top of page
DSC06326.JPG

ภายนอกวิหารเทพวิทยาคม

The building exterior of Wihanthepwitthayakom

ลานบัวอธิษฐานนวเทพนพเคราะห์

เสริมสร้างบุญบารมีเพื่อความเป็นสิริมงคล และความเจริญรุ่งเรือง ด้วยการบูชาเทพประจำวันเกิด และบูชาดาวจุติประจำวันเกิด และเป็นการสะเดาะเคราะห์ให้พ้นจากโรคภัยและความชั่วร้ายความเศร้าหมองทั้งปวง เพื่อบูชาและสะเดาะเคราะห์แล้ว เพื่อชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ท่านโบกควันธูปศักดิ์สิทธิ์เข้าหาตัวท่านและร่างกายทุกส่วนเพื่อชำระกายให้บริสุทธิ์ผุดผ่องเปี่ยมด้วยราศรี ก่อนเข้าสู่ลานอธิษฐานจิตต่อไป ทุกท่านโปรดยืนให้ตรงกับเทพและดาวประจำวันเกิดของทุกท่าน ความหมายของเซรามิกที่ติด วงเวียนโดยรอบเป็นกระแสน้ำแห่งความดี เมื่อน้ำหมุนรอบใกล้บัวอธิษฐานจะได้รับรังสีสีเหลืองจากบัวอธิษฐาน รอบฐานบัวอธิษฐานเป็นกระแสน้ำแห่งการรู้แจ้งบังเกิดเป็นดอกบัวเล็กๆ ลอยพ้นเหนือน้ำ ควันที่เกิดขึ้นเปรียบเหมือนน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งปัญญาซึ่งกลั่นตัวเป็นควัน ใครได้อาบควันใช้ควันชำระตั้งแต่ศีรษะถึงเท้าร่างกายจะบริสุทธิ์ เมื่อสัมผัสสิ่งดีๆ เช่น ธรรมะจะสามารถบรรลุธรรมและมีจิตใจแจ่มใส มีแต่ความสุขความเจริญ ดาวนพเคราะห์ คติโลกทุกคนเกิดมาจะมีดาวประจำวันเกิด ดาวแต่ละดวงมีเทพเจ้ากำกับคุ้มครองป้องกันจึงอวยพรให้คนที่เกิดประจำแต่ละดวงดาวให้ดำเนินไปตามอิทธิพลแห่งดวงดาวแห่งตนแต่มีเทพประจำดาว 2 องค์ที่เปรียบเสมือนหางเสือชะตาชีวิตของดาวแต่ละดาวให้ใช้เกิดการกระทำ โดยราบรื่นหรือเต็มไปด้วยเคราะห์ อุปสรรคตามกรรมที่ตนกระทำมา คติธรรม เทพประจำวัน และดาวประจำวันจะแผ่บารมีรังสีให้คนแต่ละคนเกิดธรรมในตนเอง ก่อให้เกิดสติระลึกรู้ในปัจจุบันไม่หวั่นไหวไปกับกิเลสทั้งปวง การบูชาเทพประจำวันและบูชาดาวประจำตัวจนดาวพระเกตุ ดาวพระราหูซึ่งรวมเป็นดาวนพเคราะห์จะส่งผลให้ตัวเราเกิดความบริสุทธิ์ความโชคดีอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากโรคภัยพ้นจากสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง ดาวประจำลานบัวอธิษฐานประกอบด้วย 1. พระอาทิตย์สีแดง 2. พระจันทร์สีเหลือง 3. พระอังคารสีชมพู 4. พระพุธสีเขียว 5. พระพฤหัสสีส้ม 6. พระศุกร์สีฟ้า 7. พระเสาร์สีม่วง 8. พระราหู (พุธกลางคืน) สีดำ 9. พระเกตุสีขาวดาวจุติ

Enhance merit and prestige for prosperity and prosperity By worshiping the deity of the birthday and worship the birth star and exorcising from all disease and evil and sorrow to worship and exorcise To purify the body, he blows the smoke of sacred incense towards himself and every part of his body to purify and purify himself with radiance. before entering the courtyard of mental prayer Everyone, please stand in line with the gods and stars of your birthday. meaning of stick ceramic The roundabout is the tide of goodness. When the water revolves near the prayer lotus, it receives yellow rays from the lotus. Surrounding the base of the prayer lotus is a stream of enlightenment, emerging as a small lotus flower. floating above the water The resulting smoke was like the Holy Water of Wisdom that condensed into smoke. Whoever bathes in smoke from head to feet will be purified. When touching good things such as Dharma, one can attain Dharma and have a clear mind. only happiness and prosperity planet World Motto Everyone is born with a birth star. Each star has a god, protection, and therefore blessing the people who were born in each star to follow the influence of their stars, but there are two gods that are like the tone of the stars of each star to use. smoothly or misfortune Obstacles according to the karma that one has done morale The gods of the day and the stars of the day will radiate charisma for each person to develop dharma in himself. cause awareness in the present, not be shaken by all defilements Worshiping gods of the day and worshiping personal stars until Phra Ket stars Rahu, which is included as a planet, will result in us being pure, good luck, peaceful, without disease, free from all evil. The star of Lotus Praying Courtyard consists of 1. red sun 2. The yellow moon 3. Pink Tuesday 4. Green Buddha 5. Phra Jupiter, orange 6. Blue Friday 7. Purple Saturn 8. Phra Rahu (Wednesday night) black 9. Phra Ket, White Star Advent

พญานาค 7 เศียร A seven-headed-Naga

พญานาค 7 เศียร เป็นงานประติมากรรมปูนปั้นประดับด้วยเซรามิกที่สูงใหญ่ที่สุดในโลก ความสูงทั้งหมด มาตรฐาน 20 เมตร ใช้เทคนิคการติดเซรามิคแบบเบญจรงค์ และแต่ละเศียรเป็นสีของฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้า ที่มา เมื่อประมาณ 10 กว่าปีมาแล้วมีคณะศิษย์จากประเทศลาวได้นำลูกแก้วพญานาคมาถวายหลวงพ่อคูณ หลวงพ่อคูณได้มายืนอยู่ริมบึง 30 ไร่ ณ ตรงนี้ แล้วกำกับให้ลูกศิษย์ (คุณไก่โต้ง สมบูรณ์ โสตถิอนันต์) ใช้หนังสติกยิงลูกแก้วพญานาคที่ได้มาไปในบึงในทิศทางที่ต่างกัน โดยเฉพาะบริเวณที่ตั้งวิหารเทพวิทยาคม ได้ยิงไปหลายสิบลูก รวมทั้งสิ้น 7 สี เกิดนิมิตพญานาคราชเจ็ดเศียรรักษาวิหารเทพวิทยาคม พระนาม “ท้าวสัตตะมณีรังสีนาคราช” ผู้ใดได้กราบไหว้บูชาจะเป็นผู้โชคดี มีความสุขความเจริญตลอดไป ปรารถนาสิ่งใดจะได้ตามประสงค์ทุกประการ บรรดาทุกข์ โศก โรคภัยหรือถูกกล่าวร้ายจะถูกปัดเป่าให้ผ่านพ้นมลายสูญสิ้นไป

A seven-headed-Naga, emerges 20 metres out of the water and is the largest mosaic sculpture in the world. Each head is encircled by a halo when reflected by the sun, with the halo of the middle Naga’s head appearing almost like a rainbow. The image of this mesmerizing structure came to Luang Phor Khoon while he was standing on the bank of the water and asked his disciples to shoot into the water seven Naga crytal balls that were given to him from Laos. Soon after,an omen of the seven-headed Naga appeared in his mind and he named it “Tao Sattamanee Rangsri Nagaraj”

ลานอธิษฐาน The Wishing Court

บริเวณลานอธิษฐาน เบื้องหน้าพญานาค 19 เศียร ทั้ง 2 ตน รวมเป็น 38 เศียร เท่ากับมงคลชีวิต 38 ข้อ ก่อนเดินไปสู่วิหารเทพวิทยาคม มีไว้สำหรับให้ตั้งจิต อธิษฐาน ให้สัจจะคำมั่นสัญญาว่าจะตั้งมั่นในการรักษามงคลชีวิตข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อที่ท่านปฏิบัติอยู่ก่อนเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะก้าวเดินไปตามสะพานพญานาค 19 เศียร ทั้ง 2 ตน และเมื่อถึงวิหารเทพวิทยาคม ก็เท่ากับว่าท่านได้ก้าวเข้าสู่โลกแห่งธรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Facing two 19-headed nagas before crossing the Naga Bridge to the Thep Witthayakhom Vihara. At the Wishing Court, you can make a wish before crossing the bridge into the world of Dhamma to leave behind evil thoughts, for example anger, greed, and obsession, at this wishing court and cross the bridge with a pure heart.

พญานาค 19 เศียร 2 ตน The Naga Bridge

ก่อนที่จะเข้าสู่วิหารเทพวิทยาคม จะต้องเดินขึ้นสะพานพญานาค 19 เศียร ทั้ง 2 ตน ซึ่งมีความสูง 12 เมตร กว้าง 7.5 เมตร มีเศียรรวมกันเป็น 38 เศียร เปรียบได้กับมงคลชีวิตทั้ง 38 ประการ ซึ่งมี 2 สีด้วยกัน คือ สีโทนร้อน ชื่อว่า ท้าวทศนวศิระเตช (ท้าว-ทด-สะ-นะ-วะ-ศิ-ระ-เต-ชะ) และสีโทนเย็น ชื่อว่า ท้าวทศนวศิระดิศ (ท้าว-ทด-สะ-นะ-วะ-ศิ-ระ-ดิด) ซึ่งทอดลำตัวโอบล้อมยกวิหารหรือยกพระวินัยและพระธรรมของพระพุทธเจ้าขึ้นพ้นจากฝั่งโลกียภพและข้ามบึงน้ำแห่ง (วัฏสงสาร ) สังสารวัฏ โดยส่วนหางจะไปบรรจบและพันกันเป็นเกลียว 3 เกลียว ซึ่งเปรียบเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ที่โอบอุ้มดวงแก้วสารพัดนึกเอาไว้ที่ด้านหลังวิหาร

Before entering the Thep Witthayakhom Vihara, visitors will cross the Naga Bridge marked by two 19-headed nagas, making up a total of 38 heads, which represent the 38 blessings in Buddhism. The bodies of the nagas are wrapped around the vihara as if to lift it away from worldly sins and the cycle of birth and rebirth. The tails of the nagas are split into three prongs – signifying the religious precepts, concentration, and wisdom – that intertwine to lift up a magical crystal ball to the back of the vihara.

ซุ้มอภิมหาบารมีพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 
The Indra Lintel

ซุ้มอภิมหาบารมีพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นซุ้มประตูทางเข้าวิหาร ที่อยู่ใต้เศียรช้างเอราวัณขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ช้างเอราวัณเป็นสัตว์พาหนะของพระอินทร์ หรือท้าวสักกะเทวราช หรือท้าวอัมรินทราเทวาธิราช จอมเทพผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านคือผู้ปกครองทวยเทพ เทวดานางฟ้าทุกองค์ รวมไปถึงสัตว์สวรรค์ทุกตน และที่ซุ้มอภิมหาบารมีพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณแห่งนี้ จะได้เห็นประติมากรรมปูนปั้นของพระอินทร์ ในอิริยาบถประทับใต้ต้นกัลปพฤกษ์ซึ่งเป็นพฤกษาสวรรค์ พระหัตถ์ทรงพิณทิพย์สีทอง ที่หน้าซุ้มมีเทวดาบริวาร 2 องค์ องค์ซ้ายชื่อว่าปัญญาบารมี (ถือดอกบัว) องค์ขวาชื่อว่าเมตตาบารมี (ถือพระขันธ์) สื่อความหมายว่าผู้ดูแลซุ้มเป็นผู้มากด้วยปัญญาและเมตตาบารมี นอกจากนี้ ยังมีเทพผู้รักษาช้างเอราวัณประจำอยู่ที่ขาทั้ง 4 ทิศ ทั้ง 2 ข้าง รวมเป็น 8 องค์ เป็นศิลปะแบบคันธารราษฎร์ หมายถึง ศิลปะแบบอินเดียที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก/โรมัน นอกจากนี้เมื่อมองขึ้นไปด้านบนตั้งแต่ปากประตูทางเข้าซุ้มอภิมหาบารมีพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ก็จะพบกับดวงตาพระอินทร์ เทวราชาผู้ปกครองสรวงสวรรค์ พร้อมด้วยดวงตาของเหล่า เทพบริวารมากมาย ทำหน้าที่คอยตรวจผู้ที่จะเข้ามาภายในวิหาร ให้มีแต่เพียงความดีที่ห่อหุ้มดวงจิตอัน บริสุทธิ์เท่านั้น ผนังเหนือประตูทางเข้าซุ้ม เป็นเครื่องหมาย เสาบัวที่ 2 ข้าง แต่ละเสามีดอกบัวเรียงขึ้นไปเป็นสี่ชั้น แทนอริยะบุคคล 4 ระดับ ( คือ พระโสดาบัน สิทธิธาคามี อานาคามี พระอรหันต์ ) ดอกบัวใหญ่ เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า ดอกบัวเล็กที่ลอยเป็นวนเวียนอยู่คือ พระอรหันต์

At the entrance of the hall of the Thep Witthayakhom Vihara, which features a lintel with a sculpture of the god Indra riding his elephant Erawan. The lintel is situated underneath the massive head of the elephant Erawan. Erawan is the elephant that carries the Hindu god Indra, the lord of heaven who rules over all gods and angels, as well as all heavenly beings. At the Indra lintel, you will see the sculpture of Indra playing the golden sitar under the Kallapaphruk or Pink Cassia Tree. Two angels guard the lintel, the left by Panya Barami – which means wisdom – and the right by Metta Barami – which means compassion; indicating that these two angels are full of wisdom and compassion. In addition, there are 2 guardians by Erawan’s leg.

ซุ้มอภิมหาบารมีพระยม Phra Yom Lintel

ซุ้มอภิมหาบารมีพระยม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวาระของผู้ทำบาป ที่จะต้องทนทุกข์ทรมานหลังความตาย โดยมีพระยมหรือพญายมราช เทพแห่งความยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาตัดสินว่าผู้ที่สร้างบาปกรรมเช่นไรจะต้องได้รับโทษทัณฑ์ในนรกขุมไหน และใครที่ไม่ต้องลงนรก ที่ซุ้มนี้จะได้เห็นประติมากรรมปูนปั้นประดับด้วยโมเสคสีโทนเปลวไฟอันร้อนระอุราวกับว่ากำลังยืนอยู่ในนรกขุมใดขุมหนึ่ง โดยมีองค์พระยมในอิริยาบถประทับบนแท่นสำหรับพิพากษาคดี และมีบริวารพระยมอีก 2 องค์อยู่ข้างที่ประทับ บนยอดจั่วหลังคาซุ้มมีพญาแร้ง 3 ตัวคือ พญาแร้งโลภะ พญาแร้งโทสะ และพญาแร้งโมหะ คอยจ้องมองลงมาเพื่อที่จะเข้าถึงจิตใจของผู้ที่ยังมีกิเลส เป็นเครื่องระลึกย้ำเตือนให้ผู้คนระมัดระวังในการใช้ชีวิตอย่าปล่อยให้กิเลสความชั่วทั้งหลายเข้ามาครอบครองจิตใจของผู้เป็นเจ้าของได้ และที่ด้านขวาของซุ้มมีสุนัข 3 หัว มีกระบือขนาดใหญ่ 2 ตัวซึ่งเป็นสัตว์พาหนะของพระยมทำหน้าที่เฝ้าป้องกันไม่ให้มีมารร้ายหรือผู้ที่ยังชดใช้บาปกรรมไม่หมดผ่านเข้าไปในวิหารได้ ดังนั้น ท่านที่จะผ่านซุ้มนี้จะต้องชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ไม่ปล่อยให้ความชั่วทั้งหลายติดตัวเข้าไปได้

At the Phra Yom Lintel, which shows the sufferings that sinners will experience after death. It is Phra Yom, the god of justice, who decides who goes to hell, and the type of suffering and the level of hell that is suitable for the type of sins committed. At this lintel, visitors will witness sculptures decorated in hot-toned mosaic tiles, creating the feeling as if visitors are standing in hell. The sculpture features Phra Yom as sitting on the judgment throne with two assistants by his side. At the top of the lintel are three scavengers that keep a watchful eye on those who still cannot refrain from the worldly desires in order to remind visitors to refrain from evil acts and thoughts. Towards the right of the lintel is a 3-headed dog and two giant buffalos guarding the lintel from evil beings that may enter the vihara. Visitors who pass through this lintel must leave all evil thoughts outside and enter with a pure mind.

ซุ้มอภิมหาบารมีพระพิรุณ Phra Pirun Lintel

ซุ้มอภิมหาบารมีพระพิรุณ หรือพระวรุณ คือเทพแห่งสายน้ำ อากาศ และความอุดมสมบูรณ์ ผู้บันดาลความชุ่มชื้นลงมาสู่โลกมนุษย์ เชื่อกันว่าพระองค์ทรงเป็นเทพเจ้าที่มีความการุณย์และความยุติธรรมมาก ท่านจะให้พรแก่มนุษย์ทุกคนที่ประพฤติตนอยู่ในขอบข่ายของศีลธรรม ที่ซุ้มนี้จะได้เห็นประติมากรรมปูนปั้นประดับด้วยโมเสคสีโทนเย็นประดุจสายน้ำในมหาสมุทร โดยมีองค์พระพิรุณในอิริยาบถประทับนั่งโดยพระกรทั้ง 4 ทรงถือหยดน้ำทิพย์ประทานความชุ่มช่ำ, บ่วงบาศ หมายถึงความมั่นคงยุติธรรม, หอยสังข์ หมายถึงความร่มเย็นเป็นสุข และพัดโบกขรณี หมายถึง อาวุธประจำกาย บนยอดจั่วหลังคาซุ้มเป็นที่สถิตของพญาหงส์ พญาครุฑ และมนุษย์นาค โดยพญาหงส์สื่อถึงความเจริญรุ่งเรือง พญาครุฑสื่อถึงความโชคดีมีชัยปราศจากอุปสรรคใดๆ และมนุษย์นาคสื่อถึงความมั่งคั่งสมบูรณ์ โดยบริเวณหน้าซุ้มจะมีจระเข้ขนาดใหญ่ 2 ตัวซึ่งเป็นสัตว์พาหนะของพระพิรุณ รวมไปถึงนางเงือกและเทพโพไซดอนบริวารประจำเสาประตูซุ้มที่ได้รอต้อนรับที่จะเข้าไปสักการะเยี่ยมชมภายในวิหารเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขในชีวิตและครอบครัว

At the Phra Pirun Lintel. Phra Pirun, or Phra Varun, is the god of water, air, and abundance, and keeps the world invigorated. He is known for his mercifulness and justice and can see what everyone is doing at all times. He blesses everyone who behaves morally. At this lintel is the sculpture of Phra Pirun decorated with cool-toned mosaic tiles in the shades of the ocean. He is sitting, each of his four hands holding a lotus that signifies wisdom, a lasso that signifies steadiness and justice, a seashell that signifies peace and happiness, and a jewel box that signifies prosperity. The top of the lintel is lined with swans, garudas, and half-naga half-men. The swans represent prosperity, garudas represent victory over all difficulties, and half-naga half-men represent wealth and abundance. At the front of the lintel are two large crocodiles, which are the vehicle of Phra Pirun, as well as mermaids and demons that are his servants to welcome visitors. It is believed that those who pass through this lintel will be blessed with peacefulness.

ซุ้มอภิมหาบารมีพระกุเวร (ท้าวเวสสุวัณ)
The arch of Pha Kuvane (Tao Wessuwan)

ซุ้มอภิมหาบารมีพระกุเวร ซึ่งถือว่าเป็นซุ้มแห่งความมั่งคั่งร่ำรวยและโภคทรัพย์ ทางขึ้นด้านซ้ายของซุ้ม มียักษ์บริวารของท่านท้าวกุเวรทำหน้าที่เฝ้าขุมทรัพย์อยู่ ไม่ยอมให้ผู้ใดฉกฉวยศฤงคารสมบัติไปได้โดยง่าย นอกเสียจากว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ที่มีบุญบารมี มีศีลธรรมค้ำจุนและได้รับพรจากนายเหนือหัวของเขาซึ่งก็คือท้าวกุเวรเสียก่อน ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวัณ เป็น 1 ใน 4 จตุมหาราชา เทวกษัตริย์ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นแรก รับผิดชอบอาณาเขตฝั่งทิศเหนือ ปกครองเหล่ายักษ์และบรรดาเทพเทวดานางฟ้าทั้งหลาย กล่าวกันว่า ท่านเป็นเทพแห่งโภคทรัพย์ สามารถบันดาลความร่ำรวยทรัพย์สมบัติแก่ผู้ใดก็ได้ที่มาขอพรจากท่าน แต่มีข้อแม้ว่าผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีศีลมีธรรมหมั่นทำบุญสละทาน และปฏิบัติภาวนาอยู่เสมอ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ปกป้องโลกมนุษย์และพระพุทธศาสนาอีกด้วย ที่ซุ้มนี้จะได้เห็นประติมากรรมปูนปั้นประดับโมเสกสีสันสดใสเรืองรองประดุจเงินทองอัญมณีต่างๆ โดยมีองค์ท้าวกุเวรในอิริยาบถประทับนั่งพระกรทั้ง 4 ถือตะบองเป็นอาวุธ,ธงแห่งชัยชนะ ,แก้วสารพัด นึก และกล่องอัญมณี มีพระเพลา 3 ข้าง โดยที่ข้างแท่นประทับมียักษ์บริวาร 2 ตน และม้าทรง 2 ตัว ซึ่งเป็นสัตว์พาหนะอยู่หน้าซุ้ม บนยอดช่อฟ้า หลังคาซุ้มเป็นที่สถิตของเทพกินนร เทวดาครึ่งนกผู้จรรโลงสวรรค์บันดาลความสุขนกทัณฑิมาปักษาสวรรค์รวมไปถึงยักษ์มงกุฎนาคผู้ปกป้องความชั่วร้ายไม่ให้ผ่านเข้ามาในวิหารได้

The arch of Pha Kuvane represents wealth and riches. It was decorate with colorful ceramics,whereas Pha Kuvane and his Follwers were spray-painted with car paint. Pha Kuvane’s Horse sculpted in stucco and decorate with ceramics,is galloping as if it’a alive. “Yaksa Pieng” (the Giant), a follower of Pha Kuvane watches over treasure at the Pha Kuvane arch. He’s made from stucco and decorated with ceramics.

ซุ้มหางพญานาคและแก้วสารพัดนึก 
The Naga Tails and the Crystal Ball

ซุ้มหางพญานาคและแก้วสารพัดนึก ณ เบื้องหน้าของซุ้มอภิมหาบารมีพระพิรุณ เป็นจุดที่หางของพญานาค 19 เศียรทั้ง 2 ตนโคจรมาบรรจบโอบรัดกันเป็นเกลียว 3 เกลียว ผนึกกำลังกันโอบล้อมยกวิหารพระวินัยและธรรมะขึ้นพ้นจากบึงน้ำแห่งสังสารวัฏ พร้อมทั้งโอบอุ้มแก้วสารพัดนึกไว้บนยอดซุ้ม ซึ่งการที่หางของพญานาคทั้ง 2 ตนได้โอบรัดกันเป็นเกลียว 3 เกลียวนั้นนอกจากจะผนึกกำลังกันยกวิหารให้พ้นจากบึงน้ำแห่งสังสารวัฏแล้ว ยังได้สื่อถึงไตรสิกขา ซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นสามัคคีธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติตนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายดังใจนึก เฉกเช่นแก้วสารพัดนึกที่ประดับอยู่บนยอดซุ้มนั่นเอง สามารถอธิษฐานขอพรจากแก้วสารพัดนึกได้ ดังนั้น ได้ทำบุญที่ซุ้มหางพญานาคนี้ก็จะส่งให้ประกายแห่งสติปัญญาอันประกอบด้วยไตรสิกขามาสถิตอยู่กับตน และจะทำให้ประสบพบแต่ความสุขสมปรารถนาทุกประการ

At the lintel of the Naga Tails and the Crystal Ball, located in front of Phra Pirun Lintel. This is where the tails of the two 19-headed naga intertwine to lift the vihara above the water, which signifies the cycle of birth and rebirth. The intertwining tails of the nagas are split into three prongs – signifying the religious precepts, concentration, and wisdom, which are the keys to success. You can also make a wish to the magical crystal ball, which is believed to possess the power to make all wishes come true. Those who pay respect to the Naga Tails and the Crystal Ball will be blessed with wisdom and succeed in all their endeavors.

ทางลงจากสวรรค์ (สะพานอายตนะ)
Ayatana Bridge

หากเปรียบว่า วิหารเทพวิทยาคมคือสรวงสวรรค์ โลกแห่งธรรมะด้านหลังวิหารซึ่งมีสะพานทอดยาวไปถึงฝั่งตลิ่งทางทิศตะวันตกก็คงจะเปรียบเสมือนเส้นทางลงจากสวรรค์เมื่อท่านรู้สึกอิ่มเอมหลังจากที่ได้เดินเยี่ยมชมเติมบุญและรับพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทางลงจากสรวงสวรรค์นี้จะมีเทวดาและนางฟ้า 6 องค์ มารออนุโมทนาบุญกุศลที่ท่านได้กระทำลงไปโทษทั้ง 6 องค์ เป็นสื่อความหมายถึงทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม โดยที่เทวดาและนางฟ้าทั้ง 6 องค์นี้จะแสดงกิริยาท่าทางในการใช้อายตนะที่แตกต่างกัน เพื่อคอยย้ำเตือนสติให้ท่านระแวดระวังภัยอันจะเกิดจากอายตนะทั้ง 6 ประการ ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สื่อความหมายว่า เวลาที่เรากำลังจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง เราก็ควรที่จะมีสติรู้เท่าทันในสิ่งนั้นๆ ซึ่งก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาซึ่งล้วนแต่เป็นความจริงตามธรรมชาติ หากเรารู้เท่าทันแล้ว เราก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของโลกและอบายภูมิเมื่อสิ้นลมหายใจก็จะได้ไปบังเกิดบนสรวงสวรรค์อย่างเทวดานางฟ้าทั้ง 6 องค์นี้เป็นอย่างน้อย อนึ่ง ฝั่งตลิ่งทางทิศตะวันตกของวิหารเทพวิทยาคม จะเป็นที่ตั้งของห้องสุขาที่สะอาด สวยงาม และทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่านอีกด้วย สำหรับเทพชาย-หญิง ทั้ง 2 นั้น เป็นตัวแทนความหมายของกายาของเทพ ซึ่งกายาทั้ง 2 ท่าน คือผู้ควบคุมเทพอายตนะทั้ง 6 ให้มีสติอยู่เสมอ

If compared to the Thep Wittayakom Temple is a paradise The world of dharma behind the vihara, which has a bridge stretching to the west bank, would be like a path down from heaven when you feel full after visiting and receiving the teachings of the Lord Buddha. you already On the way down from this heaven, there will be 6 angels and angels waiting to bless the merits that you have done to punish all 6 of them. It means physical action, verbal action and mental action. These 6 angels and angels will show their actions. Postures for using different consciousnesses To remind you to be careful of the dangers arising from the six senses, namely the eyes, ears, nose, tongue, body, and mind. when we are about to do something We should be conscious in that matter. which is impermanent, dukkha, soulless, changes over time, which are all natural truths If we know as soon as possible We will not be a victim of the world and the wretched world. When we die, we will be born in the heavens like these 6 angels and angels at least. Incidentally, on the west side of the Thep Wittayakom Temple It will house a clean, beautiful and modern toilet to facilitate you as well. For both male and female deities, they represent the meaning of the body of the deity, which the body of the two people is the one who controls the six deities to always be conscious.

ห้องน้ำสุขมงคล-สิริมงคล
Toilet Sukmongkol

ครั้งเมื่อได้เยี่ยมชมศิลปะธรรมในบริเวณวิหารเทพวิทยาคมเสร็จแล้วผ่านเส้นทางอายตนะทั้ง 6 ด้วยความมีสติ สมาธิควบคุม อยู่ในทางสายกลาง สู่ห้องสุขา ชาย-หญิง เพื่อดูแลรักษาความสมดุล แห่งสังขาร อุปมาดั่งการเดินทางกลับสู่เรื่องทางโลก เรื่องความรัก ความสำเร็จ สิ่งที่เกิดมาคู่กัน ชาย-หญิง กลางวันและกลางคืน สมดุลภาพแห่งชีวิตที่เป็นสุข

When finished visiting Dhamma Art in the Temple of Divinity, he passed through the 6 consciousness paths with mindfulness, concentration, and control in the middle way to the male-female toilets in order to maintain the balance of the body, like a journey back to the story. worldly It's about love, success, things that happen together, men and women, day and night. happy life balance

ราวระเบียง 12 นักษัตรและราวระเบียง 12 ราศี
+ เพดานระเบียงคด

The Terrace of the 12 Birth Years and the 12 Zodiacs, and the Sky Ceiling

 

ราวระเบียงกันตก ซึ่งเป็นงานประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำโทนสีมุกประดับอัญมณี แบ่งเป็นราวระเบียงรูป 12 นักษัตร และราวระเบียงรูป 12 ราศี ประกบกัน 2 ด้านโดยที่รูปนักษัตรจะหันหน้าออกจากวิหาร ส่วนรูป 12 ราศีจะหันหน้าเข้าหาวิหาร ไล่ลำดับจากซุ้มประตูพระอินทร์วนขวาตามตำรานักษัตรและตำรา 12 ราศี และเมื่อมองขึ้นไปด้านบน ก็จะพบกับเพดานระเบียงคด ซึ่งตกแต่งเป็นรูปท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาล ท่านจะสังเกตได้ว่านับตั้งแต่ซุ้มประตูพระอินทร์ซึ่งเป็นซุ้มประจำทิศตะวันออก ท้องฟ้าเหนือซุ้มจะเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เริ่มปรากฏขึ้นเหนือพื้นดิน ไล่ลำดับเวลาเช้า สาย บ่าย เย็น ตามการเวียนขวารอบวิหาร โดยที่ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าที่เหนือซุ้มประตูพระวิรุณ ซึ่งเป็นซุ้มประจำทิศตะวันตก เข้าสู่ช่วงพลบค่ำ ก่อนที่จะกลายมาเป็นเวลารุ่งสางอีกครั้งเมื่อวนรอบวิหารครบ 1 รอบพอดี โดยได้แฝงปริศนาธรรมเอาไว้ว่าใน 1 วันย่อมมีทั้งกลางวันและกลางคืน ย่อมมีทั้งช่วงเวลาที่ใสสว่างและช่วงเวลาที่มืดมิด แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีความหวังจากแสงสะท้อนจากดวงจันทร์และดวงดาว เฉกเช่นเดียวกับชีวิตมนุษย์ที่อยู่ในห้วงแห่งวัฏจักรที่มีทั้งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ

At the terrace surrounding the main hall that features bas relief artworks decorated with jewels. The artworks of the 12 birth years face outwards, while the 12 zodiacs face towards the hall. When you look upwards at the ceiling, you will see a massive painting of the sky. On the eastern side of the ceiling, where the Indra Lintel is situated, the sky is painted in the tone of the sunrise. As you look around clockwise, the colors of the sky will gradually change according to the various times of day. Finally, the sun becomes the tones of the sunset at the western side of the ceiling at Phra Pirun Lintel. The painting suggests that in a day, there are both day and night, brightness and darkness. However, there is still hope from the moon and the stars. Similarly, a human’s life goes through various changes, which is the inevitable rule of nature.

เสาพระเจ้า 500 ชาติ (วางจุดที่เสาต้นที่ 1) + เสาพระเจ้า 500 ชาติ โดยฝีมือเด็กนักเรียนชั้นประถม

The Pillars of Buddha’s 500 Past Lives

 

เสาทุกต้นในบริเวณปริมณฑลรอบวิหารได้ถูกตกแต่งด้วย ภาพจิตรกรรมเขียนสีบนแผ่นเซรามิค รอบเสาทั้ง 4 ด้าน จำนวน 28 ต้น คือเรื่องราวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสวยพระชาติรวมทั้งสิ้น 537 ชาติ โดยแต่ละเสาจะแบ่งเรื่องราวชาดกตามการเสวยพระชาติที่สัมพันธ์กันซึ่งใช้ศิลปิน 28 คนที่ได้เข้ามารังสรรค์ผลงานจิตรกรรมและเสา ในครั้งนี้มีตั้งแต่ศิลปินมืออาชีพไปจนถึงเด็กนักเรียนชั้นประถม เสาพระชาติต้นนี้เป็นฝีมือของเด็กนักเรียนโรงเรียนศุภวรรณ จรัญ 22 จากกรุงเทพมหานคร ซึ่งคุณครูได้จัดแบ่งกลุ่มนักเรียนระดับชั้น ป.2 - ป.6 จำนวน 420 คน และอ่านเรื่องในพระไตรปิฎกช่วงที่เสวยพระชาติเป็นสัตว์ต่างๆ จำนวน 16 เรื่อง และสรุปเนื้อหาให้นักเรียนฟัง นักเรียนทั้ง 420 คนเลือกเรื่องที่อยากวาดไปศึกษา แล้วลองวาดลงกระดาษส่งคุณครู ปรากฏว่ามีนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เขียนเสาต้นนี้ จำนวน 43 คน จิตรกรรมที่แสดงออกมานี้ จึงเป็นศิลปะที่บริสุทธิ์และสวยงาม อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเรื่องที่สามารถเข้าถึงได้แม้กระทั่งเยาวชน

You may notice that all 28 pillars around the vihara are decorated with ceramic tiles that are painted to depict stories of the 537 “jatakas”, or the 537 past lives of Buddha. The stories on each pillar were selected based on a similar theme and feature the works of a wide range of artists, from professional artists to elementary schoolchildren. The 18th pillar was painted by 420 elementary schoolchildren from Supawan School. The teachers would read the stories to the children, who would then translate their understanding into pictures that represent their pure minds. This is evidence that the teachings of Buddha can be understood even by young children.

จิตรกรรมฝาผนังทศชาติชาดก: ทศชาติชาดก

 

คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด เล่าถึงการที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่างๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างร้ายบ้าง แต่ก็ได้เพียรพยายามบำเพ็ญบารมีทำความดีติดต่อกันตลอดมา ทศชาติชาดก เป็นเรื่องราวอดีตชาติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์ รวมทั้งสิ้น ๑๐ ชาติ ก่อนที่จะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยะวงศ์ งานศิลปกรรมทศชาติชาดก เป็นงานจิตรกรรมเขียนสีบนแผ่นเซรามิค นำมาเผาด้วยไปแรงสูง รอบแรก 80 องศาเซลเซียส รอบสอง 1,260 องศาเซลเซียส และนำไปประดับบนฝาผนังขนาดใหญ่ แต่ละชาติมีขนาดตั้งแต่ 40 ถึง 48 ตารางเมตร อยู่บนผนังอาคารรอบนอกตามระเบียงทางเดิน จำนวน 10 ภาพ (เขียนโดยศิลปิน 9 ท่าน) ผนังเซรามิคมีลำดับการติดประดับผนัง ดังนี้ เตมีย์กุมาร มหาชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก ภูริทัตชาดก จันทกุมารชาดก นารทชาดก วิทูรชาดก เวสสันดรชาดก

Mural Painting of Buddha’s Past Life as Temiya You are now at the first among 10 large murals painted on ceramic tiles depicting the last 10 lives of Buddha before he was born as Prince Siddharta, who later attained Enlightenment and became the Buddha.

ทศชาติชาดก: ชาติที่ 1 เตมียชาดก

Mural Painting of Buddha’s Past Life as Temiya

 

ชาติที่ 1 เตมียชาดกพระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติถือกำเนิดในวรรณะกษัตริย์ทรงพระนามว่าเตมีย์กุมาร ทรงบำเพ็ญเนกขัมมะบารมี ที่แปลว่า ความตั้งใจที่จะออกบวช ละซึ่งโลกียวิสัยเพื่อก้าวสู่ชีวิตอันบริสุทธิ์ ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนั้น ประกอบด้วยเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่พราหมณ์ทั้ง 4 ทำนายลักษณะของพระกุมาร พระเจ้ากาสิกราชพิพากษาลงอาญาโจร พระเตมีย์ถูกทดสอบด้วยวิธีการต่างๆนานาจากพระบิดานายสารถีขุดหลุมเพื่อที่จะฝังพระเตมีย์พระเตมีย์ยกราชรถขึ้นเหนือพื้นดินด้วยพละกำลังบุญญาธิการ พระเตมีย์แสดงธรรมโปรดพระบิดาและพระมารดา และสุดท้ายพระบิดาและพระมารดาได้เสด็จออกผนวชตามพระเตมีย์ แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี เมื่อประสงค์สิ่งใดทรงตั้งใจกระทำตามความมุ่งหมายนั้นอย่างเต็มที่ ทั้งเพียรพยายามอดทนอย่างหนักแน่นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ในที่สุดความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ปรากฏ **ภาพโดย นายปรมัตถ์ เหลืองอ่อน**

In the first of these ten lives, Buddha was born as Prince Temiya. In this life, his achievement was his denunciation of worldly life and entry into monkhood. The events depicted in the painting included: the 4 Brahmins’ forecast about the appearance of the prince, King Kasikarat’s punishment of the thief, Prince Temi’s being tested by the King, the attempt to bury Prince Temi, Prince Temi’s lifting of the carriage, Prince Temi’s preaching to his parents, and the King and Queen’s entry into monkhood behind Prince Temi. The key teaching of this story is that regardless of the challenges that might arise, if there is commitment and persistence, success will be the result.

ทศชาติชาดก: ชาติที่ 2 มหาชนกชาดก

Mural Painting of Buddha’s Past Life as Mahachanok

ชาติที่ 2 มหาชนกชาดกพระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติถือกำเนิดในวรรณะกษัตริย์พระนามว่าพระมหาชนก ทรงบำเพ็ญวิริยะบารมี ที่แปลว่าความเพียรพยายามในการก้าวไปสู่ความสำเร็จที่ได้ตั้งใจไว้ ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนั้น ประกอบด้วยเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่เรือสำเภาอับปางกลางมหาสมุทรที่สื่อถึงความทุกข์และอุปสรรคทั้งหลายของมวลมนุษย์พระมหาชนกทรงเพียรพยายามว่ายน้ำอยู่ถึง 7 วัน 7 คืนก่อนที่นางมณีเมขลาจะช่วยอุ้มเหาะข้ามมหาสมุทร รถเสี่ยงทายมาหยุดอยู่ที่พระมหาชนกซึ่งพระองค์ก็ทรงไขปริศนาของพระเจ้าโปลชนกได้หมดสิ้นและสุดท้ายคือพระมหาชนกทรงสละราชสมบัติเพื่อเสด็จออกผนวช แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญวิริยะบารมีเมื่อมีความเพียรพยายามอย่างสูงสุดเพื่อก้าวไปให้ถึงจุดหมายปลายทางโดยไม่ย่อท้อต่อความทุกข์อุปสรรคใดๆ หากกระทำความเพียรมีความมุมานะอุตสาหะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ และไม่คิดที่จะละทิ้งเป้าหมายไปเสียก่อน ผลสำเร็จย่อมเกิดขึ้นแน่นอนไม่วันใดก็วันหนึ่ง **ภาพโดยสัมพันธ์ สารารักษ์**

You are now at the mural depicting the second of the ten most recent past lives of Buddha, when he was born as King Mahachanok. His achievement in this life was diligence to succeed in what he aimed for. The painting depicted the following key events in this life: the sinking of the ship in the middle of the ocean, representing the sufferings and difficulties faced by mankind, Mahachanok’s attempt to survive in the ocean by swimming for 7 days and 7 nights before the angel Maneemekhala rescued him, Mahachanok’s ability to solve all of King Polachanok’s riddles, and Mahachanok abdicating from his throne to become a monk. All of these events demonstrate that when there is diligence and willpower to overcome all obstacles in order to reach the goal, success is not beyond reach.

ทศชาติชาดก: ชาติที่ 3 สุวรรณสามชาดก

Mural Painting of Buddha’s Past Life as Suwannasam

ชาติที่ 3 สุวรรณสามชาดก พระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติถือกำเนิดในตระกูลดาบสนามว่าสุวรรณสาม ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี ที่แปลว่าการให้ความรักความเมตตาต่อมวลมนุษย์และบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์และปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนั้น ประกอบด้วยเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่ ทุกูลดาบสลูบท้องปาริกาดาบสินีเพื่อให้กำเนิดบุตรชาย สุวรรณสามออกหาผลหมากรากไม้เพื่อนำมาปรนนิบัติบิดามารดา พระเจ้ากบิลยักษ์ยิงศรพิษถูกสุวรรณสามด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสัตว์ เทพธิดาสุนทรีช่วยให้พิษหมดจากศรและทำให้ดวงตาของดาบสและดาบสินีทั้ง 2 หายเป็นปกติ และสุดท้ายสุวรรณสามได้สอนเมตตาธรรมและทศพิธราชธรรมให้แก่พระเจ้ากบิลยักษ์ แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมี หากมีความรักมีความเมตตาปราณีปรารภนาดีต่อผู้อื่น ไม่อาฆาตพยาบาท ไม่ว่าเขาจะทำอันตรายแก่เราจนถึงแก่ชีวิต เราก็พร้อมที่จะให้อภัยพร้อมทั้งแผ่เมตตาจิตให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยถ้วนหน้าดังนี้ เมตตาธรรมนั้นย่อมจะเป็นเกราะแก้วกำบัง มิให้เราถูกเภทภัยภยันตรายใดๆเข้ารุกราน ***ภาพโดยจินตนา เปี่ยมศิริ**

Here is the mural about the third of the ten most recent past lives of Buddha, when he was born into a family of priests as Suwannasam. His achievement in this life was compassion, which refers to giving love and compassion to all humans and animals, as well as wishing others to be happy and free from sufferings. The painting depicted the following key events in this life: the birth of Suwannasam, Suwannasam picked fruits from trees for his parents, Suwannasam got shot by an arrow of King Kabilayak due to being mistaken for an animal, an angel removed the poison from the arrow and returned vision to Suwannasam’s parents, Suwannasam taught King Kabilayak about compassion and justice. The events in this life show that if we give love and compassion to others, and forgive them even though they may have hurt or killed us, the merit of compassion will eventually protect us from danger.

ทศชาติชาดก: ชาติที่ 4 เนมิราชชาดก
Mural Painting of Buddha’s Past Life as Nemirat

ชาติที่ 4 เนมิราชชาดก พระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติถือกำเนิดในวรรณะกษัตริย์ทรงพระนามว่าพระเนมิราช ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี ที่แปลว่าการตั้งเป้าหมายขึ้นมาแล้ว ลงมือกระทำอย่างสุดความสามารถเพื่อให้เป้าหมายนั้นสำเร็จลุล่วงในที่สุด ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนั้น ประกอบด้วยเหตุการณ์ที่มาตุลีเทพสารถีพาพระเจ้าเนมิราชเสด็จโดยเวชยันต์ราชรถไปยังเมืองนรกและเมืองสวรรค์เป็นสำคัญ เพื่อที่จะให้เห็นถึงผลแห่งบุญและผลแห่งบาป แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือกำลังแห่งจิตที่ไม่หวั่นไหวไม่ว่าจะต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์เลวร้ายสักเพียงใด ใจก็ยังตั้งมั่นกระทำตามเป้าหมายเดิมไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าจะถึงเส้นชัย ซึ่ง ณ ที่นี้ก็คือการประกอบคุณงามความดี มีทาน ศีล และภาวนา เป็นต้น หากผู้ใดกระทำได้เช่นนี้แล้ว ความสุขสมหวังและความสำเร็จสูงสุดในชีวิตก็จะไม่มีทางหนีหายจากท่านผู้นั้นไปได้เลย **ภาพโดยสมัย ศรีคำ**

You are now at the mural depicting the fourth of the ten most recent past lives of Buddha, when he was born as King Nemirat, whose achievement was the determination to follow his aspiration to the best of his abilities. The painting depicted key evens in this life, such as King Nemirat’s visit to heaven and hell to witness the consequences of good and bad deeds. This life demonstrates the power of a strong mind that continues to follow the aspiration to conduct good deeds amidst difficulties and challenges. Anyone who follows this example will surely be happy and successful.

ทศชาติชาดก: ชาติที่ 5 มโหสถชาดก
Mural Painting of Buddha’s Past Life as Mahosot

ชาติที่ 5 มโหสถชาดกพระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติถือกำเนิดในตระกูลเศรษฐีแห่งเมืองมิถิลาเมื่อตอนคลอดได้ถือแท่งโอสถที่ได้รับจากพระอินทร์มาไว้ในมือของมารดาเพื่อไว้ใช้เป็นทิพยโอสถหรือยาวิเศษสำหรับรักษาผู้คนที่เจ็บป่วย จึงได้ชื่อว่ามโหสถทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ที่แปลว่าความเพียรพยายามในการศึกษาหาความรู้ บ่มเพาะปัญญาให้กล้าแข็ง แล้วนำเอาความรู้ที่มีอยู่นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการช่วยเหลือผู้อื่น ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนั้น ประกอบด้วยเหตุการณ์ตั้งแต่ครั้งพระอินทร์เสด็จลงมายังแท่งโอสถ มโหสถควบคุมการก่อสร้างศาลาประชาชน และเหตุการณ์สำคัญที่มโหสถใช้อุบายป้องกันเมืองมิถิลาให้รอดพ้นจากภัยศึกสงคราม แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญปัญญาบารมี คือการใช้ความรู้ที่สั่งสมมาให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น โดยไม่ทะนงตนว่าความเฉลียวฉลาดของตนเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่คำสรรเสริญหรือลาภสักการะใดๆ หากผู้ใดประสงค์จะใช้ปัญญาความรู้เท่าที่มีอยู่เพื่อผู้อื่นเฉกเช่นมโหสถแล้ว ย่อมมั่นใจได้ว่าปัญญานั้นจะยิ่งเพิ่มพูนและกลับมาสนองตอบท่านผู้นั้นให้เจริญในธรรมขั้นสูงสุด สามารถแก้ไขปัญหาทั้งทางโลกและทางธรรมได้ทุกๆเรื่อง

You are now at the mural depicting the fifth of the ten most recent past lives of Buddha, when he was born into the rich family of the city of Mithila. At the time of his birth, he was holding a stick of medicine given by the god Indra to heal sick people, hence the origin of the name Mahosot, which means medicine. In this life, his achievement was his unwavering quest for knowledge and wisdom so that he could help others. The painting depicted key events in this life, such as Indra’s appearance at the medicine stick, Mahosot’s supervision of the construction of the community pavilion, and Mahosot’s intelligence in helping the city of Mithila from war. This life emphasizes that instead of being proud of one’s knowledge and wisdom, one should use knowledge and wisdom to help others. In return, one will become wiser and more capable in solving problems.

ทศชาติชาดก: ชาติที่ 6 ภูริทัตชาดก
Mural Painting of Buddha’s Past Life as Phuritat

ชาติที่ 6 ภูริทัตชาดก พระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติถือกำเนิดในตระกูลพญานาคนามว่าทัตตะหรือภูริทัต ทรงบำเพ็ญศีลบารมี ที่แปลว่าความเพียรพยายามในการรักษาไว้ซึ่งสภาวะแห่งความปกติ ไม่สร้างความผิดปกติวิสัยอันจะก่อให้เกิดทุกข์ภัยทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนั้นประกอบด้วยเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่พญานาคภูริทัตตั้งมั่นในการรักษาอุโบสถศีล พญาครุฑสอนมนต์อาลัมพายน์ให้แก่พระฤาษี พรานป่านำความไปบอกพราหมณ์ถึงที่อยู่ของพญานาคภูริทัต พญานาคภูริทัตถูกพราหมณ์ทรมานด้วยวิธีการต่างๆนานา และสุดท้ายภูริทัตได้แสดงธรรมแก่เหล่าพี่น้องพญานาค แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญศีลบารมี โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเภทภัยภยันตรายใดๆ แม้จะต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกทำร้ายจนถึงแก่ชีวิตก็ตาม และเมื่อเวลาแห่งความตายมาเยือนบุคคลผู้นั้นย่อมมีสุคติโลกมนุษย์หรือเทวโลกเป็นที่ไปเป็นอย่างน้อย **ภาพโดยอนิรุทธ์ คงถาวร***

Here is the mural about the sixth of the ten most recent past lives of Buddha, when he was born into a family of nagas (large snake) called Phuritat. In this life, he focused on righteous behavior, that is, to refrain from behaviors that will harm self and others. The painting depicted key events in this life, including the time Phuritat was strict in controlling his behaviors, the Garuda taught a mantra to the hermit, the hunter told the Brahmin of Phuritat’s whereabouts, Phuritat was tortured by the Brahmin, and Phuritat preached Dhamma to his fellow nagas. This life demonstrates that if one remains firm in righteous behaviors, even in the face of danger or death, one is destined for the after-life as a human or angel at the least.

ทศชาติชาดก: ชาติที่ 7 จันทกุมารชาดก
Mural Painting of Buddha’s Past Life as Chantakuman

ชาติที่ 7 จันทกุมารชาดก พระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติถือกำเนิดในวรรณะกษัตริย์ ทรงพระนามว่าจันทกุมาร ทรงบำเพ็ญขันติบารมี ที่แปลว่า ความอดทนอดกลั้น ไม่ยอมแพ้ต่อสถานการณ์ที่บีบคั้นแม้จะต้องเจ็บปวดแสนสาหัสสักเพียงใดก็ตาม ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนั้น ประกอบด้วยเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่พระเจ้าเอกราชทรงสุบินเห็นดาวดึงส์เทวโลก ปุโรหิตกัณฑหาลพราหมณ์กราบทูลให้จับพระมเหสี พระราชบุตร พระราชธิดา และประชาชนคนอื่นๆเพื่อประกอบพิธีบูชายัญแม้จันทกุมารจะทัดทานสักเพียงใดก็ไม่เป็นผล พระนางจันทาเทวีกล่าวสัจจวาจาก่อนที่จันทกุมารจะถูกประหาร และสุดท้ายพระอินทร์ทรงถือค้อนเหล็กที่มีเปลวไฟโชติช่วงตรงไปหาพระเจ้าเอกราชพร้อมทั้งชี้ทางไปสวรรค์ที่ถูกต้อง แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญขันติบารมี คือความพยายามอดทนอดกลั้นต่อสถานการณ์อันเลวร้าย แม้จะไม่สามารถรักษาชีวิตเอาไว้ได้ก็ตาม ก็จะไม่แสดงอากัปกิริยาของผู้ที่อ่อนแอออกมา เพราะเชื่อว่าการที่มีศรัทธามั่นคงในความดีย่อมพาเราออกจากสถานการณ์อันเลวร้ายได้อย่างแน่นอน **ภาพโดยธนากร สารารักษ์**

You are now at the mural about the seventh of the ten most recent past lives of Buddha, when he was born as Prince Chantakuman. His achievement in this life was tolerance against difficult and painful situations. The painting depicts key events in this life, including King Ekkarat’s dream of heaven, the Brahmin’s evil advice to the king to arrest the queen, princes, princesses, and other citizens in order to perform a sacrifice ceremony, the queen’s vow before Prince Chantakuman was executed, and the god Indra pointing the way to heaven for King Ekkarat. The lesson from this life is that no matter how terrible the situation is, even if we are going to die, we must not show signs of weakness and have faith that the power of goodness will liberate us from all evil.

ทศชาติชาดก: ชาติที่ 8 นารทชาดก
Mural Painting of Buddha’s Past Life as Nart

ชาติที่ 8 นารทชาดก พระพุทธเจ้าทรเสวยพระชาติเป็นพรหมนามว่านารท ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี ที่แปลว่าความเพียรพยายามรักษาใจให้เป็นกลาง ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปตามสภาวะโดยธรรมชาติของมัน ไม่เอาใจเข้าไปผูกติดด้วยความรักหรือความชัง ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนั้นประกอบด้วยเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่ก่อนที่พระเจ้าอังคติราช ซึ่งยังตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมจะได้พบกับคุณาชีวกพราหมณ์ เมื่อได้พบและฟังธรรมจากคุณาชีวกพราหมณ์จนกลายเป็นมิจฉาทิฐิ และเหตุการณ์สำคัญที่พรหมนารทได้แสดงธรรมแก่พระเจ้าอังคติราชจนกลับตัวกลับใจหันมาปฏิบัติราชกิจพร้อมทั้งตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมตามเดิม แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือการปล่อยวางทุกสิ่ง มองทุกอย่างตามความเป็นจริงโดยธรรมชาติของมัน โดยเริ่มจากขั้นของเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน เมื่อเรามีความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ ให้พบเจอแต่ความสุขด้วยใจที่เป็นกลางหรืออุเบกขาแล้วล่ะก็ แม้เขาจะไม่สมปรารถนาดังที่เราคาดหวังเอาไว้ แต่ใจเราก็จะนิ่งสงบด้วยความสุขอันบริสุทธิ์จากธรรมได้อย่างมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง **ภาพโดยปราโมทย์ ภู่เหมา**

You are now at the mural depicting the eighth of the ten most recent past lives of Buddha, when he was born as a Brahmin called Nart. His achievement in this life was practicing detachment, which refers to the state of mind that is neutral, letting everything happen naturally, and not associating the feelings of love or hate with these occurrences. The painting depicts key events in this life, including the time when King Angkhatirat was a righteous king, his acquaintance with a Brahmin that misled him with false teachings, and Nart’s sermon to King Angkhatirat that made him realize his misunderstandings and became a righteous king again. You are now at the mural depicting the eighth of the ten most recent past lives of Buddha, when he was born as a Brahmin called Nart. His achievement in this life was practicing detachment, which refers to the state of mind that is neutral, letting everything happen naturally, and not associating the feelings of love or hate with these occurrences. The painting depicts key events in this life, including the time when King Angkhatirat was a righteous king, his acquaintance with a Brahmin that misled him with false teachings, and Nart’s sermon to King Angkhatirat that made him realize his misunderstandings and became a righteous king again. The lesson from this life is that if we look at the world with a neutral mind, even though those we want to help do not succeed as we had wished, we will be able to remain peaceful because we understand the ways of the world.

ทศชาติชาดก: ชาติที่ 9 วิธูรชาดก
Mural Painting of Buddha’s Past Life as Vitoon

ชาติที่ 9 วิธูรชาดก พระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติถือกำเนิดเป็นบัณฑิตนามว่าวิธูร ทรงบำเพ็ญสัจจะบารมี ที่แปลว่าเมื่อได้กล่าววาจาอันใดออกมาแล้ว ก็จะเพียรพยายามทำให้วาจานั้นกลายเป็นความจริงขึ้นมา แม้จะต้องรักษาวาจานั้นด้วยชีวิตก็ตาม ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนั้น ประกอบด้วยเหตุการณ์สำคัญตั้งแต่ปุณณกยักษ์ตกหลุมรักนางนาคอริทันตี พระเจ้าธนัยชัยโกรพย์แพ้พนันสกาให้แก่ปุณณกยักษ์ ปุณณกยักษ์ขี่ม้าสินธพพาวิธูรบัณฑิตมายังนาคพิภพ และสุดท้ายวิธูรบัณฑิตแสดงธรรมแก่วรุณนาคราช นางนาควิมาลา รวมทั้งบรรดาพญานาคบริวารทั้งหลาย แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญสัจจะบารมี โดยเห็นว่าการรักษาสัจวาจาสำคัญยิ่งกว่าชีวิตแล้ว ต่อไปในภายภาคหน้า วาจาของท่านก็จะกลายเป็นวาจาศักดิ์สิทธิ์ ที่จะทำให้ผู้ฟังคล้อยตาม เลื่อมใสศรัทธา และยินดีในถ้อยคำเหล่านั้นในที่สุด **ภาพโดยเรืองเดช วรชัย**

This mural is about the ninth of the ten most recent past lives of Buddha, when he was born as a scholar called Vitoon. In this life, he focused on keeping true to his words, even if it means risking his own life. The painting depicts key events in this life, such as the giant falling in love with the naga, the king losing a bet to the giant, the giant bringing Vitoon the scholar to the land of the nagas, and Vitoon’s preaching to the King of nagas and his subjects. The lesson from this life is that if we are faithful to our words, others will have faith in what we say and honor our words.

ทศชาติชาดก: ชาติที่ 10 เวสสันดรชาดก
Mural Painting of Buddha’s Past Life as Vessandon

ชาติที่ 10 เวสสันดรชาดก พระพุทธเจ้าทรงเสวยพระชาติถือกำเนิดในวรรณะกษัตริย์ทรงพระนามว่าพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญทานบารมี ที่แปลว่าการให้หรือการสละออกในสิ่งที่เรายึดถือเอาไว้ว่าเป็นของๆตน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้อื่นและส่วนรวม ในส่วนของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังนั้น เหตุการณ์สำคัญต่างๆโดยมีเหตุการณ์ที่พระเวสสันดรได้หลั่งน้ำสิโนทกเพื่อยกช้างปัจจัยนาคให้แก่พราหมณ์กลิงคราษฎร์ทั้ง 8 เป็นประธานของภาพ นอกจากนี้ก็ยังมีเหตุการณ์ที่ชูชกมาขอพระกัณหาและพระชาลีไปเป็นทาสรับใช้ให้กับนางอมิตตดา พระกุมารทั้ง 2 ได้พากันซ่อนตัวอยู่ในสระบัว เฒ่าชูชกฉุดกระชากลากถูพระกุมารทั้ง 2 ให้ได้รับความเจ็บปวดทรมาน พระอินทร์เนรมิตกายเป็นพราหมณ์มาทูลขอพระนางมัทรีแล้วถวายคืนให้กับพระเวสสันดร และสุดท้ายบรมกษัตริย์ทั้ง 6 มีพระเวสสันดร พระนางมัทรี พระเจ้าสัญชัย พระนางผุสดี พระกัณหา และพระชาลี ก็ได้กลับมาอยู่พร้อมหน้ากันดังเดิม แสดงให้เห็นถึงการบำเพ็ญทานบารมี หากมีความรักความเมตตาให้กับเพื่อนมนุษย์ เทวดา รวมถึงบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายแล้ว เราก็มีความปรารถนาในการให้เช่นเดียวกับการสละออกซึ่งของที่เรายึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของๆเรา เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมส่วนรวมและผู้อื่นแล้ว เรียกว่าเราเป็นผู้ยินดีในทานบารมี ย่อมเป็นบุญสมบัติที่ดีที่จะตามเกื้อหนุนเราในภายภาคหน้า และในที่สุดทานบารมีนี้ก็จะกลายเป็นปัจจัยให้เอาชนะมารแล้วก้าวสู่นิพพานชั่วนิรันดร **ภาพโดยสัมพันธ์ สารารักษ์**

This mural is about the last of the ten most recent past lives of Buddha, when he was born as King Vessandon. In this life, he focused on sacrificing his possessions for the benefit of others. The painting depicts key events in this life: King Vessandon offering his elephant to the 8 Brahmins, a Brahmin called Choochok asking King Vessandon for his son and daughter to be servants of Choochok’s wife, the King’s son and daughter hiding in the lotus pond, Choochok torturing the King’s son and daughter, the god Indra disguising as a Brahmin to ask Choochok for King Vessandon’s wife, who was later returned to King Vessandon, and the reunion of King Vessandon and his family. The story of this life demonstrates that if we can sacrifice our possessions for the benefit of others, the merit from the sacrifice will reward us in the future and help us to defeat all evil.

bottom of page