศานามหายานแบบตันตระเป็นศาสนาประจำชาติ พ.ศ.1585 ท่านอติศะ เผยแผ่พุทธศาสนาในประเทศทิเบต ท่านได้นำแนวทางของมนตรยานและตันตรวิธีมาใช้ในทางภาวนาเพื่อการตรัสรู้ คำสอนของท่านได้ช่วยให้ชาวธิเบตเปลี่ยนจากชนเผ่าที่ชอบการรบพุ่ง และนับถือผีสาง นางไม้ กลายเป็นคนรักสงบ และหันมาปฏิบัติธรรม ทำให้พระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคงเป็นศาสนาประจำชาติของทิเบต ท่านอติศะ เป็นหนึ่งมหาบุรุษของชาวธิเบต ซึ่งจะเยนามท่านด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ว่า คุรุโจ โวเช ท่านอติศะ เป็นผู้เชื่อมดยงสาวกยาน (เถรวาท) มหายาน และวัชรยาน ได้ประสานกันได้อย่างกลมกลืน และใช้ตันตระเป็นยานสูงสุด ที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าถึงความเป็นพุทธะได้ในชาตินี้ แต่ท่านจะไม่สอนตันตระให้ศิษย์ จนกว่าศิษย์จะตั้งจิตอธิษฐานอย่างแน่วแน่เพื่อบรรลุพระโพธิสัตว์ ด้วยการเกื้อกูล สรรพสัตว์ ท่านได้รจนาคัมภีร์ฝ่ายพุทธขึ้นเป็นเล่มแรกในธิเบต ชื่อ “ดวงประทีปเพื่อส่องทางสำหรับการ “ตรัสรู้” และได้ก่อตั้ง นิกายกดัม ซึ่งเป็นนิกายที่ดัดแปลงคำสอนในลัธิวัชรยานของธิเบตเดิม นิกายกาจู มีรากฐานมาจากอาจารย์มาร์ปะโชคีโลโด (พ.ศ.1555-1641) และทุงโป ญาลจอร์ (พ.ศ. 1521-1622) คำสอนสำคัญที่สุดของนิกายกาจู คือ มหามุทรา ที่เน้นให้เข้าใจโดยตรงอย่างถ่องแท้ในธรรมชาติที่แท้ของจิต พ.ศ.1787 สักยะบัณฑิต อาจารย์คนสำคัญของ นิกายสักยะ ได้รับนิมนต์จาก โกดันข่าน ผู้เป็นหลานของ พระเจ้าเจงกิสข่าน แห่งราชวงศ์หยวนให้เดินทางไปเผยแผ่ศาสนาที่มองโกเลีย นิกายสักยะได้รับอุปถัมภ์จากราชวงศ์หยวนจนมีอิทธิพลเหนือนิกายอื่นในสมัยเดียวกัน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองของทิเบตด้วย ต่อมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงทรงเห็นว่านิกายสักยะ เริ่มมีอำนาจมากขึ้น จึงทรงสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันกับพระลามะจากนิกายอื่นอีกสองนิกาย เพื่อให้เกิดแตกสามัคคีกัน พ.ศ. 1952 ท่านสองขะปะ เป็นมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของชาวทิเบต ซึ่งจะเอ่ยนามท่านด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ว่าคุรุเจ ริมโปเช ท่านได้ปรับปรุงนิกายกดัมที่ท่านอติศะ ก่อตั้งไว้ เปลี่ยนชื่อเป็น นิกายเกลุก ซึ่งมุ่งเน้นความเคร่งครัดในพระวินัยอย่างยิ่ง มีแนวทางการศึกษาอย่างเป็นวิชาการ เน้นการสอนพระสูตรและตันตระ ที่สำคัญคือเน้นการวิเคราะห์ผ้านการฝึกฝนด้วยวิธีตรรกวิภาษ ท่านสองขะปะได้จัดหมวดหมู่คัมภีร์แปลออกเป็น หมวดพุทธพจน์มีผลงานแปลรวม 100 เล่ม และหมวดอรรถาธิบายมีผลงานแปล 225 เล่ม คัมภีร์เหล่านี้คงเหลือตกทอดมาถึงปัจจุบัน เรียกกันว่า พระไตรปิฎก หรือคัมภีร์พระพุทธศาสนาฉบับทิเบต พ.ศ. 2121 ท่านโสนัมกยัตโส ได้รับพระราชทานตำแหน่ง “ทะไลลามะ” เป็นองค์แรก จากอัลตันข่าน กษัตริย์มองโกล คำว่า ทะไล ในภาษามองโกเลีย หมายถึงทะเล “ทะไลลามะ” จึงหมายถึงพระอาจารย์ ผู้ทรงความรู้กว้างขวางดุจมหาสมุทร เชื่อกันว่า องค์ทะไลลามะทรงเป็นองค์อวตารของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ทะไลลามะทรงมีอำนาจปกครองทั้งทางโลกทางธรรม พุทธทศวรรษ 2490 พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์เย็น จังหวัดกาญจนบุรี และวัดโพธิ์แมนคุณาราม กรุงเทพมหานคร เป็นผู้หนึ่งที่นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานแบบธิเบตเผยแผ่ในประเทศไทย พ.ศ. 2493 ทะไลลามะองค์ที่ 14 เท็นซิน กยัตโส ขึ้นบริหารประเทศ ต่อมาเสด็จลี้ภัยไปประเทศอินเดีย ในพ.ศ. 2502 รัฐบาลอินเดียถวายที่ประทับ ณ เมืองธรัมศาลา เชิงเขาหิมาลัย ตอนเหนือของประเทศอินเดีย ต่อมาทรงสละตำแหน่งผู้นำทางการเมือง คงไว้เพียงผู้นำทางศาสนา ในรัชสมัยขององค์ทะไลลามะองค์ที่ 14 ศาสนาพุทธแบบธิเบต ทั้ง 4 นิกาย คือ นิงมะ กาจู สักยะ และเกลุก เผยแผ่ไปทั่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป

Siddhartha saw the sick, old and death people . He think everybody can not avoided. He think worldly pleasure did not true. It just illusion. These depressed him, and he initially strove to overcome ageing, sickness, and death by living the life of an ascetic. Accompanied by Channa and riding his horse Kanthaka, he quit his palace for the life of a mendicant. He then travelled to the Deer Park near in northern India, where he set in motion what Buddhists call the Wheel of Dharma by delivering his first sermon to the five companions with whom he had sought enlightenment

สุวรรณภูมิ  พุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ

Suvarnabhumi, Buddhism for Peace

พุทธศาสนาไม่ว่านิกายใดก็ตาม ล้วนมุ่งสร้าง “สันติภาพจากภายใน” ให้เกิดขึ้นในหมู่มวลมนุษยชาติด้วยจิตที่สงบเย็นไม่เห็นแก่ตัวมองโลกชีวิตและสังคมว่าล้วนสัมพันธ์พึ่งพากัน“โลกนี้เป็นหนึ่งเดียว พ.ศ. 2327 ชาวอังกฤษจัดตั้งอาเซียสมาคมแห่งเบงกอล ทำให้เกิดการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งอารยธรรมของชมพูทวีป เช่น ความเป็นมาของพระพุทธศาสนาและเรื่องของพระเจ้าอโศกมหาราช พ.ศ. 2422 เซอร์ เอดวิน อาร์โนลด์ แต่งบทประพันธ์อันไพเราะ ชื่อ The Light of Asia (ประทีปแห่งทวีปเอเชีย) แสดงพุทธประวัติและคำตรัสสอน ทำให้คนอินเดียและชาวตะวันตกจำนวนมากสนใจพระพุทธศาสนาบางคนหันมานับถือพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2422 ท่านอนาคาริกะ ธรรมปาละ นักเผยแผ่และนักปฏิบัติธรรมชาวศรีลังกาได้ประกาศคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ชาวตะวันตกได้รับรู้อย่างเป็นทางการครั้งแรก ในการประชุมสภาศาสนาโลก ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ท่านได้ก่อนตั้งมหาโพธิสมาคม ซึ่งมีบทบาทในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย พ.ศ.2434 ท่านอนาคาริกะ นักเผยแผ่และนักปฏิบัติธรรมชาวศรีลังกาได้ประกาศคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ชาวตะวันตกได้รับรู้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ในการประชุมสภาศาสนาโลก ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ท่าเป็นผู้ก่อนตั้งมหาโพธิสมาคม ซึ่งมีบทบาทในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย พ.ศ. 2440 ซูซูกิ เซน ปราชญ์แห่งพระพุทธศาสนานิกายเซน ได้เดินทางไปบรรยายตามมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา และเขียนหนังสือไว้มากมาย ทำให้ชาวตะวันตกรู้จักและเข้าใจพระพุทธศาสนา และนิยมปฏิบัติสมาธิแบบเซนอย่างแพร่หลาย พ.ศ. 2482 – 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สันติภาพในโลกมิได้เกิดขึ้นอย่างที่ชาวโลกวาดหวัง สงครามรูปแบบใหม่เริ่มต้นขึ้นในนาม “ สงครามเย็น “ ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพ โซเวียต มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลกเกิดขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในประเทศอาณานิคม โดยเฉพาะในทวีปเอเชียและแอฟริกา ท่ามกลางภาวะที่โลกไร้ระเบียบ ศาสนาพุทธเริ่มเป็นที่สนใจของชาวชาวตะวันตกอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และ ออสเตรเลีย เนื่องจากมีข้อพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติด้วยตนเอง พ.ศ. 2491 มหาตมะ คานธี เป็นผู้นำการกอบกู้อิสรภาพของอินเดียจากอังกฤษ ด้วยวิธีการแบบ อสิงหา ( nonviolence ) การต่อต้รานโดยสันติวิธีหรือที่เรียกว่าขบวนการสัตยาเคราะห์ ในการคัดค้านต่อต้าน ดังกล่าว นักสัตยาเคราะห์จะเผชิญกับความรุนแรงทุกชนิดด้วยความอดทนและด้วยความกล้าหาญ และ ไม่ถือว่าฝ่ายตรงข้ามเป็น “ ศัตรู “ จุดมุ่งหมายสำคัญคือ การเปลี่ยนจิตในของฝ่ายตรงข้ามมากกว่า สำหรับพวกเข้าแล้วจะไม่มีคำว่ามิตรหรือศัตรู ทุกคนอยู่ในครอบครัวของมนุษย์ชาติเดียวกันทั้งหมด พ.ศ. 2493 มีการตั้งองค์กรทางพุทธศาสนาระดับโลกโดยชาวพุทธจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือรวม 27 ประเทศ ที่ศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2493 ในชื่อ องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก พ.ศ. 2499 รัฐบาลอินเดียจัด “ พุทธชยันตี “ ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ( อินเดียนับพุทธศักราชแบบลังกา ซึ่งเร็วกว่าไทย 1 ปี ) มีการบูรณะสังเวชนียสถานทั้ง 4 และพุทธสถาน รัฐบาลไทยได้สร้าง “ วัดไทยพุทธคยา “ และได้ส่งพระสงฆ์ไทยไปประจำตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา พ.ศ. 2499 ดร.อัมเบ็ดการ์ ( B .R. Ambedkar ) ผู้ต่อสู้เพื่อให้ยกเลิกระบบวรรณะในสังคมอินเดีย โดยชักชวนคนวรรณศูทรประมาณ 2 แสนคน ประกอบพิธีปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ให้ความเสมอภาคทางสังคม ดร.อัมเบ็ดการ์ได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อยกฐานะคนวรรณะศูทร โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ได้ตั้งวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาพุทธเพื่อสอนวิชาการต่าง ๆ เช่น สิทธารถวิทยาทางนิติศาสตร์ พ.ศ. 2502 ทะไล ลามะ ลี้ภัยไปอยู่เมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ท่านเป็นผู้นำรัฐบาลผลัดถิ่นของธิเบตที่พยายามต่อสู่เพื่อเอกราชของทิเบตบนฐานของอหิงสธรรม พระลามะจำนวนมากได้ไปศึกษาจากที่นี่ และ ตั้งสำนักเผยแผ่พระพุทธศานาในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในอเมริกา ได้มาสนใจพุทธศาสนาเช่นสมาธิแบบทิเบตกันอย่างกว้างขวา พ.ศ. 2503 ในคริสต์ทศวรรษ 1960 พระติช นัท ฮันห์ ( Thich Nhat Hanh ) พระภิกษุมหายานชาวเวียดนาม ได้เสนอแนวคิด “ Emgaged Buddhism “ หมายถึงพุทธศานาต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันและพุทธธรรม เป็นสิ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวิธีชีวิตยุคปัจจุบัน สังฆะแห่งแรกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ชื่อว่า อาศรมมันเทศ ( Sweet Potato Hermitage ) ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ หมู่บ้านพลัม “ ( Plum Village ) ปัจจุบัน มีชุมชนการปฏิบัติธรรมแห่งหมู่บ้านพลัมกระจายอยู่ในหลายประเทศ อาทิประเทศฝรั่งเศส อเมริกา เยอรมัน ฮ่องกง รวมทั้งประเทศไทย โดยมีนักบวชกว่า 500 รูป จาก 20 ประเทศทั่วโลก และมีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางหมู่บ้านพลัม หรือ “ สังฆะ “ เกือบหนึ่งพันกลุ่ม กระจายอยู่ใน 31 ประเทศทั่วโลก ( ข้อมูล พ.ศ. 2556 ) พ.ศ. 2504 อริยรัตนะ ( Ariyaratne ) ก่อตั้งขบวนการสรรโวทัย ( Sarvodaya Movement ) เพื่อฟื้นฟูบทบาททางสังคมของพระพุทธศาสนาในศรีลังกา โดยได้รับอิทธิพลทางความคิดจากมหาตมะ คานธี พ.ศ. 2509 จัดตั้งวัดไทยในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนาม “ วัดพุทธปทีป “ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดวัดพุทธปทีป นับเป็นวันไทยวัดแรกในประเทศตะวันตก พ.ศ. 2509 ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน ก่อตั้ง “ มูลนิธิฉือจี้ “ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวันมีสมาชิกกว่า 5 ล้านคน ( หรือเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรใต้หวัน ) ภารกิจของฉือจี้มีตั้งแต่การกุศล การรักษาพยาบาล การศึกษา ด้านจริยธรรม จนถึงมีการบรรเทาภัยสากล การบริจาคไขกระดูก การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและอาสาสมัครชุมชน ปัจจุบันมีสาขาและสาขาย่อย จุประสานงานของ “ ฉือจี้ “ กระจากอยู่กว่า 66 ประเทศทั่วโลก ( ข้อมูลปี 2556 ) พลังขับเคลื่อนสำคัญ คือพลังแห่งเมตตา และ อุเบกขา (“ ฉือจี้” แปลว่า การช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ด้วยจิตเมตตา ) ตามแบบอย่างของพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งมหากรุณาในพุทธศานาแบบมหายาน พ.ศ. 2510 ขบวนการฮิปปี้ เป็นปฏิกิริยาต่อการทำสงครามเวียดนาม และต่อต้านสังคมอเมริกาที่มีวิถีชีวิตแบบวัตถุนิยม พวกฮิปปี้ต่อต้านอำนาจและความรุนแรง ละทิ้งวิถีชีวิตของบรรพบุรุษอเมริกา สร้างวิถีชีวิตแบบใหม่ ที่มีความเป็นอยู่เรียบง่าย รักเพื่อนมนุษย์ รักธรรมชาติ สนใจเรื่องทางจิต สมาธิ โด ยเฉพาะศาสนาตะวันออก เช่น โยคะ และเซน พ.ศ. 2513 เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช เริ่มสอนพุทธธรรมในประเทศอเมริกา ท่านเน้นวิถีทางธรรมใน ในประสบการณ์แห่งการดำเนินชีวิตในแต่ละวันมากกว่ารูปแบบทางศาสนา การปฏิบัติภาวนาที่ท่านแนะนำแก่ลูกศิษย์จึงมีทั้งศิลปะการเขียนอักษร การจัดดอกไม้ การยิงธนูแบบญี่ปุ่น พิธีชา การร่ายรำ ภาพยนตร์ ปฏิบัติธรรม จัดตั้งชุมชน และสถาบันการศึกษาแนวใหม่ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพุทธวิถีใหม่ที่กำลังเบ่งบานในโลกตะวันตก ท่านเป็นผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยนาโรปะ ที่เมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด ศูนย์ซัมบาลาเทรนนิ่ง และ วัชรธาตุสมาคม ซึ่งเป็นสมาคมของศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ (ปัจจุบันใช้ชื่อ ชัมบาลา อินเตอร์เนชั่นแนล ) พ.ศ. 2513 คณะสงฆ์ไทย ไปให้การอุปสมบทกุลบุตรชาวอินโดนีเซีย 5 คน ณ มหาเจดีย์บุโรบูดูร์ นับเป็นการประดิษฐาน คณะสงฆ์เถรวาท ( ธรรมยุติกนิกาย ) ขึ้นในอินโดนีเซียเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2514 ตั้งวัดไทยแห่งแรกในอเมริกา เมื่อแรกตั้งชื่อว่า “ ศูนย์พุทธศาสนาเถรวาท” ต่อมาใน พ.ศ. 2522 เปลี่ยนชื่อเป็น วัดไทยลอสแองเจลีส พ.ศ. 2515 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ( Jigme Singye Wangchuck ) ทรงมีพระราชดำรัสในพระราชพิธีพรมราชาภิเษกเมื่อปี 1972 ว่า “Gross National Happiness (GNH) “ หรือ ความสุขมวลรวม ของผู้คน ภายในประเทศมีความสำคัญกว่าผลผลิตรวม ( หรือรายได้รวม ) ของประเทศ พระองค์ทรงปรับทฤษฎีความสุขมวลรวมประชาชาติให้เข้ากับพื้นฐานทางสังคม ค่านิยม ศาสนา วัฒนธรรมและจารีตประเพณีของชาวภูฏานซึ่งเป็นการพัฒนาสังคมที่ควบคุมไปกับความสมดุลทางธรรมชาติและความสงบทางจิตวิญญาณตามแนวพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2516 อี เอฟ ชูมาเกอร์ ( E F Schumacher ) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมัน ได้เสนอแนวคิดเศรษฐกิจทางเลือกไว้ในหนังสือ Small ls Beautiful เช่น การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เกษตรอินทรีย์การส่งเสริมระบบการผลิต และชุมชนที่เล็กแทนระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ การประหยัดพลังงาน และการใช้พลังงานทางเลือก รวมทั้งเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ พ.ศ. 2516 อาร์เนส ( Arne Naess ) นักปรัชญาชาวนอร์เวย์ ผู้สนใจและศึกษาพระพุทธศานาอย่างลึกซึ้ง เขาได้นำเสนอแนวคิด “ นิเวศวิทยาเชิงลึก” ( Deep Ecology ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Eco-budhism มีทัศนะว่าโลกเป็นเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์และพึ่งพากัน ทุกสรรพสิ่งล้วนมีคุณค่าเสมอกัน มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครือข่ายสายใยชีวิตเท่านั้น พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่หลักการพึ่งตนเอง การพอใจในสิ่งที่ตนมี และการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง ผสมผสานกับมิติด้านจริยธรรมของการอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่ง สงเคราะห์เกื้อกูล พึ่งพากัน มีการศึกษาและนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง และการริเริ่มใหม่ ๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก เช่น เกษตรอินทรีย์ พลังชุมชนในการพัฒนาที่ยั่งยืน ระบบเศรษฐกิจที่เกื้อกูลต่อสังคมและธรรมชาติ พ.ศ. 2517 มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ได้ส่งพระธรรมทูตไปประจำที่ประเทศออสเตรเลีย และสร้างวัดไทยแห่งแรก ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “วัดพุทธรังสี” ซึ่งเปิดอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2517 ท่านสัตยา นารายัน โคอินก้า ได้ตั้งศูนย์วิปัสสนานานาชาติ ( International Meditetion Centre ) ขึ้นที่ภูเขาธรรมคีรี อิกัตบุรี ใกล้บอมเบย์ อินเดีย ศูนย์วิปัสสนาโดยท่านโคอินก้า แพร่สู่หลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา ไทย พม่า เนปาล ใต้หวัน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง มองโกเลีย อังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ รัสเซีย ฮังการี แคนาดา แม็กซิโก อาณ์เจนติน่า อุรุกวัย คิวบา เวนาซุเอล่า ซิมบับเว เคนยา อาฟริกาใต้ แม้กระทั้งชาติมุสลิม เช่น อิหร่าน สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ โอมาน พ.ศ. 2518 ตั้งวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท และวัดไทยแห่งแรกในทวีปออสเตรเลีย คือ วัดพุทธรังสี นครซิดนีย์ พ.ศ. 2522 ตั้งวัดป่าจิตตวิเวก ซึ่งเป็นป่านานาชาติแบบไทยแห่งแรกในประเทศอังกฤษ พ.ศ. 2531 มีการอุปสมบทภิกษุณีนานาชาติ ที่ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา มีสตรีที่ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุณี 200 กว่ารูป ปัจจุบัน มีการอุปสมบทภิกษุณีอย่างถูกต้องในศรีลังกา ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี ออสเตรเลีย พ.ศ. 2535 การประชุม Earth Summit ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ Agenda 21 ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ( sustainable development )ครอบคลุม 3 มิติ คือ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดูแลสุขภาพองค์รวม หรือ “ Holistic Health” ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่เพียงแต่ปราศจากโรค แต่ยังหมายรวมถึงความเป็นปกติทั้งกาย ใจ สังคม และ ปัญญา สอดคล้องกับการดูแลสุขภาพแนวพุทธ ซึ่งได้รับความสนใจศึกษาปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ พ.ศ. 2537 เริ่มก่อสร้างวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ประเทศอินเดีย เพื่อน้อมเกล้า ฯถวายเป็นพุทธบูชา และ เฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 50 ปี และเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 วัดแห่งนี้สร้างเสร็จใน พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2542 การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 54 เมื่อเดือน ธันวาคม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ พ.ศ. 2548 มีการตั้งคำถามกันถึงทางรอดจากระบบการค้าที่ใช้ทุนเข้าห่ำหั่นกัน และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่สมดุล รวมถึงระบบสังคมที่เสื่อมถอยลง คำถามเหล่านี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทย คำถามเช่นนี้เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษและกลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น คำถามดังกล่าวนั้นได้มีการค้นหาคำตอบกันอย่างแพร่ หลายทั้งในระดับสถาบันการศึกษาและกลุ่มธุรกิจเอกชนองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร รวมถึงภาครัฐบาลในประเทศนั้น ๆ พ.ศ. 2548 ในงานฉลองวันวิสาขบูชาโลก ที่ประชุมชาวพุทธนานาชาติ 42 ประเทศ มีมติเห็นชอบลงนามในแถลงการณ์ร่วมใน พุทธมณฑล เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก และให้จัดฉลองวันวิสาขบูชาโลกในประเทศไทย พ.ศ. 2551 การประชุมภิกษุณีสงฆ์ครั้งใหญ่ ที่เมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมนี นับเป็นครั้งแรกที่มีความตื่นตัวในเรื่องภิกษุณีในระดับนักวิชาการนานาชาติอย่างกว้างขวาง องค์ทะไลลามะ ได้ทรงมอบปัจจัยเพื่อสนับสนุนการจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ ปัจจุบัน พระพุทธศาสนา เผยแพร่ไปทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรป กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย สหรัฐอเมริกาแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แม้แต่ในทวีปแอฟริกา นอกจากนั้นยังมีการบูรณาการพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหา และพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อรักษาสมดุลของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ของมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

Buddhism, regardless of sect all aim to create "Peace from within" to occur among mankind with a calm mind, unselfish, looking at the world, life and society as being interdependent. "This world is one.

bottom of page